Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5475
Title: Control and Healing, the Transubstantiation of Contemporary Prison Architecture
การควบคุมและการเยียวยา การแปรสภาพของสถาปัตยกรรมเรือนจำร่วมสมัย
Authors: Nuttapong CHANTRAWATANA
ณัฏฐพงศ์ จันทร์วัฒนะ
Tonkao Panin
ต้นข้าว ปาณินท์
Silpakorn University
Tonkao Panin
ต้นข้าว ปาณินท์
tonkao@su.ac.th
tonkao@su.ac.th
Keywords: เรือนจำ, โรงพยาบาล, วัตถุประสงค์, การควบคุม, การบำบัด
Prison Hospital Objective Control Healing
Issue Date:  4
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Prison is an architectural concept that is understood as a space and a building used for the punishment of convicted offenders. In the past, the purpose of prisons was to instill fear through punishment focused on inflicting pain (corporal punishment), humiliation, and confinement, with minimal basic necessities to sustain human life within society. A significant change in the prison system occurred around the 18th century when a new philosophy of punishment was introduced, emphasizing the limitation of freedom through controlled spaces that considered human rights. The interpretation of this philosophy in penal design revealed similarities with the design principles used in hospitals during the same period. This thesis focuses on studying the relationship between control and Healing spaces through a case study of prisons and hospitals, utilizing a historical survey method to analyze the objectives of the design principles in terms of control and healing. Purposive sampling was employed to compare spatial organization methods for control and healing between prisons and hospitals, aiming to understand the relationship between control and healing spaces and their influence on the proposed design ideas for contemporary prisons. The study discovered eight different patterns of relationships between the spatial organization and the possible objectives of prisons and hospitals. These patterns varied in intensity and were influenced by different design philosophies and techniques used within different spatial contexts. Furthermore, it was found that the relationship between control and healing spaces could be interchanged, transformed, and diversified in order to create new options for designing spaces that serve the purposes of control and healing. This led to transubstantiation of the contemporary prison spaces, which differ from those of the 18th century. Additionally, the patterns of control and healing relationships could be applied to other types of spaces or architectures with similar objectives.
เรือนจำ เป็นคำนิยามของสถาปัตยกรรมที่เข้าใจกันว่าเป็นพื้นที่และอาคารที่ใช้ในการลงโทษผู้กระทำความผิดที่ถูกตัดสิน วัตถุประสงค์ของเรือนจำในอดีตถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความหวาดกลัวด้วยการลงโทษที่มุ่งเน้นการสร้างความเจ็บปวด (Corporal Punishment) ความอับอาย และการกักขังตัวผู้กระทำความผิดด้วยการกำหนดให้มีพื้นฐานความต้องการขั้นที่ต่ำที่สุดเพื่อรองรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ภายใต้สังคมนั้น ๆ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของระบบเรือนจำครั้งสำคัญนั้น เกิดขึ้นราวช่วงศตวรรษที่ 18 ด้วยการเสนอปรัชญาการลงโทษใหม่ด้วยการจำกัดอิสรภาพภายใต้การสร้างพื้นที่ควบคุมด้วยการคำนึงถึงสิทธิความเป็นมนุษย์มากขึ้น การตีความถึงปรัชญาที่ส่งผลต่อการลงโทษเพื่อให้เกิดการสำนึก หรือความเหมาะสมด้านต่าง ๆ กับผู้กระทำความผิด สร้างอิทธิพลต่อการกำหนดแนวคิดการจัดระเบียบเชิงพื้นที่ของสถาปัตยกรรม ที่มีรูปแบบของการกำหนดพื้นที่เพื่อควบคุมร่วมกับพื้นที่เพื่อใช้ในการบำบัดรักษา ซึ่งผลลัพธ์ของการใช้แนวคิดดังกล่าวในการออกแบบเรือนจำพบว่า ยังมีส่วนคล้ายคลึงกับแนวคิดที่ใช้ในการออกแบบโรงพยาบาลในช่วงเวลาเดียวกัน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งเน้นการศึกษาความสัมพันธ์ของแนวคิดระหว่างพื้นที่ควบคุมและบำบัดรักษาภายใต้กรณีศึกษาของเรือนจำและโรงพยาบาล ด้วยวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ (Historical Survey) เพื่อวิเคราะห์วัตถุประสงค์ของแนวความคิดที่ส่งผลต่อการจัดระเบียบเชิงพื้นที่ในแง่ของการควบคุมและการบำบัดรักษา ที่มีผลต่อผู้ใช้งานภายใต้พื้นที่ดังกล่าว และใช้การกำหนดกรณีศึกษาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เพื่อนำมาใช้เปรียบเทียบวิธีการจัดระเบียบเชิงพื้นที่เพื่อใช้ในการควบคุมและการบำบัดรักษาระหว่างเรือนจำและโรงพยาบาลเพื่อทำความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของวัตถุประสงค์ร่วมระหว่างพื้นที่ควบคุมและบำบัดรักษาที่ส่งผลต่อการเสนอแนวความคิดในการสร้างพื้นที่ของเรือนจำร่วมสมัย จากการศึกษาพบว่าความสัมพันธ์ของการจัดระเบียบเชิงพื้นที่ และความเป็นไปได้ในวัตถุประสงค์ร่วมระหว่างพื้นที่การควบคุมและการบำบัดของเรือนจำกับโรงพยาบาล มีรูปแบบของความสัมพันธ์ทั้งหมด 8 รูปแบบ ที่ปรากฎความเข้มข้นและเบาบางด้วยแนวความคิดและเทคนิคที่ใช้ร่วมภายใต้พื้นที่ที่แตกต่างกันออกไป อีกทั้งยังพบว่าภายใต้ความสัมพันธ์ของพื้นที่ควบคุมคุมและบำบัดรักษา สามารถนำเอาแนวความคิดและเทคนิคของแต่ละรูปแบบมาสลับ สับเปลี่ยน เคลื่อนที่รูปแบบเพื่อให้เกิดทางเลือกใหม่ในการกำหนดพื้นที่เพื่อควบคุมและบำบัดรักษาภายใต้การใช้งานตามวัตถุประสงค์ จนเกิดการแปรสภาพของพื้นที่เรือนจำร่วมสมัยในปัจจุบันที่มีความแตกต่างจากช่วงศตวรรษที่ 18 และยังสามารถนำเอารูปแบบความสัมพันธ์ของการควบคุมและการบำบัดรักษาไปปรับใช้กับพื้นที่หรือสถาปัตยกรรมประเภทอื่น ๆ ที่มีการกำหนดวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกัน
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5475
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630230003.pdf20.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.