Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/581
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนภูมิศาสตร์ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษา
Other Titles: THE DEVELOPMENT OF INSTRUCTIONAL MODEL TO ENHANCE GEOGRAPHY TEACHING COMPETENCY FOR UNDERGRADUATES IN SOCIAL STUDIES. THESIS ADVISORS: ASST.PROF.ORAPIN SIRISAMPHAN
Authors: สุวรรณเวช, แก้วใจ
SUWANWECH, KAEWJAI
Keywords: รูปแบบการเรียนการสอน
สมรรถนะการสอนภูมิศาสตร์
การสอนภูมิศาสตร์
INSTRUCTIONAL MODEL
GEOGRAPHY TEACHING COMPETENCY
GEOGRAPHY TEACHING
Issue Date: 5-Aug-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนภูมิศาสตร์ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษา 2) ศึกษาประสิทธิผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนภูมิศาสตร์ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษา ดังนี้ 2.1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้รายวิชาภูมิศาสตร์ประเทศไทยเชิงวิเคราะห์ ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนภูมิศาสตร์ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษา 2.2) ศึกษาความสามารถในการสอนภูมิศาสตร์ของนักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษา ด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภูมิศาสตร์ ด้านการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ และด้านการทำงานกลุ่มศึกษาค้นคว้าทางภูมิศาสตร์ 2.3) ศึกษาเจตคติทางภูมิศาสตร์หลังการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนภูมิศาสตร์ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษา 2.4) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนภูมิศาสตร์ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษา 3) ศึกษาการขยายผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนภูมิศาสตร์ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จำนวน 40 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนภูมิศาสตร์ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษา คู่มือการใช้รูปแบบ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้รายวิชาภูมิศาสตร์ประเทศไทยเชิงวิเคราะห์ แบบประเมินความสามารถในการสอนภูมิศาสตร์ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีแบบไม่เป็นอิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนภูมิศาสตร์ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษา เรียกว่าPLPCPA Model เน้นการเรียนการสอนภูมิศาสตร์อย่างเป็นระบบ การเรียนรู้สู่การปฏิบัติ และการสร้างกระบวนการเรียนรู้ มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนการสอน และปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การเตรียมความพร้อมเพื่อการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ ขั้นที่ 2 การเรียนรู้จากสถานการณ์จริงหรือสื่อการสอนภูมิศาสตร์ ขั้นที่ 3 การวางแผนปฏิบัติการสืบค้นและการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ขั้นที่ 4 การรวบรวมข้อมูลหรือการสำรวจข้อมูลทางภูมิศาสตร์ ขั้นที่ 5 การนำเสนอและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้ภูมิศาสตร์ ขั้นที่ 6 การประยุกต์ใช้และสร้างสรรค์ความรู้ภูมิศาสตร์ 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนภูมิศาสตร์ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษา พบว่า 2.1) ผลการเรียนรู้รายวิชาภูมิศาสตร์ประเทศไทยเชิงวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2.2) ความสามารถในการสอนภูมิศาสตร์ ด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ พบว่า สามารถเขียนได้ถูกต้องตามมาตรฐานการเรียนรู้ มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติ และการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภูมิศาสตร์อยู่ในระดับ ปานกลาง ด้านการใช้เครื่องมือภูมิศาสตร์ และด้านการทำงานกลุ่มศึกษาค้นคว้าทางภูมิศาสตร์อยู่ในระดับสูง 2.3) นักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษามีเจตคติที่ดีต่อวิชาภูมิศาสตร์ ตระหนักถึงความสำคัญ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ 2.4) ความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนภูมิศาสตร์ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษาอยู่ในระดับมาก 3. ผลการขยายผลของรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนภูมิศาสตร์ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษา พบว่า 3.1) ผลการเรียนรู้วิชาภูมิสารสนเทศสำหรับครูหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3.2) ความสามารถในการสอนภูมิศาสตร์ ด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ พบว่า สามารถเขียนได้ถูกต้องตามมาตรฐานการเรียนรู้ มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติ และการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภูมิศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง ด้านการใช้เครื่องมือภูมิศาสตร์ และด้านการทำงานกลุ่มศึกษาค้นคว้าทางภูมิศาสตร์อยู่ในระดับสูง 3.3) นักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษามีเจตคติที่ดีต่อวิชาภูมิศาสตร์ ตระหนักถึงความสำคัญ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ 3.4) ความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการสอนภูมิศาสตร์ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษาอยู่ในระดับมาก The research aimed to: 1) develop the instructional model to enhance Geography teaching competency for undergraduates in Social Studies; 2) study the effectiveness of the instructional model including 2.1) comparing the learning outcomes in Analytical Thailand Geography subject, before and after implementing the instructional model, 2.2) studying the Geography teaching competency of the undergraduates in Social Studies, in terms of making Geography lessons plan, managing Geography teaching and learning activities, using geographical instruments and working in group for geographical study, 2.3) studying attitudes of the undergraduates in Social Studies towards Geography after implementing the instructional model, 2.4) studying satisfaction of the undergraduates in Social Studies towards the instructional model; and 3) study the dissemination of the instructional model. The sample were the third year 40 undergraduates in Social Studies, Faculty of Education, Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, in first semester of academic year 2014. The research instruments were the instructional model to enhance Geography teaching competency for undergraduates in Social Studies, the model’s handbook consisting of the lesson plans, the learning outcomes in Analytical Thailand Geography subject test, an assessment form the Geography teaching competency, an analyzed form the attitudes towards Geography, and an assessment form satisfaction of the undergraduates in Social Studies towards the instructional model. The data were analyzed by mean, standard deviation, t-test for dependent and content analysis. The results of this research were as follows: 1. The instructional model to enhance Geography teaching competency for undergraduates in Social Studies derived from this study was named “PLPCPA Model”, focusing on teaching Geography systematically, putting learning in to practice, and creating learning process. The major components of the model included principles, objectives, instructional process, and the factors facilitating learning. The instructional process were comprised of 6 steps: step 1 preparing to Geography learning, step 2 learning from real situation or Geography instructional media, step 3 planning to practice and using geographical instruments, step 4 collecting the information or geographical survey, step 5 presenting and sharing geographical knowledge, and step 6 applying and creating geographical knowledge. 2. In terms of the effectiveness of the model, it was found that: 2.1) the learning outcomes in Analytical Thailand Geography subject after implementing the model were higher than before the implementation at the significant level of .05; 2.2) for the Geography teaching competency, they could make effective lesson plans in accordance with learning standards with the emphasis on learning by doing. For teaching and learning activities management, it was at a moderate level. The use of geographical instruments and working in group for geographical study was at a high level; 2.3) they had positive attitude toward Geography especially realizing the importance and changes of natural environment; and 2.4) their satisfaction toward the instructional model was at a high level. 3. The dissemination of the instructional model, it was found that: 3.1) the learning outcomes in Geo- Informatics for Teacher subject after implementing the model were higher than before the implementation at the significant level of .05; 3.2) for the Geography teaching competency, they could make effective lesson plans in accordance with learning standards with the emphasis on learning by doing. For teaching and learning activities management, it was at a moderate level. The use of geographical instruments and working in group for geographical study was at a high levels; 3.3) they had positive attitude toward Geography especially realizing the importance and changes of natural environment; and 3.4) their satisfaction toward the instructional model was at a high level.
Description: 53262901 ; สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน -- แก้วใจ สุวรรณเวช
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/581
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
53262901 ; แก้วใจ สุวรรณเวช .pdf53262901 ; สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน -- แก้วใจ สุวรรณเวช6.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.