Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/523
Title: กระบวนการและแนวทางในการพัฒนาโครงการครูพันธุ์บึง มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
Other Titles: PROCESS AND GUIDLINE FOR DEVELOPMENT OF BUENG GENERATION’ S TEACHERS AT MUBAN CHOMBUENG RAJABHAT UNIVERSITY
Authors: ผู้ผึ้ง, สุภาภรณ์
Phuphung, Supaporn
Keywords: กระบวนการ
ครูพันธุ์บึง
การพัฒนา
PROCESS
BUENG GENERATION’ S TEACHERS
DEVELOPMENT
HI TOUCH
HIGHT TECHNOLOGY
Issue Date: 5-Aug-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยเรื่อง “กระบวนการและแนวทางในการพัฒนาโครงการครูพันธุ์บึง มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง”ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1.เพื่อศึกษากระบวนการ และแนวทางในการพัฒนาครูพันธุ์บึง มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง 2. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นในโครงการครูพันธุ์บึง มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง 3. เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของนักศึกษาโครงการครูพันธุ์บึง มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการศึกษาเอกสารการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 18 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มบุคลากร ได้แก่ อดีตอธิการบดี อธิการบดี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รองคณบดี อาจารย์ พี่เลี้ยงที่คอยดูแลนักศึกษาในโครงการ และกลุ่มนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ จากนั้นนำข้อมูลเชิงคุณภาพ ที่ได้มาตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบแบบสามเส้าวิเคราะห์ สรุปผล และนำเสนอ ผลการศึกษาในรูปแบบพรรณนาความในแต่ละประเด็นให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผลการศึกษาในสามประเด็น พบว่า 1) กระบวนการและแนวทางในการพัฒนาโครงการครูพันธุ์บึง มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ปรากฏผลการศึกษา คือ 1.1 กระบวนการในการพัฒนาโครงการครูพันธุ์บึง ตามโครงสร้างของวงจร PDCA ประกอบด้วย 1. การวางแผน (Planning) เพื่อกำหนดกรอบแนวทางในการดำเนินงาน ได้แก่ แผนระยะยาว แผนระยะกลาง และแผนรายปี 2. การปฏิบัติตามแผน (Do) เน้นการดำเนินงานตามหลักสูตรและกิจกรรมของนักศึกษา 3.การตรวจสอบ (Check) ใช้แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา คณะกรรมการที่ดำเนินโครงการครูพันธุ์บึง และผู้ใช้นักศึกษาในโครงการเป็นตัวชี้วัด เชิงคุณภาพที่กำหนดความพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเป้าหมาย มาใช้ในการประเมินผลความสำเร็จของโครงการ 4. การปรับปรุงการดำเนินการอย่างเหมาะสม (Act) ปรับแผนให้สอดคล้องกับงบประมาณ โดยการอบรมแต่ละหลักสูตรต้องสรุปผลการดำเนินงานในแต่ละปี 1.2 แนวทางในการพัฒนา ประกอบด้วยด้านหลักสูตร ด้านการรับสมัครนักศึกษา และด้านการประชาสัมพันธ์โครงการ 2) สภาพปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในโครงการครูพันธุ์บึง พบปัญหาด้วยกัน 4 ด้าน ได้แก่ 1.ปัญหาด้านคนหรือบุคลากร 2. ปัญหาด้านเงินหรืองบประมาณ 3. ปัญหาด้านวัสดุอุปกรณ์ 4. ปัญหาด้านการจัดการ ได้แก่ ปัญหาความคาดหวังด้านอาชีพ 3) อัตลักษณ์ของนักศึกษาโครงการครูพันธุ์บึง มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ต้องการให้นักศึกษามีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นในด้านไฮ-ทัช (Hi touch) คือ มีความรู้ในด้านเกษตรกรรม งานช่าง งานด้านวิชาการ สอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และไฮ-เทค (High Technology) คือ มีความรู้ด้านเทคโนโลยี The purposes of this qualitative research were to 1) study the process and guideline for development of Bueng generation’s teachers at Muban Chombueng Rajabhat University, 2) study the state of problem and threat happened in the Bueng generation’s teachers at Muban Chombueng Rajabhat University and 3) find the identity of Bueng generation’s students at Muban Chombueng Rajabhat University. The 18 key informants who were divided into 4 groups; experts, administrators, teachers and students participated in this project. The data was collected by using documental, participant observation and in-thestructured interviews. The qualitative data was investigated by using triangulation method and the research finding was presented in the descriptive research. The results of this study were found as follow; 1) Process and guideline for development of Bueng generation’s teachers at Muban Chombueng Rajabhat University consisted of budget, curricula and admission. 2) Problem and threat in this project found that 2 problems consisted of personnel, welfare and career, i.e. accommodation welfare, internet searching and career expectation. 3) The identity of Bueng generation’s students at Muban Chombueng Rajabhat University wereHi-Touch, Hi-Tech, smart language, versatility knowledge and self actualization for teachers.
Description: 55601332 ; สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน -- สุภาภรณ์ ผู้ผึ้ง
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/523
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55601332 สุภาภรณ์ ผู้ผึ้ง.pdf7.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.