Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/560
Title: กระบวนทัศน์การจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการใช้ทักษะชีวิตและอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: PARADIGM OF GUIDANCE ACTIVITY TO ENHANCE USING LIFE AND CAREER SKILLS FOR HIGH SCHOOL STUDENTS
Authors: สุวรรณคร, จันทร์เพ็ญ
Suwannakorn, Janpen
Keywords: กระบวนทัศน์
การจัดกิจกรรมแนะแนว
การใช้ทักษะชีวิตและอาชีพ
PARADIGM
GUIDANCE ACTIVITY
USING LIFE AND CAREER SKILLS
Issue Date: 31-Mar-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยคร้ังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของกระบวนทัศน์การจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการใช้ ทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) ประเมินประสิทธิผลของการใช้กระบวนทัศน์การจัดกิจกรรมแนะแนว และ 3) ขยายผลกระบวนทัศน์การจัดกิจกรรมแนะแนว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปี ที่ 5 โรงเรียนดอนคาวิทยา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2558 เป็ นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน จำนวน 36 คน กลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน จำนวน 31 คน รวมท้ังสิ้น 67 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย กระบวนทัศน์การจัดกิจกรรมแนะแนว คู่มือการใช้หน่วยและ แผนการจัดกิจกรรมแนะแนว แบบประเมินชิ้นงาน แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม แบบรายงานผลการใช้ทักษะชีวิต และอาชีพของ ตนเองก่อน-หลังร่วมกิจกรรมแนะแนว แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียนโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดนิทรรศการ “วันแนะแนวอาชีพ” และแบบบันทึกสะท้อนผลการจัดกิจกรรมแนะแนว (Journal Writing) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที แบบไม่อิสระ (t - test for dependent samples) แบบอิสระ(t - test for independent samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. กระบวนทัศน์การจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการใช้ทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาตอนปลาย มีชื่อว่า “UNIQUE” มีหลักสำคัญในการจัดกิจกรรม 5 ด้าน คือ 1. การจัดกิจกรรมแนะแนว 2. การสร้างความรู้ 3. การเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม 4. การจัดการ เรียนรู้แบบร่วมมือ และ 5. การมีส่วนร่วมของชุมชน การจัดกิจกรรมบูรณาการ 5 รูปแบบการสอนเข้าด้วยกันคือ (1) การเรียนรู้แบบร่วมมือ (2) การใช้กิจกรรมเป็นฐาน (3) การใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน (4) การใช้ปัญหาเป็นฐาน และ (5) การมีส่วนร่วมของชุมชน มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ เป็นการพัฒนาการใช้ทักษะชีวิตและอาชีพอยู่บนพื้นฐานการสร้างความรู้อย่างเป็ นระบบด้วยตนเอง การร่วมมือกันเรียนรู้จาก กิจกรรมแนะแนว ฝึกปฏิบัติประสบการณ์จริงจากการสนับสนุนแหล่งเรียนรู้ในชุมชน 2) วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาการใช้ทักษะชีวิตและอาชีพ ของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาตอนปลาย 3) ข้ันตอนการจัดกิจกรรม ประกอบด้วย 6 ข้ัน คือ (1) ทำความเข้าใจในข้อมูลและเนื้อหาอย่างกระจ่างชัด (Understanding Information and Content : U) (2) สร้างเครือข่ายข้อมูล (Networking Information : N) (3) สืบค้นข้อมูลเพื่อวินิจฉัยปัญหา (Inquiring Information to Diagnose Problems : I) (4) ซักถามเพื่อสร้างทางเลือกหรื อวิธีแก้ปัญหา (Questioning to Make Choices or Solutions : Q) (5) ใช้ประโยชน์ข้อมูลจากผลการวิเคราะห์ (Utilizing Information from the Analysis : U) และ (6) นำเสนอผลงานและรายงานผล (Exhibiting and Results Reporting : E) 4) การวัดและประเมินผล สมรรถนะของผู้เรียนตามองค์ประกอบของการใช้ทักษะชีวิตและอาชีพ 7 ด้าน 15 ตัวชี้วัด และ 5) ปัจจัยสนับสนุน ประกอบด้วย (1) ชุมชน ให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ทุกข้ันตอนโดยร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมปฏิบัติ และเป็นแหล่งฝึกประสบการณ์จริงให้แก่ผู้เรียน (2) บุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้ความร่วมมือจัดกิจกรรม จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ร่วมประเมินผลการใช้ทักษะชีวิตและอาชีพ และผลงานที่ผู้เรียนนำเสนอตามสภาพจริง และ (3) นักเรียน หมั่นศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองอย่าง เป็นระบบ มีการทำงานเป็ นกลุ่ม เน้นการร่วมมือกันเรียนรู้ ร่วมกิจกรรมฝึ กปฏิบัติจากแหล่งเรียนรู้และสถานประกอบการในชุมชน ผลการ หาค่าประสิทธิภาพของกระบวนทัศน์ตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 81.57/81.27 2. ประสิทธิผลของกระบวนทัศน์การจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการใช้ทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษา ตอนปลาย มีผลสรุปดังนี้ 2.1 หลังร่วมกิจกรรมแนะแนวตามกระบวนทัศน์นักเรียนมีผลการใช้ทักษะชีวิตและอาชีพสูงกว่าก่อนร่วมกิจกรรมแนะแนว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการเรียนรู้ตามกระบวนทัศน์การจัดกิจกรรมแนะแนว มีผลการใช้ทักษะชีวิตและอาชีพ แตกต่าง กับนักเรียนกลุ่มควบคุม โดยนักเรียนกลุ่มทดลองมีผลการใช้ทักษะชีวิตและอาชีพสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ การจัดกิจกรรมแนะแนวแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการขยายผลกระบวนทัศน์การจัดกิจกรรมแนะแนว พบว่า นักเรียนกลุ่มขยายผลที่ร่วมกระบวนทัศน์การจัดกิจกรรมแนะแนว มีผลการใช้ทักษะชีวิตและอาชีพหลังร่วมกิจกรรมแนะแนวสูงกว่าก่อนร่วมกิจกรรมแนะแนว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The purposes of this research were to : 1) develop and determine the efficiency of paradigm of guidance activity to enhance using life and career skills for high school students, 2) evaluate the effectiveness of using paradigm of guidance activity, and 3) disseminate the paradigm of guidance activity. The samples comprised experimental group of 36 students and control group of 31 students, a total of 67 students 11th grade students during the second semester of the academic year 2015 at Donkhawittaya School, Secondary Suphanburi Office Area 9. Research instruments consisted of paradigm of guidance activity, a handbook, units and lesson plans, assessment working form, behavior observation working group form, report the results of students about using life and career skills before-after activities form, assessment of the performance of students who are actively involved in the exhibition. "Career Day", and the record reflects guidance activities (Journal Writing). The data was analyzed by mean, standard deviation, a dependent t-test, independent t-test and content analysis. The results were as follows : 1. The paradigm of guidance activity to enhance life and career skills for high school students, there are consisted of five principles. These are 1. guidance activities 2. construct knowledge 3. learning groups humanism 4. collaborative learning and 5. participation of the community. The activities were integrated 5 techniques of teaching together ; (1) collaborative learning (2) activity based learning (3) case-based learning (4) problem based learning and (5) participation of community learning. There are five components of the paradigm, these are 1) principles - the development using life and career skills based on a manual system by themselves, working together, learning from guidance activities, practical experience of learning support in the community. 2) objective – developing using life and career skills for high school students. 3) the learning process which had six steps : UNIQUE - (1) Understanding Information and Content : U, (2) Networking Information : N, (3) Inquiring Information to Diagnose Problems : I, (4) Questioning to Make Choices or Solutions : Q, (5) Utilizing Information from the Analysis : U and (6) Exhibiting and Results Reporting : E) 4) assessment–capacities of learners based on 7 compositions of using life and career skills include 15 indicators. 5) supported factors - (1) community : support the learning process by joining together to share practical ideas and a real experience to students. (2) personnel involved : teachers, parents, community leaders, business owners give cooperation activities and set the atmosphere that conduct to learn and evaluate the results of using life and career skills, and (3) students : diligent to study as a manual system, group work and collaboration that focused on learning participants and practice from the establishment of the community. Implement solutions under circumstances that occur on a daily basis and/or establishment in the community by building relationships with others to work together. Creative works were based on interest and aptitude in their future careers quality. The efficiency of this paradigm was 81.57/81.27 2. The effectiveness of the paradigm indicated that 2.1) after using the paradigm of guidance activity (UNIQUE), students’ using life and career skills were higher than before receiving the instruction at a .05 significance level, 2.2) the experimental group that is received learning this paradigm had the results of using life and career skills differences with the control group that have been learning with traditional forms of guidance activities. The results of using life and career skills of experimental group were higher than control group at a .05 significance level, 3. The results of the dissemination using paradigm of guidance activity (UNIQUE) indicated that using life and career skills for high school students after using the paradigm were significantly higher than before the instruction at .05
Description: 55253901; สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน -- จันทร์เพ็ญ สุวรรณคร
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/560
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55253901 จันทร์เพ็ญ สุวรรณคร.pdf55253901; สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน -- จันทร์เพ็ญ สุวรรณคร12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.