Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5488
Title: | The Intellectual of Thai Traditional Embroidery to the Creation of Thai Contemporary Fashion มรดกภูมิปัญญาหัตถศิลป์ผ้าปักโบราณ สู่การสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายร่วมสมัย |
Authors: | Jiratchaya WANCHAN จิรัชญา วันจันทร์ Anucha Pangkesorn อนุชา แพ่งเกษร Silpakorn University Anucha Pangkesorn อนุชา แพ่งเกษร PANGKESORN_A@su.ac.th PANGKESORN_A@su.ac.th |
Keywords: | หัตถศิลป์ผ้าปักโบราณของไทย / งานฝีมือแบบดั้งเดิม / เครื่องแต่งกายร่วมสมัย Thai traditional embroidery / Craftsmanship / Contemporary costume design |
Issue Date: | 22 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | This mixed methods research studied 1) knowledge of inheritance and identity of Thai traditional embroidery (TTE); 2) belief prolonging the reputation of TTE craftsmanship; and
3) contemporary costume design inspired by unique TTE meeting consumer demand. Qualitative data was collected by in-depth interviews and focus group discussions and quantitative data was gathered by questionnaire. 400 samples were aged from 21 to 60. Data was analyzed by percentage, mean, and standard deviations.
Results were that guidelines for designing and creating contemporary clothing by combining intangible cultural elements combined the identity of ancient Thai embroidery fabric handicrafts, fine art as a high-level science, traditionally valuable, exquisite, and beautiful and changes in concepts, attitudes, beliefs and feelings towards the image of ancient, embroidered fabric handicrafts in Thai society. Together with tangible culture, aesthetics design elements included shape, form, color, texture, space, volume and embroidery details.
Using the trickle-down theory of fashion and cultural evolution, contemporary creativity emphasizes applying traditional cultural capital through contemporary design that coheres with consumer lifestyle, behavior, tastes, culture, and needs in today’s social context.
The 3Cs S Factors revealed four elements: 1) cultural capital; 2) continuation;
3) creation of additional commercial value; and 4) cultural sustainability by applying cultural capital to create economic value creation in the fashion industry and achieve sustainability.
These findings suggest that knowledge of TTE craftsmanship may be preserved and transmitted by changing conceptually, reinterpreting according to the context of evolving Dhamma culture which follows consumer attitudes in contemporary society. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) องค์ความรู้มรดกภูมิปัญญา และอัตลักษณ์ของหัตถศิลป์ ผ้าปักโบราณ 2) แนวคิด ทัศนคติ ความเชื่อ ความรู้สึกต่อภาพลักษณ์ของงานหัตถศิลป์ผ้าปักโบราณ 3) ออกแบบ เครื่องแต่งกายร่วมสมัย ผ่านอัตลักษณ์หัตถศิลป์ผ้าปักโบราณ ตามแนวทางความต้องการของผู้บริโภค โดยการวิจัยนี้ ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบการวิจัยเชิงผสมผสาน (mixed methodology) การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการ สัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มย่อย และข้อมูลเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลใช้เครื่องมือแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง อายุ 21 - 60 ปี จำนวน 400 คน นำมาวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อนำมาออกแบบสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายร่วมสมัย ผลจากการวิจัยพบว่า แนวทางในการออกแบบสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายร่วมสมัย โดยการผสมผสานของ องค์ประกอบทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (intangible) อัตลักษณ์หัตถศิลป์ผ้าปักโบราณของไทย งานประณีตศิลป์ ที่เป็นศาสตร์ชั้นสูง ทรงคุณค่า วิจิตรบรรจง งดงามตามแบบดั้งเดิม การเปลี่ยนแปลงของแนวคิด ทัศนคติ ความเชื่อ ความรู้สึกต่อภาพลักษณ์ของงานหัตถศิลป์ผ้าปักโบราณในสังคมไทย ร่วมกับวัฒนธรรมที่จับต้องได้ (tangible) ด้านสุนทรียศาสตร์องค์ประกอบด้านการออกแบบ ได้แก่ รูปร่าง รูปทรง สี พื้นผิว พื้นที่ว่าง ปริมาตร และ รายละเอียดการปักตกแต่ง โดยใช้ทฤษฎีแนวดิ่ง (Trickle-down theory) และแนวคิดวัฒนธรรมวิวัฒนา (cultural volution) ในการออกแบบสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายร่วมสมัย ที่ประยุกต์ใช้ทุนทางวัฒนธรรมดั้งเดิมผ่าน การออกแบบร่วมสมัยที่สอดคล้องด้านวัฒนธรรมการดำเนินชีวิต พฤติกรรม รสนิยม ความต้องการของผู้บริโภค ในบริบทสังคมปัจจุบัน การวิจัยนี้ได้ค้นพบ องค์ประกอบปัจจัย “3Cs S” องค์ประกอบ 4 ด้าน คือ 1) ทุนวัฒนธรรม 2) การสืบสาน 3) การสร้างมูลค่าเพิ่ม และ4) ความยั่งยืนทางวัฒนธรรม โดยการประยุกต์ใช้ทุนทางวัฒนธรรม เป็นแนวทางการขับเคลื่อน การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมแฟชั่น เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ข้อค้นพบดังกล่าว นำมาทดสอบการสร้างสรรค์ผลงานเครื่องแต่งกายร่วมสมัย เพื่อนำเสนอและ ตรวจสอบสมมติฐานที่กำหนด ผลสรุปว่า องค์ความรู้หัตถศิลป์ผ้าปักโบราณ สามารถสืบสาน ส่งต่อองค์ความรู้ได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่ ตีความใหม่ไปตามบริบทของวัฒนธรรมวิวัฒนาอย่างสอดคล้อง ตามทัศนคติ ของผู้บริโภคในสังคมร่วมสมัย |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5488 |
Appears in Collections: | Decorative Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
630430027.pdf | 14.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.