Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5220
Title: | DEVELOPMENT OF ANTECEDENT FACTOR MODEL OF BUSINESS CONTINUITY AND RESTAURANT BUSINESS INNOVATION OF HOTEL INDUSTRY IN THAILAND: A CASE STUDY OF DUSIT THANI (PUBLIC) COMPANY LIMITED การพัฒนาตัวแบบเชิงสาเหตุปัจจัยด้านความต่อเนื่องและนวัตกรรมทางธุรกิจภัตตาคารของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมขนาดใหญ่ในประเทศไทย: กรณีศึกษา บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) |
Authors: | Sathira MALASIN สถิรา มะลาสิน Pitak Siriwong พิทักษ์ ศิริวงศ์ Silpakorn University Pitak Siriwong พิทักษ์ ศิริวงศ์ innjun@yahoo.com innjun@yahoo.com |
Keywords: | นวัตกรรมทางธุรกิจ กลยุทธ์ความต่อเนื่องทางธุรกิจ ธุรกิจภัตตาคาร ธุรกิจโรงแรม ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม ดุสิตธานี Business innovation Business continuity strategy Restaurant business Hotel business Hospitality entrepreneur Dusit Thani |
Issue Date: | 28 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | This research aimed to study 1) the model for developing business continuity and innovation in the restaurant business, 2) a confirmatory factor analysis of the model for developing business continuity and innovation in the restaurant business, and 3) analyse causal relationships for developing continuity and innovation in the restaurant business of big hotel business operators in Thailand: a case study of Dusit Thani Public Company Limited. It is mixed-method research, namely qualitative research with in-depth interviews with the eight executives of Dusit Thani Public Company Limited, who can formulate policies for business operations and stakeholders and quantitative research with confirmatory factor analysis for developing business continuity and innovation in the restaurant business. By analysing the partial least squares structural model equations with the statistical package Smart PLS 4.0, set the statistical significance level at 0.05 to test the hypothesis. The 107 sample groups are customers who came to use the services of Baan Dusit Thani Restaurant from the restaurant located in the hotel until the hotel was renovated and brought the restaurants together in Baan Dusit Thani Restaurant.
The research results found that 1) The model for developing business continuity and innovation in the restaurant business consists of 8 main themes: resilient leadership, digital technology adoption for service, financial resource and management, organisational agility, risk and business continuity management, customer relationship management, talent development and retention, sustainable entrepreneurship practices, entrepreneurial orientation, business continuity and innovation, and business performance; 2) the confirmatory factor analysis of the developed restaurant business continuity and innovation development model were consistent with empirical data by outer loadings greater than 0.70, composite reliability and cronbach’s alpha greater than 0.70, average variance extract greater than 0.50, and variance inflation factor lower than 5.00.; and 3) entrepreneurial orientation was the causal factor that had the most positive influence on business continuity and innovation, followed by sustainable entrepreneurship practices and resilience leadership, respectively. Also, business continuity and innovation had a positive influence on business performance. By entrepreneurial orientation, sustainable entrepreneurship practices and resilience leadership directly influenced business continuity and innovation, respectively. Business continuity and innovation also had a direct influence on business performance. Moreover, entrepreneurial orientation, sustainable entrepreneurship practices, and resilience leadership also indirectly influence business performance. Furthermore, business continuity and innovation fully mediated from causal factors of entrepreneurial orientation and sustainable entrepreneurship practices to business performance. Besides, business continuity and innovation partially mediated from causal factors of resilience leadership to