Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5098
Title: Treatise in the reign of King Rama 3 : A study of the relationship between the treatise creation and society.
วรรณกรรมตำราเรียนในสมัยรัชกาลที่ 3 : การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสร้างวรรณกรรมตำราเรียนและสังคม
Authors: Sairung PIANANURAK
สายรุ้ง เพียรอนุรักษ์
PATTAMA THEEKAPRASERTKUL
ปัทมา ฑีฆประเสริฐกุล
Silpakorn University
PATTAMA THEEKAPRASERTKUL
ปัทมา ฑีฆประเสริฐกุล
pattamathee@hotmail.com
pattamathee@hotmail.com
Keywords: วรรณกรรมตำราเรียน
สมัยรัชกาลที่ 3
Treatise
Rama III-era
Issue Date:  28
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research aims to study the content, literary techniques of treatise during the reign of King Rama III and the relationship between treatise and the social context. The study examines 12 treatises, Cindamani; the edition of Somdetphramahasamanachaokromphra Paramanuchitchinorot, Cindamani; the edition of Krommaluang, Wongsathiratsanit, Prathom ko ka, Prathom ko ka had an, Pathommala, Sueakho Ko ka, Srisawat Wat, Kap Phra Chaisuriya, khamklornbanyaithamthiabduaitua ko kho, Tamra Chan Wannaphruet, Tamra Chan Mattraphruet and Plengyaokonlabod. The study shows that the content of Rama III-era treatise consists of 1) reading and writing principles 2) methods of poetic composition 3) guidelines for proper conduct and Buddhist teachings 4) various counting methods and 5) general knowledge. The literary techniques found in these treatises include non-content related literary devices and techniques relating to the lessons. The nature of the content and techniques differs from treatise before and after Rama III's reign in 4 key including authorship, readership, subject matter, and distribution. This highlights unique characteristics of Rama III-era treatises such as authorship from both inside and outside the royal court, including multiple authors, the emergence of treatises aimed specifically at children while those for adults maintained, the content emphasizing reading, writing and poetic principles alongside moral lessons, and a shift towards more public distribution. There is a relationship between Rama III-era treatise characteristics and the social context in 3 key areas, Western influence, religion and education, and economy and trade. Firstly, Western influence led to greater educational awareness, increased treatise production, with some Western-inspired content. Secondly, the promotion of Buddhism and education drove literacy efforts and treatise creation, while treatises helped propagate Buddhism. Thirdly, thriving commerce under Rama III fostered a new commercial elite who valued education and promoted social mobility through literacy as preparation for careers.
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์. เพื่อศึกษาเนื้อหา กลวิธีการแต่งวรรณกรรมตำราเรียนใน สมัยรัชกาลที่ 3 และความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมตำราเรียนในสมัยรัชกาลที่ 3 กับบริบทสังคม โดยศึกษาจากวรรณกรรมตำราเรียนจำนวน 12 เรื่อง ได้แก่ จินดามณี ฉบับสมเด็จพระสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส จินดามณี ฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิท ประถม ก กา ประถม ก กา หัดอ่าน ปฐมมาลา เสือโค ก กา ศรีสวัสดิ์วัด กาพย์พระไชยสุริยา คำกลอนบรรยายธรรมเทียบด้วย ตัว ก ข ตำราฉันท์วรรณพฤติ ตำราฉันท์มาตราพฤติและเพลงยาวกลบท ผลการศึกษาพบว่า เนื้อหา ของวรรณกรรมตำราเรียนในสมัยรัชกาลที่ 3 ประกอบไปด้วย 1. หลักการอ่านเขียน 2. การแต่ง คำประพันธ์ 3. แนวทางการปฏิบัติตนและหลักธรรม 4. เนื้อหาด้านวิธีการนับประเภทต่าง ๆ และ 5. เนื้อหาด้านความรู้รอบตัว ส่วนกลวิธีการแต่งที่พบในวรรณกรรมตำราเรียนในสมัยรัชกาลที่ 3 ประกอบด้วยกลวิธีทางวรรณศิลป์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่สอนโดยตรงและกลวิธีที่สัมพันธ์กับเนื้อหา ที่สอน ลักษณะเนื้อหาและกลวิธีดังกล่าวมีความแตกต่างจากวรรณกรรมตำราเรียนในช่วงเวลา ก่อนหน้าและหลังจากสมัยรัชกาลที่ 3 ใน 4 ด้าน คือ ด้านผู้แต่ง ด้านผู้อ่าน ด้านเนื้อหา และด้าน การเผยแพร่ ซึ่งแสดงให้เห็นลักษณะเด่นของวรรณกรรมตำราเรียนในสมัยรัชกาลที่ 3 คือ การมีผู้แต่ง ทั้งจากในและนอกราชสำนัก รวมถึงมีผู้แต่งหลายคน การเริ่มมีตำราเรียนสำหรับเด็กโดยเฉพาะและ ยังคงมีตำราเรียนสำหรับผู้ใหญ่ การมีเนื้อหาที่เน้นการอ่านเขียนและวางบรรทัดฐานการแต่ง คำประพันธ์ควบคู่ไปกับคำสอน และการเริ่มเผยแพร่อย่างเป็นสาธารณะ ลักษณะของวรรณกรรม ตำราเรียนในสมัยรัชกาลที่ 3 มีความสัมพันธ์กับบริบททางสังคมใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการได้รับอิทธิพล จากตะวันตก ด้านพุทธศาสนาและการศึกษา และด้านเศรษฐกิจและการค้า โดยด้านที่ 1 ด้าน การได้รับอิทธิพลจากตะวันตกส่งผลให้ไทยมีความตื่นตัวทางการศึกษามากขึ้น มีการแต่งวรรณกรรม ตำราเรียนมากขึ้น รวมถึงมีเนื้อหาบางส่วนที่ได้รับอิทธิพลจากการศึกษาแบบตะวันตกด้วย ด้านที่ 2 ด้านการส่งเสริมพุทธศาสนาและการศึกษา ทำให้เกิดการส่งเสริมการศึกษาและการสร้างวรรณกรรม ตำราเรียน พร้อมกับที่วรรณกรรมตำราเรียนมีบทบาทในการสืบทอดพระพุทธศาสนาและด้านที่ 3 ด้านเศรษฐกิจและการค้า พบว่าการค้าในรัชกาลที่ 3 รุ่งเรืองมาก ชนชั้นนำกลุ่มใหม่ให้ความสำคัญกับ การศึกษาและส่งเสริมแนวคิดที่ว่าความสำเร็จในชีวิตเกิดได้ด้วยการศึกษาโดยเน้นไปที่การอ่านออก เขียนได้เพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5098
Appears in Collections:Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620520015.pdf2.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.