Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5081
Title: VISUAL ELEMENTS MINDFULNESS : INNOVATIONS ART THERAPY FOR STRESS KINETIC ART AND LIGHT TO CREATE A RELAXING AESTHETIC FOR GEN Y
ทัศนธาตุสร้างสติ : นวัตกรรมศิลปะบำบัดความเครียดประติมากรรมเคลื่อนไหวและแสงเพื่อสร้างสุนทรียะที่ผ่อนคลายสำหรับ Gen Y ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
Authors: Thanut THANATHANANONT
ธนัช ธนธนานนท์
Ratthai Porncharoen
รัฐไท พรเจริญ
Silpakorn University
Ratthai Porncharoen
รัฐไท พรเจริญ
PORNCHAROEN_R@SU.AC.TH
PORNCHAROEN_R@SU.AC.TH
Keywords: นวัตกรรม
ความเครียด
ประติมากรรมเคลื่อนไหว
แสงสีฟ้า
เจเนอเรชั่นวาย
การหายใจแบบ 4-7-8
Innovation
Stress
Kinetic Sculpture
Blue Light
Gen Y
4-7-8 breathing
Issue Date:  28
Publisher: Silpakorn University
Abstract: In today's society Technology has infiltrated an important role in our daily life. There is rapid change. There is more urgency. It is a cause of stress. The main factors affecting stress include work, finances, and health. They are often found in the Gen Y population because they are a working age group. When stress is excessive, it affects both physical and mental health. This causes researchers to think about solving problems. Leading to the design of moving sculptures and innovative lighting. Inspired by the principles of calm and awareness of Zen philosophy. Expressive with moving sculptures and light created from meditation poses. and the use of blue light combined with rhythmic movement of the position to guide the eyes. From researching The work’s aesthetic uses innovations of light to create sense of beauty which can relieve eye fatiguefrom visual perception in the digital signal by Ms. Prangthong Changtham and study the satisfaction of the Gen Y population by dividing the method into 3 phases as follows: Phase 1) Analyze the relationship of risk factors that affect the Gen Y population, which impacts are caused by work duties. Responsibilities within the family, Phase 2) Design innovative sculptures of movement and light using principles, theories, and sketches that have been reviewed and developed together with 5 experts and specialists using qualitative analysis of results (Mixed Method) and Take a questionnaire Request a change in lecture performance The researcher has designed and developed using Sketch Design in terms of shape, form, light and movement, selecting a total of 3 formats, 2 methods per format. Phase 3) Development of Innovative prototypes that emphasize experimental research. (experimental research) full-scale to focus on developing creativity and drawing statistical conclusions Stress values ​​and variation from sweat temperature measurement on the sleeve. and satisfaction of the target group. Therefore, the results from the research can help develop the body of knowledge further and expand the results for academic use. In summary, it is divided into quantitative results from statistics, stress values ​​from palm sweat temperature measurement rates, and qualitative results from satisfaction with the prototype innovation, as follows: 1) The sum of the relaxation statistics and stress values ​​from all 3 experimental steps of 15 participants from palm sweat temperature measurement rates using the Mindfield eSense Skin Response tool. Before the experiment, the relaxed state was 32.37 percent, the relaxed state was 67.63 percent, after the first experiment, the relaxed state was 82.33 percent, and after the second experiment, the relaxed state was 84.93 percent. The first experiment was able to create a relaxed state for 9 people at 100 percent, and the second experiment was able to create a relaxed state for 8 people at 100 percent. 2) The results of the evaluation of the level of satisfaction with stress relaxation after the experiment. The mean value was 4.15 and the standard deviation was equal to (SD.) 0.67. The evaluation result of the satisfaction level 3) Aesthetics of innovation after the experiment had a mean value of 4.48 and a standard deviation of (SD.) 0.53.The evaluation result of the satisfaction in terms of aesthetics of the moving sculpture and light innovation found that the moving sculpture and light innovation has a unique identity and can create the most aesthetic value, which is consistent with and linked to the research result on The work’s aesthetic uses innovations of light to create sense of beauty which can relieve eye fatiguefrom visual perception in the digital signal by Ms. Prangthong Changtham on the use of blue light and the rhythm of eye movement.
