Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/569
Title: การพัฒนาโมดูลการอ่านภาษาอังกฤษวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เน้นรูปแบบการสอนเทคนิค การเสริมต่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
Other Titles: DEVELOPMENT OF ENGLISH READING MODULES FOCUSING ON SCAFFOLDING TECHNIQUES IN LEARNING TO ENHANCE READING ABILITY FOR ENGLISH FOR SCIENCE AND TECHNOLOGY STUDENTS, FACULTY OF ENGINEERING RAJAMANGALA UNIVERSITY OF TECHNOLOGY PHRA NAKHON
Authors: สุภาพ, สมทรง
Suparp, Somsong
Keywords: โมดูลการอ่านที่เน้นเทคนิคการเสริมต่อการเรียนรู้
ความคงทนในการเรียน
ความพึงพอใจ
เจตคติ
READING MODULES FOCUSING ON SCAFFOLDING RETENTION
SATISFACTION
ATTITUDE
Issue Date: 23-Nov-2558
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษำระดับความรู้ด้านทักษะกำรอ่าน กำรใช้กลยุทธ์ในการอ่าน และด้านหัวเรื่อง 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพโมดูลการอ่านที่ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 3) เปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษก่อนและหลังการเรียนและศึกษาขนาดของผล 4) ศึกษาผลการใช้โมดูลการอ่านต่อความคงทนในการเรียนของนักศึกษาไม่ต่ำร้อยละ 80 5) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนจากการใช้โมดูลการอ่านหลังการเรียนอยู่ในระดับมากกว่า 4.5 และ 6) ศึกษาเจตคติของผู้เรียนจากการใช้โมดูลการอ่านหลังการเรียนอยู่ในระดับมากกว่า 4.5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จำนวน 40 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) การพัฒนาโมดูลการอ่านดำเนินตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มี 3 ขั้นตอนดังนี้ 1) ศึกษาระดับด้านความรู้ด้านทักษะการอ่าน การใช้กลยุทธ์ในการอ่านและด้านหัวเรื่อง 2) การพัฒนาและหาประสิทธิภาพโมดูลการอ่าน 3) การนำโมดูลการอ่านไปใช้ทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือการสำรวจความต้องการ เช่น แบบทดสอบวัดความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษของทักษะการอ่าน แบบประเมินตนเองด้านความสามารถการใช้ทักษะอ่าน แบบทดสอบกลวิธีการอ่าน แบบประเมินตนเองของการใช้กลวิธีการอ่านและแบบสอบถามจัดลำดับหัวเรื่อง 2)โมดูลการอ่าน 3) แบบทดสอบวัดความเข้าใจในการอ่านทางการเรียนภาษาอังกฤษก่อนและหลังการใช้โมดูล 4) แบบวัดพึงพอใจที่มีต่อโมดูลการอ่าน 5) แบบวัดเจตคติมีต่อโมดูลการอ่าน การวิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติพื้นฐานที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Means) ร้อยละ (Percentage) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation)และ One-Sample t –test การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) กำรศึกษาระดับด้านความรู้ด้านทักษะการอ่าน การใช้กลยุทธ์ในการอ่านและด้านหัวเรื่อง เพื่อนำไปพัฒนาโมดูล พบว่า ด้านทักษะการอ่าน ทักษะการอ่านที่นักศึกษาใช้น้อยที่สุด ได้แก่ ข้อเท็จจริงและความคิดเห็น (Facts and Opinion) และทักษะการเดาความหมายของคำ (Guessing the meaning of words) กลวิธีก่อนการอ่านที่นักศึกษาใช้น้อยที่สุดได้แก่ อ่านเฉพาะกลุ่มคำหรือวลี ขั้นกลวิธีระหว่ำงการอ่านนั้น พบว่ากลวิธีที่นักศึกษาใช้น้อยที่สุด ได้แก่ อ่านช้ำลง และขั้นกลการอ่านวิธีหลังกลวิธีการอ่านที่นักศึกษาใช้น้อยที่สุด ได้แก่ การเขียนสรุป ผลการสำรวจพบว่านักศึกษามีความต้องกำรด้านหัวเรื่องทั้ง 10 เรื่อง 2) การหาประสิทธิภาพของโมดูลการอ่านระดับดีมาก (E1/E2) เท่ากับ 81.15/79.25 3) คะแนนความเข้าใจในการอ่านของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระดับมีขนาดใหญ่มาก (d =6.17) 4) ความคงทนในการเรียนเท่ากับ 50.97 5) ความพึงพอใจที่มีต่อโมดูลการอ่านอยู่ในระดับมากที่สุด 6) เจตคติที่มีต่อโมดูลการอ่านอยู่ในระดับดีมากที่สุด The purposes of this research were: 1) to investigate knowledge level of reading skills, reading strategies and topics; 2) to develop and find effective index of module at 75/75 3) to compare the students’ reading ability before and after studying the module, as well as to find its effect size;4) to investigate a retention rate of at least 80% 5) to evaluate the students’ level of satisfaction after studying with the Reading Module Focusing on Scaffolding Techniques (RMFST) more than at level 4.5. 6) to evaluate their attitudes towards the (RMFST) more than at level 4.5. The samples selected by a purposive sampling technique, consisted of 40 second-year students from the Faculty of Electrical Engineering at Rajamangala University of Technology Phra Nakhon in the second semester of the academic year 2014. The samples were selected a purposive sampling technique. The research process involved the development of the reading module in three stages: 1) a study on reading skills, the use of reading strategies, and the identification of topics, 2) a development of the (RMFST) and 3) an implementation of the module to find its effective index. The research instruments for data collection consisted of 1) a set of needs survey instruments, viz. reading skills tests, a reading skill checklist, reading strategy tests, a reading strategy checklist, and a reading topic checklist, 2) the RMFST, 3) an English reading comprehension test, 4) a set of questionnaires on students’ satisfaction with the RMFST and 5) a set of questionnaires on students’ attitudes towards the RMFST. The statistics for quantitative data analysis were means, percentage, standard deviation and a one-sample t-test. In addition, the qualitative data were analyzed using content analysis. The results of this study were: 1) to study level of the reading skills, to use reading strategies and the identification of topics. In reading skills, the students used the least were identifying facts and opinions and guessing the meaning of words. In terms of pre-reading strategies, the activity that the students were least interested in was specific reading, while slow reading was used the least frequently. The least popular post-reading activity was summarizing in writing. Survey students’ was desired 10 topics ; 2) the effective index of the reading module was 81.15/79.20 which was higher than the set criteria of 75/75; 3) on average, the students could achieved posttest score significantly higher than that of pretest score at the level of 0.05 and the effect size of the module was quite large (d = 6.17), 4) the retention rate of the students was higher than 80% of their posttest score; 5) on average, the students’ satisfaction levels with the reading module was very satisfied; and 6) their attitudes towards the module was very good.
Description: 52254906 ; สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน --สมทรง สุภาพ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/569
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
52254906 สมทรง สุภาพ.pdf52254906 ; สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน -- สมทรง สุภาพ10.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.