Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5440
Title: | THE DEVELOPMENT CREATIVE INNOVATION ABILITY OF FOURTH-GRADE STUDENTS TAUGHT BY PROJECT-BASED LEARNING AND GROUP INVESTIGATION การพัฒนาความสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับเทคนิคกลุ่มสืบค้น |
Authors: | Baiyok SAETAN ใบหยก แซ่ตัน Krissada Worapin กฤษฎา วรพิน Silpakorn University Krissada Worapin กฤษฎา วรพิน worapin_k@hotmail.com worapin_k@hotmail.com |
Keywords: | การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับเทคนิคกลุ่มสืบค้น ความสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรม project-based learning and group investigation creative innovation ability |
Issue Date: | 5 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | This research aims to 1) compare the academic achievement in Science and Technology on the topic of Materials and Substances among Grade 4 students before and after implementing taught project-based learning and group investigation 2) examine the creative innovation ability of Grade 4 students after learning through project-based learning and group investigation and 3) assess students’ opinions toward this teaching approach. The sample consisted of 27 Grade 4 students from Anubannongsaeng School, Semester 1, Academic Year 2024. The research tools included. 1) a project-based learning and group investigation plan on Materials and Substances, 2) a Science and Technology achievement test, 3) an innovative creativity assessment, and 4) a student opinion questionnaire. Data were analyzed using mean (M), standard deviation (SD), and dependent t-test.
The research findings showed that:
1) The post-learning academic achievement of Grade 4 students in Science and Technology on Materials and Substances was significantly higher than their pre-learning scores at the .05 level.
2) The students’ innovative creativity after the intervention was rated at a good level.
3) The students’ opinions on the project-based learning and group investigation were highly positive. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่องวัสดุและสสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับเทคนิคกลุ่มสืบค้น 2) ศึกษาความสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังการได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับเทคนิคกลุ่มสืบค้น และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับเทคนิคกลุ่มสืบค้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนอนุบาลหนองแสง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 27 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับเทคนิคกลุ่มสืบค้น เรื่องวัสดุและสสาร 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่องวัสดุและสสาร 3) แบบประเมินความสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรม และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย (M) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบหาค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent)) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์รายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่องวัสดุและสสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับเทคนิคกลุ่มสืบค้น สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังการได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับเทคนิคกลุ่มสืบค้น อยู่ในระดับดี 3. ความคิดเห็นของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับเทคนิคกลุ่มสืบค้น อยู่ในระดับมาก |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5440 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
650620109.pdf | 6.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.