Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5502
Title: | MAN AND WATER MONITOR: THE STUDY OF CULTURAL LANDSCAPES ANDMYTHOLOGIES TO CREATIVE DESIGNS FOR COMMUNITY AWARENESSA CASE STUDY OF BANG HIA AREA SAMUTPRAKAN PROVINCE คนกับเหี้ย: การศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมและมายาคติสู่การออกแบบสร้างสรรค์เพื่อการตระหนักรู้ของท้องถิ่นกรณีศึกษาพื้นที่บางเหี้ย จังหวัดสมุทรปราการ |
Authors: | Arnon PROMSIRI อานนท์ พรหมศิริ Anucha Pangkesorn อนุชา แพ่งเกษร Silpakorn University Anucha Pangkesorn อนุชา แพ่งเกษร PANGKESORN_A@su.ac.th PANGKESORN_A@su.ac.th |
Keywords: | เหี้ย บางเหี้ย ภูมิทัศน์วัฒนธรรม มายาคติ การตระหนักรู้ Water Monitor Bang Hia Cultural Landscapes Mythologies |
Issue Date: | 22 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | This research aims to 1) Study the cultural landscape between man and water monitors in Bang Hia from past to present, including myths at both the Thai societal and local levels. 2) Analyze and synthesize data to create content that fosters understanding of myths, establishes ecological systems, and develops creative districts connecting business opportunities between man and water monitors. 3) Design creative projects to elevate Bang Hia as a creative economy community and promote sustainable development.
A mixed-methods approach was used. Qualitative data were gathered through interviews with community leaders, local scholars, religious leaders, and entrepreneurs, as well as observations of the behaviors of traditional residents and younger generations (Generation Y-Z). Quantitative data were collected from 370 respondents via surveys. The findings were analyzed to design initiatives for creative community development and awareness-building.
Traditional residents feel a loss of cultural heritage, while younger generations see opportunities for creativity and community development. Both groups share concerns about preserving cultural identity. Myths about water monitors significantly affect human-animal relationships in the area. The study developed activities to link man and water monitors, fostering awareness, promoting the creative economy, and preserving culture. It also emphasized creating a balanced ecosystem and addressing business needs across generations. Recommendations include studying social impacts, countering negative myths, building community-academic-business networks, and using the “Bang Hia Model” to promote cultural and environmental awareness for sustainable development. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมระหว่างมนุษย์ และเหี้ยในพื้นที่บางเหี้ย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมถึงการทำความเข้าใจมายาคติในระดับสังคมไทยและท้องถิ่น 2) วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปสร้างสรรค์เนื้อหาที่ส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับมายาคติ สร้างสมดุลในระบบนิเวศ และพัฒนาย่านสร้างสรรค์ที่เชื่อมโยงโอกาสทางธุรกิจระหว่างคนกับเหี้ย 3) ออกแบบโครงการสร้างสรรค์เพื่อยกระดับบางเหี้ยให้เป็นชุมชนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน วิจัยนี้ใช้วิธีการแบบผสมผสาน โดยเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพผ่านการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้นำศาสนา และผู้ประกอบการ พร้อมทั้งการสังเกตพฤติกรรมของคนดั้งเดิม และคนรุ่นใหม่ (Generation Y-Z) ควบคู่กับการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 370 คนในพื้นที่ จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และสังเคราะห์เพื่อออกแบบแนวทางพัฒนาชุมชนในเชิงสร้างสรรค์ และเสริมสร้างความตระหนักรู้ในชุมชน ผลการวิจัยเผยให้เห็นว่า คนในชุมชนบางเหี้ยรู้สึกว่าวัฒนธรรมดั้งเดิมกำลังสูญหาย ขณะที่คนรุ่นใหม่มองว่านี่คือโอกาสในการสร้างสรรค์ และพัฒนาชุมชน แม้ทั้งสองกลุ่มจะมีความกังวลเกี่ยวกับการสูญเสียเอกลักษณ์ และมรดกทางวัฒนธรรม แต่การรับรู้ และมายาคติเกี่ยวกับ “เหี้ย” ยังคงมีบทบาทสำคัญต่อความเข้าใจ และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ในพื้นที่ งานวิจัยได้ออกแบบกิจกรรมที่ส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างคนกับเหี้ย เพื่อสร้างความตระหนักรู้ สนับสนุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิม นอกจากนี้ยังเน้นย้ำถึงการสร้างสมดุลในระบบนิเวศ พร้อมทั้งพัฒนาโอกาสทางธุรกิจที่ตอบโจทย์ความต้องการของทั้งคนรุ่นเก่า และรุ่นใหม่ ข้อเสนอแนะควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบทางสังคม และวัฒนธรรมที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในบทบาทของเหี้ยในระบบนิเวศ และวัฒนธรรมท้องถิ่น ตลอดจนแก้ไขมายาคติเชิงลบ ทั้งนี้ควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างชุมชน นักวิชาการ และภาคธุรกิจ เพื่อพัฒนากิจกรรมการออกแบบที่สร้างสรรค์ และสนับสนุนการเรียนรู้เชิงบูรณาการผ่าน “บางเหี้ยโมเดล” เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในด้านวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมแก่เยาวชน ตอบสนองความต้องการของชุมชนอย่างสมดุล และขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5502 |
Appears in Collections: | Decorative Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
640430043.pdf | 20.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.