Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5218
Title: ORGANIZATIONAL CAPABILITIES IN TECHNOLOGICAL COMPETENCY DEVELOPMENT FOR AVIATION BUSINESS EMPLOYEES IN DIGITAL ERA
ความสามารถองค์การในการพัฒนาสมรรถนะทางเทคโนโลยีสำหรับพนักงานธุรกิจการบินในยุคดิจิทัล
Authors: Maytinee VONGTHARAWAT
เมทินี วงศ์ธราวัฒน์
Viroj Jadesadalug
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์
Silpakorn University
Viroj Jadesadalug
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์
viroj_jade@hotmail.com
viroj_jade@hotmail.com
Keywords: ความสามารถองค์การในการพัฒนาสมรรถนะทางเทคโนโลยีสำหรับพนักงาน
การจัดการความซับซ้อนของธุรกิจ
การบริหารความเสี่ยงขององค์กร
ความเป็นเลิศทางการบริการ
ผลการดำเนินธุรกิจ
Organizational Capabilities in Technological Competency Development for Employees
Business Complexity Management
Enterprise Risk Management
Service Excellence
Business Performance
Issue Date:  28
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research aims 1) to examine the influence of Organizational Capabilities in Technological Competency Development for Employees on Service Excellence 2) to examine the influence of Organizational Capabilities in Technological Competency Development for Employees on Business Performance 3) to examine the influence of Service Excellence on Business Performance 4) to examine the influence of Business Complexity Management on Organizational Capabilities in Technological Competency Development for Employees and 5) to examine the influence of Enterprise Risk Management on Organizational Capabilities in Technological Competency for Employees. The mixed-method research is applied in this study by complying with the Explanatory Sequential Design; start by using quantitative approach to study the causal relationship of Organizational Capabilities in Technological Competency Development for Employees. Quantitative method is gathered by questionnaire with top management or assigned executive of 220 business. Structural Equation Modeling is conducted for analyzing the causal model with empirical data and Path Analysis for testing the hypotheses. Qualitative approach by using phenomenological approach that based on in-depth interviews with 6 key informants who are top management or middle management related in activities of Technological Competency Development for Employees.  The findings reveal that 1) Organizational Capabilities in Technological Competency Development for Employees have influence on Service Excellence. 2) Organizational Capabilities in Technological Competency Development for Employees have influence on Business Performance. 3) Service Excellence has influence on Business Performance. 4) Service Excellence has a mediating effect on the influence of Organizational Capabilities in Technological Competency Development for Employees on Business Performance. 5) Business Complexity Management has influence on Organizational Capabilities in Technological Competency Development for Employees. 6) Enterprise Risk Management has influence on Organizational Capabilities in Technological Competency Development for Employees. According to the result of Structural Equation Model analysis, it shows the hypotheses model are congruent with empirical data: Chi-square = 350.123, p-value = 0.23, relative chi-square = 1.80, CFI = 0.98, GFI = 0.98, AGFI = 0.97, and RMSEA = 0.01. The qualitative research results can confirm and elaborate on the quantitative findings. The contributions of this research can explain the causality of Organizational Capabilities in Technological Competency Development for Aviation Business Employees in Digital Era. The research results can be used to develop the Technological Competency Development for Employees on how aviation business can achieve service excellence and business performance.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทดสอบอิทธิพลของความสามารถองค์การในการพัฒนาสมรรถนะทางเทคโนโลยีสำหรับพนักงานที่มีต่อความเป็นเลิศทางการบริการ 2) เพื่อทดสอบอิทธิพลของความสามารถองค์การในการพัฒนาสมรรถนะทางเทคโนโลยีสำหรับพนักงานที่มีต่อผลการดำเนินธุรกิจ 3) เพื่อทดสอบอิทธิพลของความเป็นเลิศทางการบริการที่มีต่อผลการดำเนินธุรกิจ 4) เพื่อทดสอบอิทธิพลของการจัดการความซับซ้อนของธุรกิจที่มีต่อความสามารถองค์การในการพัฒนาสมรรถนะทางเทคโนโลยีสำหรับพนักงาน 5) เพื่อทดสอบอิทธิพลของการบริหารความเสี่ยงขององค์กรที่มีต่อความสามารถองค์การในการพัฒนาสมรรถนะทางเทคโนโลยีสำหรับพนักงาน ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี ออกแบบแผนการวิจัยเป็นแบบขั้นตอนเชิงอธิบาย เริ่มด้วยการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อทดสอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ของความสามารถองค์การในการพัฒนาสมรรถนะทางเทคโนโลยีสำหรับพนักงาน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากผู้บริหารระดับสูง หรือผู้บริหารที่ได้รับมอบหมาย จำนวน 220 ธุรกิจใช้การวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างเพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องของตัวแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และการวิเคราะห์เส้นทาง เพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย การวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีวิทยาแบบปรากฏการณ์วิทยาด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารระดับสูงหรือผู้บริหารระดับกลางที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรมในการพัฒนาสมรรถนะทางเทคโนโลยีสำหรับพนักงานธุรกิจการบิน จำนวน 6 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถองค์การในการพัฒนาสมรรถนะทางเทคโนโลยีสำหรับพนักงาน มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความเป็นเลิศทางการบริการ 2) ความสามารถองค์การในการพัฒนาสมรรถนะทางเทคโนโลยีสำหรับพนักงานมีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลการดำเนินธุรกิจ 3) ความเป็นเลิศทางการบริการมีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลการดำเนินธุรกิจ 4) ความสามารถองค์การในการพัฒนาสมรรถนะทางเทคโนโลยีสำหรับพนักงานมีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลการดำเนินธุรกิจโดยมีความเป็นเลิศทางการบริการเป็นตัวแปรส่งผ่าน 5) การจัดการความซับซ้อนของธุรกิจ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความสามารถองค์การในการพัฒนาสมรรถนะทางเทคโนโลยีสำหรับพนักงาน 6) การบริหารความเสี่ยงขององค์กรมีอิทธิพลเชิงบวกต่อความสามารถองค์การในการพัฒนาสมรรถนะทางเทคโนโลยีสำหรับพนักงาน การวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง พบว่าตัวแบบตามสมมติฐาน มีความสอดคล้องกับข้อมูล เชิงประจักษ์ โดยมีค่าไคสแควร์เท่ากับ 350.123 มีระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.23 ค่าไคสแควร์สัมพัทธ์เท่ากับ 1.80 ค่า CFI เท่ากับ 0.98 ค่า GFI เท่ากับ 0.98 ค่า AGFI เท่ากับ 0.97 และค่า RMSEA เท่ากับ 0.01 ผลการวิจัยเชิงคุณภาพสามารถยืนยันขยายผลการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณได้ดี ประโยชน์จากการวิจัยนี้สามารถอธิบายความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ของความสามารถองค์การในการพัฒนาสมรรถนะทางเทคโนโลยีสำหรับพนักงาน สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาสมรรถนะทางเทคโนโลยีสำหรับพนักงาน ทำให้องค์การธุรกิจการบินเกิดความเป็นเลิศทางการบริการและผลการดำเนินธุรกิจ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5218
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61604909.pdf7.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.