Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5517
Title: | The Structural Equation Model Analysis of Participatory Management,Organizational Identity, and Innovative Organization in King Vajiravudh and Princess Bejaratana Educational Institutes Network การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างความสัมพันธ์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วม อัตลักษณ์องค์กร และความเป็นองค์กรนวัตกรรมของภาคีเครือข่ายสถาบันการศึกษาในรัชกาลที่ 6 และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี |
Authors: | Sirada PROMTHEP ศิรดา พรมเทพ Vorakarn Suksodkiew วรกาญจน์ สุขสดเขียว Silpakorn University Vorakarn Suksodkiew วรกาญจน์ สุขสดเขียว jee1199@yahoo.com jee1199@yahoo.com |
Keywords: | การบริหารแบบมีส่วนร่วม อัตลักษณ์องค์กร ความเป็นองค์กรนวัตกรรม Participatory management Organizational identity Organizational innovation |
Issue Date: | 22 |
Publisher: | Silpakorn University |
Abstract: | The purposes of this research : 1) To identify the components of participatory management in the network of educational institutions established by King Vajiravudhand Princess Bejaratana Educational Institutes Network; 2) To determine the components of organizational identity within the same network; 3) To explore the elements of organizational innovation in this network; and 4) To analyze the structural relationships among participatory management, organizational identity, and organizational innovation using a structural equation model. The research was conducted in four phases: 1) Identifying research variables; 2) Developing research instruments; 3) Collecting and analyzing data; and 4) Designing and analyzing the structural equation model. A total of 285 participants from 19 affiliated schools provided data through semi-structured interviews and questionnaires. The statistical analyses included frequency, percentage, mean, standard deviation, exploratory factor analysis, confirmatory factor analysis, and structural equation modeling.
The findings of this study were as followes:
1. Participatory management in the network of educational institutions established by King Rama VI and Her Royal Highness Princess Phetchadarasri Sirosophapand consisted of seven components and 72 variables, including: 1) Enhancing participation effectiveness; 2) Community support and involvement; 3) Participatory management strategies; 4) Participation in management by personnel and stakeholders; 5) Leadership in participation; 6) Creating a culture of participation; and 7) Participatory management processes.
2. The organizational identity of the network schools consisted of four components: 1) Image; 2) Reputation; 3) Trust; and 4) Loyalty. These findings were consistent with empirical evidence.
3. The seven components of organizational innovation identified in the network of schools established by King Rama VI and Her Royal Highness Princess Phetchadarasri Sirosophapand were: 1) Strategy; 2) Structure; 3) Systems; 4) Management practices; 5) Personnel; 6) Shared values; and 7) Skills. These findings were supported by empirical evidence.
4. The structural equation modeling revealed that participatory management, organizational identity, and organizational innovation were significantly correlated. Participatory management had a direct, albeit non-significant, influence on both organizational identity and organizational innovation. However, participatory management had an indirect, significant influence on organizational innovation through organizational identity. Organizational identity also had a direct, significant influence on organizational innovation. Together, these variables could account for 89% of the variance in organizational innovation. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) องค์ประกอบของการบริหารแบบมีส่วนร่วมของเครือข่ายสถาบันการศึกษาในรัชกาลที่ 6 และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี 2) องค์ประกอบของอัตลักษณ์องค์กรของเครือข่ายสถาบันการศึกษาในรัชกาลที่ 6 และพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี 3) องค์ประกอบของความเป็นองค์กรนวัตกรรมของเครือข่ายสถาบันการศึกษาในรัชกาลที่ 6 และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี 4) ผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างความสัมพันธ์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วม อัตลักษณ์องค์กรและความเป็นองค์กรนวัตกรรมของเครือข่ายสถาบันการศึกษาในรัชกาลที่ 6 และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 4 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 ศึกษาตัวแปรที่เกี่ยวข้องในงานวิจัย ขั้นที่ 2 การสร้างและพัฒนาเครื่องมือในการวิจัย ขั้นที่ 3 การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล และขั้นที่ 4 การออกแบบและ วิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนภาคีเครือข่ายสถาบันการศึกษาในรัชกาลที่ 6 และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี จำนวน 19 โรง มีผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 15 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูผู้สอนและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมจำนวนทั้งสิ้น 285 คน และใช้ผู้ให้ข้อมูลเป็นหน่วยวิเคราะห์เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนภาคีเครือข่ายสถาบันการศึกษาในรัชกาลที่ 6 และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ 72 ตัวแปร คือ 1) การเพิ่มประสิทธิภาพของการมีส่วนร่วม 2) การสนับสนุนและการมีส่วนร่วมของชุมชน 3) กลยุทธ์การบริหารแบบมีส่วนร่วม 4) การมีส่วนร่วมในการบริหารของบุคลากรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 5) ภาวะผู้นำการมีส่วนร่วมของผู้บริหาร 6) การสร้างวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม และ 7) กระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วม 2. องค์ประกอบอัตลักษณ์องค์กรของโรงเรียนภาคีเครือข่ายสถาบันการศึกษาในรัชกาลที่ 6 และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทั้ง 4 องค์ประกอบ คือ 1) องค์ประกอบภาพลักษณ์ 2) ชื่อเสียง 3) ความไว้วางใจ และ 4) ความจงรักภักดี มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3. องค์ประกอบความเป็นองค์กรนวัตกรรมของโรงเรียนภาคีเครือข่ายสถาบันการศึกษาในรัชกาลที่ 6 และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทั้ง 7 องค์ประกอบ คือ 1) ด้านกลยุทธ์ 2) ด้านโครงสร้าง 3) ระบบ 4) รูปแบบการบริหารจัดการ 5) บุคลากร 6) ค่านิยมร่วม และ 7) ทักษะ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 4. โมเดลสมการโครงสร้างความสัมพันธ์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วม อัตลักษณ์องค์กร และความเป็นองค์กรนวัตกรรมของภาคีเครือข่ายสถาบันการศึกษาในรัชกาลที่ 6 และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การบริหารแบบมีส่วนร่วม และอัตลักษณ์องค์กร มีอิทธิพลต่อความเป็นองค์กรนวัตกรรมของเครือข่ายสถาบันการศึกษาในรัชกาลที่ 6 และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และสามารถร่วมกันพยากรณ์ความเป็นองค์กรนวัตกรรมได้ ร้อยละ 89 โดยที่การบริหารแบบมีส่วนร่วม มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความเป็นองค์กรนวัตกรรมโดยส่งผ่านอัตลักษณ์องค์กร และอัตลักษณ์องค์กรมีอิทธิพลทางตรงต่อความเป็นองค์กรนวัตกรรม |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5517 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
61252919.pdf | 6.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.