Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/502
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorนิลสุข, พัชริดา-
dc.contributor.authorNilsukh, Patcharida-
dc.date.accessioned2017-08-31T01:37:21Z-
dc.date.available2017-08-31T01:37:21Z-
dc.date.issued2559-03-01-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/502-
dc.description55252388 ; สาขาวิชาการบริหารการศึกษา -- พัชริดา นิลสุขen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม 2) ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม จำนวน 127 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมตามโครงสร้างซีท ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สามารถเรียงลำดับค่า มัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านเครื่องมือ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านสภาพแวดล้อม และด้านนักเรียน 2. ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม 2.1 ปัญหาการบริหารโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม ได้แก่ ด้านนักเรียน โรงเรียนมีการเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษค่อนข้างน้อย ด้านสภาพแวดล้อม การมีส่วนร่วมของครู พ่อแม่ ผู้ปกครองค่อนข้างน้อย และการจัดสภาพแวดล้อมยังไม่เหมาะสมกับนักเรียน ด้านการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนมีการปรับหลักสูตรทั่วไป การจัดทำหลักสูตรเฉพาะสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษค่อนข้างน้อย และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไม่เป็นไปตาม IEP และด้านเครื่องมือ โรงเรียนนำเทคโนโลยีสำหรับคนพิการมาใช้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ค่อนข้างน้อย และมีครูการศึกษาพิเศษไม่เพียงพอ 2.2 แนวทางการพัฒนาการบริหารโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม ได้แก่ ด้านนักเรียนโรงเรียนควรมีการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษให้มีความคุ้นเคยกับครู เพื่อน และสภาพแวดล้อมต่างๆ ในโรงเรียน ด้านสภาพแวดล้อม โรงเรียนควรเปิดโอกาสให้ครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ จัดสภาพแวดล้อมต่างๆ ให้เหมาะกับนักเรียน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน โรงเรียนควรมีการปรับหลักสูตร จัดทำหลักสูตรเฉพาะ ปรับ IEP จัดการเรียนการสอน และประเมินความก้าวหน้าให้เหมาะกับนักเรียน และด้านเครื่องมือ โรงเรียนควรมีการนำเทคโนโลยีสำหรับคนพิการมาใช้ให้มากขึ้น ควรมีครูการศึกษาพิเศษอย่างน้อยโรงเรียนละ 1 คน ควรมีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ สื่อทางการศึกษา ตำรา บริการอย่างเหมาะสมและทั่วถึง The purposes of this research were to identify 1) The administration of inclusive school, and 2) The problems and the guidelines of the administration of inclusive school. The sample were personnel in inclusive school under Samut SongKhram Primary Educational Service Area Office, 127 persons in total. The research instruments were a questionnaire and interview concerning the administration of inclusive school under SEAT framework based on the Office of the Basic Education Commission. The statistics used to analyze the data were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, and content analysis. The results of the study were as follows : 1. The administration of inclusive school, as a whole and each aspect, were at high level, ranging from highest to lowest mean as follow: tools, activities, environments and students. 2. The problems and the guidelines of the administration of inclusive school 2.1 The problems of the administration of inclusive school includes : students aspect; school were not quite ready for special needed students, environments aspect; community involvement was not enough, the school plant was not quite suitable for needed students, activities aspect; school needs to focus more on the curriculum development that meet the needs of the students, the instruction does not quite comply with IEP, and tools aspect; school needs to provide supporting technology that better meet the needs of the students. 2.2 The guidelines of the administration of inclusive school includes : students aspect; the school needs special needs for inclusive students in well known with teachers, friends and environments in school, environments aspect; the school should participated in suitable experience activities by teachers and parents, activities aspect; school should develop curriculum, special curriculum, improve IEP programs and evaluate students in students advanced, and tools aspect; the school should use variety of technologies for inclusive students, should have one school one inclusive teacher, should be supported facilities for inclusive students education materials, textbooks and system to accommodate the inclusive students.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectการบริหารโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมen_US
dc.subjectTHE ADMINISTRATION OF INCLUSIVE SCHOOLen_US
dc.titleการบริหารโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมen_US
dc.title.alternativeTHE ADMINISTRATION OF INCLUSIVE SCHOOLen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55252388 นางสาวพัชริดา นิลสุข.pdf4.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.