Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/563
Title: | การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา |
Other Titles: | DEVELOPMENT OF AN INSTRUCTIONAL MODEL TO ENHANCE CREATIVE PROBLEM SOLVING ABILITY AND SCIENTIFIC INNOVATION FOR PRIMARY SCHOOL STUDENTS |
Authors: | พานะกิจ, พีชญาณ์ Phanakij, Pheechaya |
Keywords: | รูปแบบการสอน ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร INSTRUCTIONAL MODEL CREATIVE PROBLEM SOLVING ABILITY SCIENTIFIC INNOVATION |
Issue Date: | 31-Mar-2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการสอนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา 3) เพื่อขยายผลรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 จ านวน 24 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนวัดราษฎร์รังสรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ คู่มือการใช้รูปแบบ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบความสามารถ ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และแบบประเมินนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าทีแบบไม่อิสระ (t- test for dependent samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษา มีชื่อว่า “PEACE Model” มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการเน้นผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นเองอย่างเป็นระบบ โดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง กระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนมีบทบาทส าคัญในการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติกิจกรรมที่เน้นการร่วมมือกัน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 2) วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้น คือ (1) ขั้นที่ 1 การน าเสนอปัญหา (Presenting Problem: P) (2) ขั้นที่ 2 การสร้างความสนใจร่วมกันระหว่างครูและนักเรียน (Engaging : E) (3) ขั้นที่ 3 การวิเคราะห์ (Analyzing : A ) (4) ขั้นที่ 4 การจ าแนก(Classifying : C) (5) ขั้นที่ 5 การประเมินผล (Evaluating : E ) 4) การวัดและประเมินผล 2 ด้าน คือ ด้านความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ และ 5) เงื่อนไขส าคัญในการน ารูปแบบไปใช้ให้ประสบผลส าเร็จ ประกอบด้วย (1) ผู้สอนมีบทบาทในการเป็นผู้อ านวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน มีการใช้ค าถามที่สร้างสรรค์ ทรงพลัง (2) ผู้เรียน ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาหาความรู้และร่วมมือกันเพื่อสร้างความรู้ (3) ใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น และรูปแบบ การสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.12/80.12 2. ประสิทธิผลของรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา มีดังนี้ 2.1) หลังเรียนนักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) นักเรียนที่มีความสามารถพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ต่างกัน มีพัฒนาการความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์อยู่ในระดับสูง และ 2.3) นักเรียนมีพัฒนาการด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับดี 3. ผลการขยายผลรูปแบบการสอนเพื่อส่งแสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา พบว่านักเรียนกลุ่มขยายผลการวิจัยที่เรียนตามรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และ มีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนอยู่ในระดับดี The purposes of this research were to: 1) develop to determine the efficiency of the model to enhance creative problem solving ability, 2) evaluate the effectiveness of the model and 3) disseminate the model. The sample comprised 24 third grade students during the second semester of the academic year 2015 at Watratrangsan school. Research instruments consisted of instructional model by using a handbook for the model, lesson plans, creative problem solving ability test, and Scientific innovation evaluation. Data were analyzed by using descriptive statistics, including mean, standard deviation, a dependent t-test and content analysis. The results were as follows : 1. The instructional model to enhance creative problem solving ability and Scientific innovation for primary school students called “PEACE Model” consisted of five elements. These are (1) principles - emphasis on students who construct their knowledge systematically and use process construct process enhance creative problem solving ability and Scientific innovation and their crucial role in the learning process via the use of cooperative learning, knowledge change for creative problem solving. (2) objective: enhance creative problem solving ability and Scientific innovation for primary school students; (3) the learning process which had five steps, a) Presenting Problem: P b) Engaging: E c) Analyzing: A d) Classifying : C e) Evaluating : E (4) The 2 dimentions : creative problem solving ability and Scientific innovation; and (5) the important conditions for using the PEACE model successfully through; teacher role for facilitator in the learning process used creative power question and used scientific process for learning construct their knowledge used local problem. The efficiency of this model was 80.12/80.12 2. The effectiveness of the PEACE Model indicated that 2.1) after using the PEACE model, the students’ creative problem solving ability were higher than before using the instruction at a .05 significance level, 2.2) the students who had different basic Science ability had development of creative problem solving ability at a high level; 2.3) the students had development of Scientific innovation at a good level. 3) The results of the dissemination indicated that after learning by using this model, students had the creative problem solving ability were significantly higher than before at .05 level and after learning the students had Scientific innovation at a good level. |
Description: | 55253902 ; สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน -- พีชญาณ์ พานะกิจ |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/563 |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
55253902 พีชญาณ์ พานะกิจ.pdf | 55253902 ; สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน -- พีชญาณ์ พานะกิจ | 15.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.