สังคมในปัจจุบันเทคโนโลยีได้แทรกซึมเข้าไปมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน มีการเปลี่ยนเเปลงไปอย่างรวดเร็ว มีความเร่งรีบมากขึ้น เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อความเครียด ได้แก่ การงาน การเงินและสุขภาพ โดยส่วนใหญ่มักพบในกลุ่มประชากร Gen Y เนื่องจากเป็นกลุ่มวัยทำงาน ซึ่งความเครียดเมื่อมีมากเกินไปย่อมส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตจึงทำให้ผู้วิจัยคิดแก้ปัญหานำไปสู่การออกแบบนวัตกรรมประติมากรรมเคลื่อนไหวและแสง โดยอาศัยแรงบันดาลใจเรื่องความสงบเยือกเย็น ตื่นรู้ ผ่านปรัชญาของเซนแสดงออกด้วยงานประติมากรรมเคลื่อนไหวและแสงที่มีที่มาจากท่านั่งสมาธิและการใช้แสงสีฟ้าร่วมกับจังหวะการเคลื่อนที่ของตำแหน่งนำสายตา จากงานวิจัยสุนทรียะแห่งแสงสู่การรังสรรค์นวัตกรรมช่วยผ่อนคลายภาวะอาการความเมื่อยล้าของสายตาด้วยการรับรู้จากการมองเห็นในยุคสัญญาณดิจิทัล เพื่อสร้างความผ่อนคลาย โดย นางสาวปรางทอง ชั่งธรรม และเพื่อศึกษาความพึงพอใจจากกลุ่มประชากร Gen Y โดยแบ่งวิธีการดำเนินการออกเป็น 3 ระยะดังนี้ คือ ระยะที่ 1) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อกลุ่มประชากร Gen Y ซึ่งผลกระทบเกิดจากหน้าที่การงาน  ภาระความรับผิดชอบภายในครอบครัว ระยะที่ 2) ออกแบบนวัตกรรมประติมากรรมเคลื่อนไหวและแสง โดยหลักการ ทฤษฎีพร้อมแบบร่างซึ่งผ่านการตรวจสอบและพัฒนาแบบร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน โดยใช้การวิเคราะห์ผลเชิงคุณภาพและนำแบบสอบถาม มาแปรผลประกอบการบรรยาย โดยผู้วิจัยได้ออกแบบและพัฒนาด้วยวิธีการทำแบบร่าง ทั้งด้านรูปร่าง รูปทรง แสง การเคลื่อนไหว ในการคัดเลือกทั้งหมด จำนวน 3 รูปแบบ รูปแบบละ 2 แนวทาง ระยะที่ 3) การพัฒนานวัตกรรมต้นแบบ ที่มุ่งเน้นการวิจัยเชิงทดลองแบบเต็มรูปแบบ เพื่อมุ่งเน้นในการพัฒนาสร้างสรรค์และสรุปผลค่าสถิติ ค่าความเครียด และค่าผันแปรจากอัตราการวัดอุณหภูมิเหงื่อที่ฝามือ และผลความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายดังนั้น ผลจากการวิจัยสามารถช่วยพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้และขยายผลสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงวิชาการ   สรุปแบ่งเป็นเชิงปริมาณจากผลค่าสถิติ ค่าความเครียด จากอัตราการวัดอุณหภูมิเหงื่อที่ฝามือและเชิงคุณภาพจากผลความพึงพอใจต่อนวัตกรรมต้นแบบดังนี้ 1) ผลรวมค่าสถิติค่าสภาวะผ่อนคลายและค่าความเครียดทั้ง 3 ระยะ การทดลองของผู้เข้าร่วมทดลอง จำนวน 15 คน จากอัตราการวัดอุณหภูมิเหงื่อที่ฝามือ โดยใช้อุปกรณ์ Mindfield eSense Skin Response ก่อนทำการทดลองมีสภาวะผ่อนคลายร้อยละ 32.37, สภาวะเครียดร้อยละ 67.63, หลังการทดลองครั้งที่ 1 สภาวะความผ่อนคลายร้อยละ 82.33, หลังการทดลองครั้งที่ 2 สภาวะความผ่อนคลายร้อยละ 84.93, โดยการทดลองครั้งที่ 1 สามารถสร้างสภาวะผ่อนคลายให้กับผู้ทดลองร้อยละ 100 ได้จำนวนทั้งสิ้น 9 คน และการทดลองครั้งที่ 2 สามารถสร้างสภาวะผ่อนคลายให้กับผู้ทดลองร้อยละ 100 ได้จำนวนทั้งสิ้น 8 คน 2) ผลการประเมินระดับความพึงพอใจด้านความผ่อนคลายความเครียดหลังจากการทดลอง พบว่า โดยมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.15 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) อยู่ที่ 0.67 ผลการประเมินระดับความพึงพอใจ 3) ด้านสุนทรียภาพของนวัตกรรมหลังจากการทดลอง พบว่า โดยมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.48 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) อยู่ที่ 0.53 ในส่วนของการประเมินความพึงพอใจด้านสุนทรียภาพของนวัตกรรมประติมากรรมเคลื่อนไหวและแสง พบว่า นวัตกรรมประติมากรรมเคลื่อนไหวและแสง มีเอกลักษณ์เฉพาะและสามารถสร้างคุณค่าทางสุนทรียะได้ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกันกับผลงานวิจัย “สุนทรียะแห่งแสงสู่การรังสรรค์นวัตกรรมช่วยผ่อนคลายภาวะอาการความเมื่อยล้าของสายตาด้วยการรับรู้จากการมองเห็นในยุคสัญญาณดิจิทัล” โดย นางสาวปรางทอง ชั่งธรรม ด้านการใช้แสงสีฟ้าร่วมกับจังหวะการเคลื่อนที่ของตำแหน่งนำสายตา
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5081
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
650420005.pdf9.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.