Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/559
Title: การศึกษาผลการเรียนรู้ และทักษะการให้เหตุผลและการนำความรู้ไปใช้ เรื่อง ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
Other Titles: A STUDY OF LEARNING OUTCOMES AND REASONING SKILLS AND NOWLEDGE APPLICATIONS ON ENVIRONMENTAL ISSUES OF MATTHAYOMSUKSA 4 STUDENTS USING PROBLEM BASED LEARNING APPROACH
Authors: เกตุสม, รัตนา
Katesom, Rattana
Keywords: ผลการเรียนรู้
ทักษะการให้เหตุผลและการนำความรู้ไปใช้
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
LEARNING OUTCOMES/REASONING SKILLS AND KNOWLEDGE APPLICATIONS
PROBLEM BASED LEARNING APPROACH
Issue Date: 1-Aug-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ที่ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลอง โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ Pre Experimental Design แบบหนึ่งกลุ่มสอบก่อนเรียนและสอบหลังเรียน (The One – Group Pretest – Posttest Designs) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่องประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) เปรียบเทียบทักษะการให้เหตุผลและการนำความรู้ไปใช้ ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนโพรงมะเดื่อวิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียนทั้งหมด 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม ทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 คาบเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) แบบทดสอบวัดผลเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดทักษะการให้เหตุผลและการนำความรู้ไปใช้ และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.),การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน(t-test dependent) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ เรื่องประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลการเปรียบเทียบทักษะการให้เหตุผลและการนำความรู้ไปใช้ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก The purposes of this research were to: 1) to compare the learning outcomes on the environmental issues of Matthayomsuksa 4 students using problem based learning approach; 2) to compare the reasoning skills and knowledge applications of Matthayomsuksa 4 students using problem based learning approach and 3) to study the opinion of Matthayomsuksa 4 students towards using problem based learning approach. The sample of this research consisted of 30 Matthayomsuksa 4/1 students in the first semester, during the academic year 2015 in Prongmaduawittayakom School. The research instruments were 1) lesson plans using problem based learning approach; 2) a learning outcomes test; 3) a reasoning skills and knowledge applications test and 4) a questionnaire on the opinions of students towards problem based learning approach. The collected data was analyzed by mean ( ), standard deviation (S.D.), t-test dependent and content analysis The research findings were as follows: 1. The learning outcomes before and after learning the environmental issues of Matthayomsuksa 4 students using problem based learning approach were significantly higher than before learning at the .05 level. 2. The reasoning skills and knowledge applications before and after learning the environmental issues of Matthayomsuksa 4 students using problem based learning approach were significantly higher than before learning at the .05 level. 3. The opinions of Matthayomsuksa 4 students towards using problem based learning approach were at the high level.
Description: 54262403 ; สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา -- รัตนา เกตุสม
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/559
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54262403 ; รัตนา เกตุสม .pdf54262403 ; สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา -- รัตนา เกตุสม5.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.