Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/544
Title: อนาคตของโรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย
Other Titles: THE FUTURE OF QUEEN COLLEGE
Authors: กาจันทร์, ศิวพร
Kajan, Siwaphorn
Keywords: อนาคต
โรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย
THE FUTURE
QUEEN COLLEGE
Issue Date: 3-Aug-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประวัติ ความเป็นมาและสภาพปัจจุบันของโรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย 2) อนาคตของโรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาตัวแปรเกี่ยวกับการบริหารการศึกษาของโรงเรียนบรมราชินีนาถ ราชวิทยาลัย 2) วิเคราะห์ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับอนาคตของโรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัยตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 3) รายงานผลการวิจัย ผู้วิจัยใช้เทคนิควิธีวิจัย EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) และใช้โรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัยเป็นหน่วยวิเคราะห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถาม ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าฐานนิยม ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. โรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย เป็นโรงเรียนที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ เป็นโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียน เฉลิมพระเกียรติ และเป็นโรงเรียนที่มีลักษณะประจำแบบสหศึกษา เดิมชื่อโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ราชบุรี ใช้สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน คือ พระเกี้ยว ต่อมาได้รับพระราชทานชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนบรมราชินีนาถ ราชวิทยาลัย”และได้รับพระราชทานตราสัญลักษณ์เฉลิมพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษา ให้เป็นสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ และโรงเรียนเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นจากการที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติและวางศิลาฤกษ์อาคารหอประชุมโรงเรียน โดยในช่วงแรกโรงเรียนยังขาดอัตรากำลังจึงได้รับความอนุเคราะห์ครู อาจารย์จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษามาช่วยสอน และเป็นพี่เลี้ยงให้บุคลากรของโรงเรียนทางด้านวิชาการ ทำให้ในช่วงแรกโรงเรียนมีความเข้มแข็งทางด้านวิชาการมาก ในปัจจุบันมีการพัฒนาของโรงเรียนคู่แข่งมากขึ้น ทำให้โรงเรียนต้องเร่งพัฒนาในทุกด้านเพื่อเตรียมรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น 2. ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับอนาคตของโรงเรียนบรมราชินีนาถ ราชวิทยาลัย มีทั้งหมด 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) บริบทของโรงเรียนด้านกายภาพ 2) บริบทด้านอื่นๆ ของโรงเรียน 3) หน่วยงานต้นสังกัด 4) โรงเรียน/สถานศึกษา 5) ผู้บริหาร 6) ครูและบุคลากรทางการศึกษา และ 7) การบริหารจัดการในอนาคต โดยมีค่ามัธยฐานตั้งแต่ 3.5 ขึ้นไป มีค่าความสอดคล้อง (ค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์) อยู่ในช่วง 0.25 -1.0 และค่าความแตกต่างระหว่างมัธยฐานกับฐานนิยม อยู่ในช่วง 0 – 0.50 The Objectives of this research were to determine 1) the history and the current status of The Queen College 2) the future of The Queen College. The methods and procedures of this thesis were to 1) study factors that can relate to the administration of The Queen College 2) analyze factors that can relate to the Future of The Queen college by referring from the opinion of the experts and 3) reported research by using EDFR techniques (Ethnographic Delphi Futures Research). The unit of analysis was Queen college. The instrumentation used to collect data were semi-structure interview and questionnaire. Key informants were 19 experts. The statistics used in this research were Mode, Median, Interquartile range and content analysis . It was found that 1. The Queen College was built for a specific purpose that was to celebrate to H.M. The Queen Sirikit. This school is type of coeducation which carries on boarding school at the same time. At first, it was named as Triam Udom Suksa Ratchaburi School and used “Prakiaw” school brand which resembled the highest tier of the Royal Crown to be school brand. For celebrated 60 years anniversaries of the Queen Sirikrit, it was changed the name as The Queen College and was also changed new school brand. The school was famous after The Queen Sirikrit herself participated in School Grand Opening and Foundation Stone Laying Ceremony. Formerly, the school was lack of manpower. Then, it got assistance from Triam Udom Suksa School’s teachers. They came to help teaching and were mentors of school staff in academic side; therefore the school became very strong in academic. At the present, due to the development of other competitor schools, the school has to be urged and prepared in every side in order to deal with alteration that is going to occur. 2. The jury of expert opinion according, the seven factors related to the future of The Queen College were 1) The physical context of school 2) other contexts of school 3) original affiliation 4) school 5) administrator 6) teacher and educational personnel 7) the administrative approach and management in the future. The median values was 3.5 and above. It was related with the expert’s opinion, interquartile range were 0.25 - 1.0, and difference between mode and median were 0 - 0.50.
Description: 55252939 ; สาขาวิชาการบริหารการศึกษา -- ศิวพร กาจันทร์
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/544
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55252939 นางศิวพร กาจันทร์.pdf8.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.