Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5106
Title: | Approaches to Promoting Competency of Nursing Students in Rajabhat University แนวทางการส่งเสริมสมรรถนะของนักศึกษาพยาบาล ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ |
Authors: | Thanistha SAMAI ธนิษฐา สมัย Mattana Wangthanomsak มัทนา วังถนอมศักดิ์ Silpakorn University Mattana Wangthanomsak มัทนา วังถนอมศักดิ์ nong_sunshine@yahoo.com nong_sunshine@yahoo.com |
Keywords: | แนวทางการส่งเสริม / สมรรถนะของนักศึกษาพยาบาล / มหาวิทยาลัยราชภัฏ Approaches to Promoting / Competency of Nursing Students / Rajabhat University |
Issue Date: | 28 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | This research aims to identify appproaches to promoting competency of nursing students in Rajabhat University. The key informants consist of 19 experts, including nursing faculty administrators, leaders from professional organizations and educational policy management, employers of graduates, and academic faculty members involved in nursing education. The data collection tool used was an unstructured interview based on the Ethnographic Futures Research (EFR) technique.
The research finding were as follows:
Approaches to promoting competency of nursing students in Rajabhat University is 9 issues: (1) Curriculum
(2) Teaching management (3) Measurement and Evaluation (4) Learning Support (5) Instructors development
(6) Service development (7) Research development (8) Professional development (9) Technology Utilization as follows:
1) Curriculum Development: Integrating medical knowledge, ethics, management, communication skills, theory and practice, life skills, technology use, and research to produce high-quality nurses capable of effectively responding to healthcare challenges.
2) Teaching Management: Utilizing modern teaching technologies, integrating theory and practice through internships, providing expert consultations, promoting teamwork skills, conflict management, and ethics to prepare students for professional work.
3) Assessment and Evaluation: Employing theoretical and practical tests, simulation scenarios, and online platforms to evaluate and develop students' skills, providing clear feedback for self-improvement and curriculum enhancement.
4) Learning Support: Providing training, study tours, modern technology use, digital skill development, creating learning communities, and using online resources to enhance teaching and learning effectiveness.
5) Instructors development: Focusing on training, knowledge exchange, technology use, ethical standards, and research promotion to ensure faculty members serve as good role models and provide up-to-date education that adapts to professional changes.
6) Service Development: Emphasizing practical training in healthcare settings, research, cultural skills development, numerical analysis, and statistical use to improve skills and readiness to work effectively and equitably in society.
7) Research Development: Enhancing research skills in healthcare settings, statistical use, ethics, and innovation creation to improve patient care, providing students with direct experience and increased expertise.
8) Professional Development: Preparing nursing students to care for patients from diverse cultures through training, real-world experience, and ethical education, developing skills for global healthcare service improvement.
9) Technology Utilization: Enhancing learning efficiency using computers, tablets, simulation, applications, digital platforms, and training, allowing students to gain experience and adapt to new innovations effectively. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทราบแนวทางการส่งเสริมสมรรถนะของนักศึกษาพยาบาล ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ผู้ให้ข้อมูล ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารคณะพยาบาล ผู้ที่เป็นผู้นำที่เกี่ยวข้องกับองค์กรวิชาชีพและการจัดการศึกษาระดับนโยบาย ผู้ใช้บัณฑิต และนักวิชาการระดับอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาล จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงอนาคตแบบ (Ethnographic futures research -EFR) ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการส่งเสริมสมรรถนะของนักศึกษาพยาบาล ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ มี 9 ประเด็น คือ (1) ด้านหลักสูตร (2) ด้านการจัด การเรียนการสอน (3) ด้านการวัดและประเมินผล (4) ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ (5) ด้านการพัฒนาอาจารย์ (6) ด้านการพัฒนาการบริการ (7) ด้านการพัฒนาการวิจัย (8) ด้านการพัฒนาวิชาชีพ (9) ด้านการใช้เทคโนโลยี 1) ด้านหลักสูตรดังนี้ การพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ควรบูรณาการความรู้ทางการแพทย์ จริยธรรม การจัดการ และทักษะ การสื่อสาร ผสมผสานทฤษฎีและปฏิบัติ พัฒนาทักษะชีวิต การใช้เทคโนโลยี และการวิจัย เพื่อผลิตพยาบาลที่มีคุณภาพและสามารถตอบสนอง ต่อความท้าทายในวงการสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ด้านการจัดการเรียนการสอนดังนี้ หลักสูตรพยาบาลศาสตร์ควรใช้เทคโนโลยีการสอนทันสมัย ผสมผสานทฤษฎีและปฏิบัติ ผ่านการฝึกงาน มีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา ส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม การจัดการความขัดแย้ง และคุณธรรม เพื่อเตรียมความพร้อมนักศึกษาในการทำงานอย่างมืออาชีพ 3) ด้านการวัดและประเมินผลดังนี้ การวัดและประเมินผลในหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ควรใช้แบบทดสอบทฤษฎีและปฏิบัติ การจำลองสถานการณ์ และแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อประเมินและพัฒนาทักษะนักศึกษา ให้ข้อมูลตอบกลับชัดเจน เพื่อปรับปรุงตนเองและหลักสูตร 4) ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ดังนี้ การสนับสนุนการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาพยาบาลควรมีการฝึกอบรม การศึกษาดูงาน ใช้เทคโนโลยีทันสมัย พัฒนาทักษะดิจิทัล สร้างชุมชนการเรียนรู้ และใช้แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน 5) ด้านการพัฒนาอาจารย์ดังนี้ การพัฒนาอาจารย์ควรเน้นฝึกอบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช้เทคโนโลยี สร้างจรรยาบรรณ และส่งเสริมการวิจัย เพื่อให้อาจารย์เป็นตัวอย่างที่ดี และนักศึกษาได้รับการเรียนรู้ที่ทันสมัย ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในวิชาชีพได้ 6) ด้านการพัฒนาการบริการดังนี้ การพัฒนาบริการสำหรับนักศึกษาพยาบาลควรเน้นการฝึกปฏิบัติจริงในสถานพยาบาล การวิจัย การพัฒนาทักษะด้านวัฒนธรรม การวิเคราะห์เชิงตัวเลข และการใช้สถิติ เพื่อเสริมทักษะและความพร้อมในการทำงานร่วมกับสังคมอย่างมีประสิทธิภาพและเท่าเทียม 7) ด้านการพัฒนาการวิจัยดังนี้ การพัฒนาการวิจัยในพยาบาลควรเน้นเสริมทักษะการวิจัยในสถานพยาบาล การใช้สถิติ จริยธรรม และการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการดูแลผู้ป่วย นักศึกษาจะได้รับประสบการณ์ตรงและความเชี่ยวชาญเพิ่มขึ้น 8) ด้านการพัฒนาวิชาชีพดังนี้ การพัฒนาวิชาชีพพยาบาลเน้นการเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยจากวัฒนธรรมหลากหลาย ผ่านการฝึกอบรม ประสบการณ์จริง และการอบรมจรรยาบรรณ พร้อมพัฒนาทักษะการทำงานในระดับสากลเพื่อเพิ่มคุณภาพการบริการสุขภาพ 9) ด้านการใช้เทคโนโลยีดังนี้ การใช้เทคโนโลยีในการศึกษาพยาบาลเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ผ่านคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต การจำลองสถานการณ์ แอปพลิเคชัน แพลตฟอร์มดิจิทัล และการอบรม ช่วยให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์และปรับตัวต่อนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ดีขึ้น |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5106 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
61252902.pdf | 4.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.