Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5362
Title: | The Development of learning management using problem based learning approach with Team Games Tournament technique to develop mathematics problems solving ability of third grade students การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับเทคนิคเกมการแข่งขันเป็นทีม เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 |
Authors: | Kanlayawan BUNPREECHA กัลยาวรรณ บุญปรีชา Siriwan Vanichwatanavorachai ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย Silpakorn University Siriwan Vanichwatanavorachai ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย wantoo_@hotmail.com wantoo_@hotmail.com |
Keywords: | การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เทคนิคเกมการแข่งขันเป็นทีม ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ Problem based Learning Team Games Tournament technique Mathematical problem solving |
Issue Date: | 22 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purposes of this research were 1) to compare the learning outcomes before and after learning with problem-based learning integrated with team competition game techniques. 2) to compare the mathematical problem-solving abilities of third grade students before and after learning with problem-based learning integrated with team competition game techniques. 3) to investigate student satisfaction towards learning management by using learning activity based on problem based learning and team games tournament technique to enhance the mathematics problem-solving abilities of third grade students. The sample of this research were 40 students of third grade students in the semester 2 of academic year 2021 at Watraikhing School. The tools used in this research consisted of 1) the mathematics problem-solving learning management plans by using learning activity based on problem based learning and team games tournament technique. 2) the learning achievement tests. 3) a mathematics problem-solving abilities test. and 4) user satisfaction survey. The data were analyzed by mean (M) , standard deviation (S.D.), t-test dependent and content analysis.
The results of this research were as follow
1) The learning outcomes of third grade students after being taught by using learning activity based on problem based learning and team games tournament technique were higher than before learning with the statistical significant at the 0.5 level.
2) The mathematics problem-solving ability of third grade students using learning activity based on problem based learning and team games tournament technique had post-test scoreshigher than the pre-test scores with statistical significance at the .05 level.
3) The overall level of third grade student's satisfaction towards the learning activity based on problem based learning and team games tournament technique was at a high level. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเกมการแข่งขันเป็นทีม 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเกมการแข่งขันเป็นทีมก่อนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเกมการแข่งขันเป็นทีม ตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวนนักเรียน 40 คน โรงเรียนวัดไร่ขิง(สุนทรอุทิศ) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเกมการแข่งขันเป็นทีม 2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียน 3)แบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเรียน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติร้อยละ (%), ค่าเฉลี่ย (M) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t-test Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการเรียนรู้หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเกมการแข่งขันเป็นทีมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเกมการแข่งขันเป็นทีมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคเกมการแข่งขันเป็นทีมหลังเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5362 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
620620059.pdf | 10.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.