Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/555
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา
Other Titles: DEVELOPMENT OF AN INSTRUCTIONAL MODEL TO ENHANCE CONCEPTS AND MATHEMATICAL PROCESSES FOR ELEMENTARY STUDENTS
Authors: ลภัสภิญโญโชค, ปพนวัจน์
Laphatpinyochok, Paphonwat
Keywords: รูปแบบการเรียนการสอน
มโนทัศน์
กระบวนการทางคณิตศาสตร์
INSTRUCTIONAL MODEL
CONCEPT
MATHEMATICAL PROCESSES
Issue Date: 16-Mar-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยคร้ังนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนการสอน 2)เพื่อ ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนการสอน 3)เพื่อขยายผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยคร้ังนี้เป็ นนักเรียนช้ันประถมศึกษาปี ที่ 5 ที่กา ลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2558 โรงเรียนบ้านหนองยาว สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุพรรณบุรีเขต 3 จ านวน 25 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการขยาย ผลการวิจัยเป็ นนักเรียนช้ันประถมศึกษาปี ที่ 6 ที่กา ลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2558 โรงเรียนบ้านหนองยาว จา นวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ แผนการจัดการเรียนการสอน แบบทดสอบประเมินมโนทัศน์และกระบวนการทางคณิตศาสตร์และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการ เรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ สถิติทีแบบไม่อิสระและการ วิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมมโนทัศน์และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน ระดับประถมศึกษา มีชื่อว่า “ 5P Model ” มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนการ สอน การประเมินผลและปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนการสอนมี 5 ข้ัน คือ 1)ข้ันเตรียมความพร้อม (Preparing : P) 2) ข้ันมีส่วนร่วมในการกา หนดเป้ าหมายในการเรียน: (Participating : P ) 3) ข้ันทบทวนมโนทัศน์และ กระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำ เป็น (Processing :P) 4)ข้ันนา เสนอ มโนทัศน์ใหม่ (Presenting: P) และ 5)ข้ันฝึกปฏิบัติ ให้เกิดความชา นาญ (Practicing : P) โดยที่รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.03/ 81.33 ซึ่ง สูงกว่าเกณฑ์ 80 / 80 ที่กา หนดไว้ 2. หลังเรียนตามรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ส าหรับ นักเรียนระดับประถมศึกษา ( 5P Model) นักเรียนมีมโนทัศน์และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถด้านมโนทัศน์และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมมโนทัศน์และกระบวนการทางคณิตศาสตร์มีพัฒนาการสูงขึ้นจากระดับต่า กว่าเกณฑ์ เป็ นระดับดีเยี่ยม และนักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมากว่านักเรียนและครูได้แสดงบทบาทของตนเองตาม ความต้องการของนักเรียน มีการฝึกปฏิบัติการด้านมโนทัศน์และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ส่งผลให้นักเรียนมีความรู้ ความสามารถด้านมโนทัศน์และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 3. ผลการขยายผล พบว่า หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น นักเรียนมีมโนทัศน์ และกระบวนการทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสามารถด้านมโนทัศน์ และกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมมโนทัศน์และ กระบวนการทางคณิตศาสตร์มีพัฒนาการสูงขึ้นจากระดับต่ำ กว่าเกณฑ์เป็นระดับดีเยี่ยม The purposes of this research were: 1) to develop and to determine the efficiency of The Instructional Model to Enhance Concepts and Mathematical Processes for Elementary Students, 2) to evaluate the effectiveness of the Model, and 3) to disseminate the Model in mathematics classes in elementary schools. The samples used in this research were the 25 fifth-grade students who were studying in the second semester of Academic Year 2015 at Ban Nong Yao School, under the jurisdiction of Suphan Buri Primary Education Service Area 3. The samples used to disseminate were the 26 sixth-grade students studying in the second semester of Academic Year 2015 at Ban Nong Yao School. The research instruments consisted of the Instructional Model which was developed by the researcher, lesson plans, tests on concepts and mathematical processes, and a questionnaire on students’ opinions towards the Instructional Model. Data were analyzed by using mean, standard deviation, percentage, dependent t-test statistics, and a content analysis. The research results found that: 1. The Instructional Model to Enhance Concepts and Mathematical Processes called "5P Model" was consisted of five elements: principle, objective, learning process, evaluation, and learning factors. The learning process has five stages: Preparing , Participating, Processing, Presenting, and Practicing. The efficiency of the Model was 83.03 / 81.33which was higher than required 80/80. 2. After learning the students demonstrated higher scores in the concepts and mathematical processes comparing to the scores obtained before learning. The difference was significant at .05 level. The students could develop their concepts and mathematical processes after receiving the treatment which increased from the low level to the excellent level. In addition, students agreed at a high level that students and teachers could play their roles in learning, they could practice what they learned in concepts and processes which affected their knowledge of the concepts and mathematical processes. 3. The researcher disseminated the implementation of the Model in other mathematics class. The results of the dissemination indicated that the students had scores on the concepts and mathematical processes higher than before learning. The difference of scores between after and before learning was significant at .05 level. After receiving instruction, the students could develop their ability to attain the concepts and mathematical processes which increased from the low level to the excellent level.
Description: 55253905 ; สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน --ปพนวัจน์ ลภัสภิญโญโชค
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/555
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5525390 ปพนวัจน์ ลภัสภิญโญโชค.pdf55253905 ; สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน -- ปพนวัจน์ ลภัสภิญโญโชค11.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.