Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/557
Title: รูปแบบการเสริมพลังเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการเรียนรู้ อย่างมีความสุขของนักเรียนระดับประถมศึกษา
Other Titles: AN EMPOWERMENT MODEL TO DEVELOP INSTRUCTIONAL COMPETENCY OF TEACHERS THAT PROMOTE HAPPINESS LEARNING OF PRIMARY STUDENTS
Authors: รุจิรัตน์, สุดหทัย
Ruchirat, Sudhathai
Keywords: รูปแบบการเสริมพลัง
สมรรถนะการจัดการเรียนรู้
การเรียนรู้อย่างมีความสุข
EMPOWERMENT MODEL
INSTRUCTIONAL COMPETENCY
HAPPINESS LEARNING
Issue Date: 24-Mar-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยคร้ังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเสริมพลังเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของ ครูที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียน 2) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเสริมพลัง เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของ ครู ที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียน ซึ่งประกอบด้วย 2.1) ประเมินผลสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูผู้รับการเสริมพลัง 2.2) ศึกษาพัฒนาการเกี่ยวกับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูผู้รับการเสริมพลัง 2.3) ศึกษาความคิดเห็นของครูผู้รับการเสริมพลัง เกี่ยวกับรูปแบบ การเสริมพลังที่พัฒนาขึ้น 2.4) ศึกษาพัฒนาการความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียน 3) เพื่อขยายผลรูปแบบการเสริมพลังเพื่อพัฒนาสมรรถนะการ จัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นครูผู้สอนระดับ ประถมศึกษา จำนวน 4 คน และนักเรียน 191 คน โรงเรียนดรุณาราชบุรี ปี การศึกษา 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการ เสริมพลังเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนระดับประถมศึกษา คู่มือการใช้รูปแบบฯ แผนการเสริมพลัง แบบประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนระดับประถมศึกษา แบบ ประเมินตนเองของครูที่มีต่อความสามารถในจัดการเรียนรู้ของตนเองที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมการ จัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุข แบบสอบถามความคิดเห็นของครูที่มีต่อรูปแบบการเสริมพลัง แบบบันทึกสะท้อนผลการ เรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียน และแบบประเมินการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการเสริมพลังเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนระดับ ประถมศึกษา มีชื่อว่า “NICE Model” มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ เป็นการเสริมพลังครู ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน ส่งเสริม และสนับสนุนให้แสดงออกซึ่งความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่เป็นพลังในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียน 2) วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู ที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนระดับประถมศึกษา 3) กระบวนการ เสริมพลัง ประกอบด้วย 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สภาพจริงในปัจจุบันและประเมินความต้องการเสริมพลัง (N : Need Analyzing) ระยะ ที่ 2 การวางแผนร่วมกัน (I : Interactive Planning) ระยะที่ 3 การเสริมพลังอย่างต่อเนื่อง (C : Continue Empowering) ซึ่งประกอบด้วย 3.1) สร้าง แรงจูงใจ (Motivating) 3.2) ให้ข้อมูล (Informative) 3.3) เพิ่มพูนความรู้ (Increasing) 3.4) นำสู่การพัฒนา (Developing) ระยะที่ 4 การประเมินผล การเสริมพลัง (E : Evaluating) 4) ปัจจัยสนับสนุนในการนำรูปแบบไปใช้ ซึ่งประกอบด้วย 4.1) ผู้บริหารโรงเรียนเห็นความสำคัญของการเสริม พลัง และให้การสนับสนุนทรัพยากรเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ 4.2) การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู โดยครูมีส่วนร่วม ในทุกข้ันตอน 5) การวัดและประเมินผล ซึ่งประกอบด้วย 5.1) สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของ นักเรียน 3 ด้าน ได้แก่ ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ 5.2) การเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนใน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านคุณลักษณะ ด้าน การเรียนรู้ และด้านสัมพันธภาพ โดยพบว่า รูปแบบการเสริมพลังเพื่อสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของ นักเรียนระดับประถมศึกษาที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมีคุณภาพ 2. ประสิทธิผลของรูปแบบพบว่า 2.1) ครูผู้สอนมีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขอยู่ในระดับดี มี พัฒนาการในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขสูงขึ้น และเห็นว่ารูปแบบการเสริมพลังเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ ของครูที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขมีความเหมาะสม 2.2) นักเรียนมีพัฒนาการของการเรียนรู้อย่างมีความสุขสูงขึ้น 3. ผลการขยายผลรูปแบบพบว่า 3.1) ครูผู้สอนมีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขอยู่ในระดับดี มี พัฒนาการในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขสูงขึ้น และเห็นว่ารูปแบบการเสริมพลังเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ ของครูที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขมีความเหมาะสม 3.2) นักเรียนมีพัฒนาการของการเรียนรู้อย่างมีความสุขสูงขึ้น The objectives of this research were to: 1) develop and determine the quality of the Empowerment Model to Develop Instructional Competency of Teachers that Promote Happiness Learning of Primary Students, 2) evaluate the effectiveness of the Model, and 3) disseminate the Model in primary schools. The samples used in the research were 4 teachers in Darunaratchaburi School of Ratchaburi Diocesans Schools in the Academic Year 2015. The research instruments consisted of the Empowerment Model to Develop Instructional Competency of Teachers that Promote Happiness Learning of Primary Students, Empowerment Model manual, empowerment plan, instructional competency assessment form, self-assessment form, observation form, self-reflection form, happiness learning evaluation form, and the questionnaires about the opinions toward the Empowerment Model. Data were analyzed by mean, standard deviation, and content analysis. The research findings were as follows: 1. An Empowerment Model to Develop Instructional Competency of Teachers that Promote Happiness Learning of Primary Students which was called “NICE Model” consisted of 5 components. The first component was principle which included the empowerment with participation in operational support, enhancement of the expression of knowledge, skills and attitudes that were to encourage the happiness learning of students. The second component was objective which included the enhancement of instructional competency of teachers that promote happiness learning of primary students. The third component was the process of empowerment which consisted of 5 stages: stage 1- Needs Analyzing (N), stage 2- Interactive Planning (I), stage 3- Continue Empowering (C) which were 3.1) Motivating 3.2) Informative 3.3) Increasing 3.4) Developing, and stage 4- Evaluating (E). The fourth component was supporting factor that helped successfully implement the Model which consisted of 4.1) administrators' recognition the importance of empowerment and provided support resources to improve teachers' instructional competency, 4.2) teachers' involvement in every step. The fifth and last component was assessment and evaluation which composed of 5.1) instructional competency which consisted of knowledge, skills and attitudes and 5.2) happiness learning of students in the form of attribute, learning, and relationships. The developed Empowerment Model met necessary requirements, had an acceptable quality, and was appropriate to implement in primary schools. 2. The effectiveness of the Empowerment Model indicated that 2.1) the teachers had instructional competency at the high level, higher development of instructional competency among teachers involved, and 2.2) students showed higher happiness learning. 3. The results of the dissemination indicated that 3.1) the teachers had instructional competency at the high level, higher development of instructional competency among teachers was evidenced, and 3.2) students showed higher happiness learning.
Description: 55253909 ; สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน -- สุดหทัย รุจิรัตน์
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/557
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55253909 สุดหทัย รุจิรัตน์.pdf55253909 ; สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน -- สุดหทัย รุจิรัตน์7.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.