Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5431
Title: | THE DEVELOPMENT OF CREATIVE WRITING ABILITIES OF MATTHAYOMSUEKSA 1 STUDENTS USING SYNECTICS LEARNING WITH THINK-PAIR-SHARE TECHNIQUE การพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบซินเนคติกส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด |
Authors: | Autjima PHAOJINDA อัจจิมา เผ่าจินดา Busaba Buasomboon บุษบา บัวสมบูรณ์ Silpakorn University Busaba Buasomboon บุษบา บัวสมบูรณ์ BUASOMBOON_B@SU.AC.TH BUASOMBOON_B@SU.AC.TH |
Keywords: | เขียนเชิงสร้างสรรค์ การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซินเนคติกส์ เทคนิคเพื่อนคู่คิด CREATIVE WRITING SYNECTICS LEARNING THINK-PAIR-SHARE TECHNIQUE |
Issue Date: | 22 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purposes of this research were 1) compare the creative writing ability of Matthayomsuksa 1 students before and after learning by using the synectics learning and think-pair-share technique and 2) study the opinions of Matthayomsuksa 1 students toward learning by using the synectics learning and think-pair-share technique. The sample consisted of 29 students form matthayomsuksa 1 who are studying thai language subject TH21101, semester 1 in academic year 2024 at huaysaiprachasan School. by using simple random sampling.
The research instruments were 1) the synectics learning andthink-pair-share plans. There are 3 plans, each plan uses 4 hours, total on 12 a creative hours. 2) the creative writing ability test and 3) a questionnaire on the students’ opinions towards the synectics learning and think-pair-share. The data was analyzed by mean, standard deviation, and dependent samples t-test
The results of this study revealed that :
The students’ creative writing ability after using the synectics learning and think-pair-share technique were significantly higher than before using the synectics learning and think-pair-share technique at a .05 level.
The students’ overall opinions towards the synectics learning and think-pair-share technique were at the high agreement level. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซินเนคติกส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซินเนคติกส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด กลุ่มตัวอย่างการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 29 คน โรงเรียนห้วยทรายประชาสรรค์ ที่เรียนในวิชาภาษาไทย ท21101 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบซินเนคติกส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด จำนวน 3 แผน แผนละ 4 คาบ รวมทั้งสิ้น 12 คาบ 2) แบบทดสอบความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ และ3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบซินเนคติกส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และทดสอบค่าที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) สรุปผลการวิจัย 1. ความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซินเนคติกส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซินเนคติกส์ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด ในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5431 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
650620029.pdf | 8.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.