Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/565
Title: การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E)
Other Titles: THE DEVELOPMENT OF LEARNING ACHIEVEMENT AND ANALYTICAL THINKING ABILITY ON NATURAL DISASTERS OF MATTHAYOMSUKSA 5 STUDENTS BY INQUIRY BASED LEARNING (5E)
Authors: ศุภมัสดุอังกูร, พุทธิพงษ์
Supamustduangkoon, Puttipong
Keywords: ความสามารถในการคิดวิเคราะห์
การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้
ANALYTICAL THINKING ABILITY
INQUIRY BASED LEARNING
Issue Date: 10-May-2559
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) 2) ศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการ สืบเสาะหาความรู้ (5E) 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนสมุทรปราการ มีนักเรียนทั้งหมด 43 คน ซึ่งได้จากวิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ทดลองใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 เป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 คาบเรียน รวมจำนวน 10 คาบเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ̅x ), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.), ค่าร้อยละ (%) การทดสอบ ค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) อยู่ในระดับสูง 3. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เห็นด้วยในระดับมาก The purposes of this research were to 1) compare the learning achievement on natural disasters of Matthayomsuksa 5 students before and after using inquiry based learning (5E) 2) study the analytical thinking ability of Matthayomsuksa 5 students of inquiry based learning (5E) and 3) study the opinion of Matthayomsuksa 5 students using inquiry based learning (5E) The samples of this research consisted of 43 from Matthayomsuksa 5/3 students in the first semester during the academic year 2014 in Samutprakan School. The research instruments were 1) lesson plans using inquiry based learning (5E) 2) a learning achievement test 3) an analytical thinking test and 4) a questionnaires on the opinion of students using inquiry based learning (5E). The collected data was analyzed by mean ( ̅), standard deviation (S.D.), percentage (%) and t-test for dependent. The results of this research were as follows : 1. The learning achievement of Matthayomsuksa 5 student on natural disaster using inquiry based learning (5E) were higher than before at level of .05 significance. 2. The analytical thinking ability on natural disaster of Matthayomsuksa 5 student using inquiry based learning (5E) were at the high level. 3. The opinion of students towards inquiry based learning (5E) were at high level of agreement.
Description: 54262310 ; สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา -- พุทธิพงษ์ ศุภมัสดุอังกูร
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/565
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54262310 ; พุทธิพงษ์ ศุภมัสดุอังกูร .pdf54262310 ; สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา -- พุทธิพงษ์ ศุภมัสดุอังกูร3.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.