business performance. งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการพัฒนาความต่อเนื่องทางธุรกิจและนวัตกรรมธุรกิจภัตตาคาร 2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของรูปแบบการพัฒนาความต่อเนื่องทางธุรกิจและนวัตกรรมธุรกิจภัตตาคาร และ 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการสร้างความต่อเนื่องและนวัตกรรมทางธุรกิจภัตตาคารของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมขนาดใหญ่ในประเทศไทย: กรณีศึกษา บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกคณะผู้บริหารของ บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) ที่สามารถกำหนดนโยบายในการดำเนินธุรกิจ และผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน 8 ราย และการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการองค์ประกอบเชิงยืนยันของการสร้างความต่อเนื่องและนวัตกรรมทางธุรกิจภัตตาคาร และวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความต่อเนื่องและนวัตกรรมทางธุรกิจภัตตาคาร โดยการวิเคราะห์สมการโมเดลเชิงโครงสร้างแบบกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ Smart PLS 4.0 กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เพื่อทดสอบสมมติฐาน จากกลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกค้าที่มาใช้บริการจริงและเป็นผู้ที่มาใช้บริการภัตตาคารบ้านดุสิตธานี ตั้งแต่ภัตตาคารตั้งอยู่ในโรงแรมจนกระทั่งโรงแรมมีการปรับโฉมนำภัตตาคารมาตั้งรวมกันอยู่ในภัตตาคารบ้านดุสิตธานี จำนวน 107 ราย ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการพัฒนาความต่อเนื่องทางธุรกิจและนวัตกรรมธุรกิจภัตตาคาร ประกอบด้วย 8 แก่นสาระหลัก ได้แก่ ภาวะผู้นำที่สามารถรับมือกับความท้าทายและการเปลี่ยนแปลง การยอมรับเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริการ ทรัพยากรทางการเงินและการจัดการ การเป็นองค์กรที่มีความคล่องตัวทางธุรกิจ การจัดการความเสี่ยงและความต่อเนื่องทางธุรกิจ การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า การพัฒนาและรักษาผู้มีความสามารถไว้กับองค์กร แนวปฏิบัติความเป็นผู้ประกอบการอย่างยั่งยืน คุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ นวัตกรรมความต่อเนื่องของการดำเนินธุรกิจ และผลการดำเนินงานของธุรกิจ 2) องค์ประกอบเชิงยืนยันของรูปแบบการพัฒนาความต่อเนื่องทางธุรกิจและนวัตกรรมธุรกิจภัตตาคารที่พัฒนาขึ้นมา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบภายนอก มากกว่า 0.70 ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงประกอบ และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค มากกว่า 0.70 ค่าความแปรปรวนที่สกัดได้เฉลี่ย มากกว่า 0.50 และค่าปัจจัยการขยายตัวของความแปรปรวน ต่ำกว่า 5.00 และ 3) คุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ เป็นปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อนวัตกรรมความต่อเนื่องของการดำเนินธุรกิจมากที่สุด รองลงมาคือ แนวปฏิบัติความเป็นผู้ประกอบการอย่างยั่งยืน และภาวะผู้นำที่สามารถรับมือกับความท้าทายและการเปลี่ยนแปลง ตามลำดับ โดยนวัตกรรมความต่อเนื่องของการดำเนินธุรกิจ ยังเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจ โดยปัจจัยคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ แนวปฏิบัติความเป็นผู้ประกอบการอย่างยั่งยืน และภาวะผู้นำที่สามารถรับมือกับความท้าทายและการเปลี่ยนแปลง เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อนวัตกรรมความต่อเนื่องของการดำเนินธุรกิจ ตามลำดับ ซึ่งนวัตกรรมความต่อเนื่องของการดำเนินธุรกิจ ยังเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจ อีกทั้งปัจจัยคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ แนวปฏิบัติความเป็นผู้ประกอบการอย่างยั่งยืน และภาวะผู้นำที่สามารถรับมือกับความท้าทายและการเปลี่ยนแปลง ยังเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจ ตามลำดับ นอกจากนี้ นวัตกรรมความต่อเนื่องของการดำเนินธุรกิจเป็นปัจจัยคั่นกลางที่มีอิทธิพลแบบสมบูรณ์ จากตัวแปรเชิงสาเหตุคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ และแนวปฏิบัติความเป็นผู้ประกอบการอย่างยั่งยืน ไปสู่ผลการดำเนินงานของธุรกิจ และนวัตกรรมความต่อเนื่องของการดำเนินธุรกิจ ยังเป็นปัจจัยคั่นกลางที่มีอิทธิบางส่วน จากตัวแปรเชิงสาเหตุภาวะผู้นำที่สามารถรับมือกับความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงไปสู่ผลการดำเนินงานของธุรกิจ |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5220 |
Appears in Collections: | Management Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
621230039.pdf | 5.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.