Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5186
Title: | SERVICE QUALITY OF SCHOOL IN HUAI SAI NUEA-SAM PHRAYA NETWORK CENTER UNDER PHETCHABURI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE2 คุณภาพการให้บริการของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายห้วยทรายเหนือ-สามพระยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 |
Authors: | Ganchanit PANPETCH กานติ์ชนิต พานเพชร Mattana Wangthanomsak มัทนา วังถนอมศักดิ์ Silpakorn University Mattana Wangthanomsak มัทนา วังถนอมศักดิ์ nong_sunshine@yahoo.com nong_sunshine@yahoo.com |
Keywords: | คุณภาพการให้บริการ SERVICE QUALITY |
Issue Date: | 28 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purposes of this research were to find: 1)service quality of school in Huai Sai Nuea-Sam Phraya Network Center and 2)the development guidelines for service quality of school in Huai Sai Nuea-Sam Phraya Network Center. The samples were 63 teacher and School board committee in Huai Sai Nuea-Sam Phraya Network Center. The research instrument was a questionnaire, regarding service quality based on Parasuraman, Zeithaml and Berry’s concept. The statistics used in this research were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, and content analysis. The findings were as follow: 1.Service quality of school in Huai Sai Nuea-Sam Phraya Network Center, as a whole and individual, was found at the highest level; ranking from the highest mean to the lowest mean: assurance, empathy, reliability, responsiveness and tangibles, respectively 2.The development guidelines for school in Huai Sai Nuea-Sam Phraya Network Center were 1)tangibles: develop and maintain buildings to be clean, safe, convenient, and adequate; provide technology and computer equipment 2)reliability:development of educational services using the information system and technology in operation and develop teaching and learning by teachers that correspond to major subjects 3)responsiveness:provide additional channels for receiving opinions from service recipients, then improve, develop, and plan to solve problems; respond to the needs of service recipients conveniently, quickly, and willingly. 4)assurance:provide personality and skill develop training to enhance the impression of service recipients. 5)empathy:develop a student support system to address various student problems; develop teachers to place common interests above their own and listen to the opinions of all parties. การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1)คุณภาพการให้บริการของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายห้วยทรายเหนือ-สามพระยา 2)แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายห้วยทรายเหนือ-สามพระยา กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครู และคณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายห้วยทรายเหนือ-สามพระยา จำนวน 63 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพการใช้บริการตามแนวคิดของพาราสุรามาน ไซทามและเบอร์รี่ สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพการให้บริการของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายห้วยทรายเหนือ–สามพระยา โดยภาพรวมและรายด้านออยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ดังนี้ ด้านความไว้วางใจ ด้านการเข้าถึงจิตใจ ด้านความน่าเชื่อถือของบริการ ด้านการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ และ ด้านลักษณะทางกายภาพ 2. แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายห้วยทรายเหนือ-สามพระยา ดังนี้ 1) ด้านลักษณะทางกายภาพ: พัฒนาและรักษาสภาพอาคารสถานที่ให้มีความสะอาด ปลอดภัย สะดวกและเพียงพอต่อการใช้งาน จัดหาสื่อเทคโนโลยี อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 2) ด้านความน่าเชื่อถือของบริการ: พัฒนาการบริการทางการศึกษา โดยใช้ระบบสาระสนเทศและเทคโนโลยีในการดำเนินการ และพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยครูผู้สอนที่ตรงกับวิชาเอก 3) ด้านการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ: ควรเพิ่มช่องทางในการรับความคิดเห็นของผู้รับบริการ แล้วนำมาปรับปรุงพัฒนาและวางแผนแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการด้วยสะดวกรวดเร็วด้วยความเต็มใจ 4) ด้านความไว้วางใจ: จัดอบรมบุคลิกภาพและพัฒนาทักษะในงานบริการ เพื่อเสริมสร้างความประทับใจของผู้รับบริการ 5) ด้านการเข้าถึงจิตใจ:พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อเข้าถึงปัญหาด้านต่างๆของนักเรียน พัฒนาครูให้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน และรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5186 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
640620093.pdf | 5.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.