Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/603
Title: แนวทางการพัฒนากิจกรรมจักรยานท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร และพื้นที่เกี่ยวเนื่อง
Other Titles: A GUIDELINE FOR DEVLOPING BANGKOK CYCLING TOUR PROGRAMS INSIDE THE AREA OF GREATER RATTANAKOSIN
Authors: พลอยพราว, ไพลิน
Ployprow, Pailin
Keywords: กิจกรรมจักรยานท่องเที่ยว
กรุงรัตนโกสินทร์และพื้นที่เกี่ยวเนื่อง
กรุงเทพมหานคร
การท่องเที่ยวโดยจักรยาน
TOURIST CYCLING ACTIVITY
THE AREA OF THE GREATER RATTANAKOSIN
BANGKOK METROPOLITAN ADMINISTRATION
CYCLING TOUR
Issue Date: 5-Aug-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: งานศึกษาเรื่องนี้มุ่งศึกษาคุณค่าและความสำคัญของพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์และพื้นที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดกิจกรรมจักรยานท่องเที่ยวที่ผ่านมา และแนวทางการพัฒนากิจกรรมจักรยานท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครในพื้นที่ กรุงรัตนโกสินทร์และพื้นที่เกี่ยวเนื่อง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการศึกษาจากเอกสาร การลงพื้นที่ การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์ และการใช้แบบสอบถาม เพื่อให้ได้ข้อมูลของพื้นที่ การจัดกิจกรรมจักรยานท่องเที่ยวในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์และพื้นที่เกี่ยวเนื่องที่ผ่านมา นำข้อมูลและผลมาวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค และเสนอแนวทางการพัฒนากิจกรรมจักรยานท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์และพื้นที่เกี่ยวเนื่องอย่างเหมาะสมและยั่งยืน ภายใต้กรอบแนวคิดการท่องเที่ยวยั่งยืน และการท่องเที่ยวโดยจักรยาน พื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์และพื้นที่เกี่ยวเนื่อง เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญในฐานะเคยเป็นศูนย์กลางการปกครอง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม มากว่า 200 ปี จึงมีทรัพยากรวัฒนธรรมที่มีคุณค่า อาทิ พระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วังเจ้านายต่างๆ วัด ศาลเจ้า มัสยิด ย่านการค้า ชุมชนเก่าแก่ มีอาคารสถาปัตยกรรมอันงดงาม มีความเป็นเอกลักษณ์ จึงเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวที่สำคัญมากแห่งหนึ่งของประเทศไทย และกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน การเดินทางท่องเที่ยวบริเวณนี้ที่ผ่านมาสามารถเข้าถึงได้หลายรูปแบบทั้งโดยรถบัส รถประจำทาง รถยนต์ รถสามล้อ รถราง เรือโดยสาร และการเดินเท้า ทำให้แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก ครั้นในปี พ.ศ. 2541 ได้มีการเริ่มต้นการจัดกิจกรรมจักรยานท่องเที่ยวในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์และพื้นที่เกี่ยวเนื่องขึ้นและจัดต่อเนื่องมาจนถึง พ.ศ. 2557 รวมเป็นระยะเวลา 16 ปี ซึ่งหน่วยงานของรัฐเป็นผู้มีบทบาทหลักและเป็นผู้ดำเนินการ คือ กองการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร โดยมีการจัดกิจกรรมจักรยานท่องเที่ยวหลากหลายภายในพื้นที่นี้ อาทิ กิจกรรมปั่นจักรยานท่องเที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ช่วงเช้า กิจกรรมปั่นจักรยานรอบเกาะรัตนโกสินทร์ยามค่ำคืน จักรยานธนบุรีศรีมหาสมุทร โครงการจักรยานชมกรุงรัตนโกสินทร์ (Bangkok Green Bike) และกิจกรรมส่งเสริมและรณรงค์การใช้จักรยานขึ้น หลังจากปี พ.ศ. 2557 การดำเนินการจัดกิจกรรมจักรยานท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์และพื้นที่เกี่ยวเนื่องได้ยุติลง ทั้งๆ ที่กระแสของความนิยมในของการท่องเที่ยวโดยใช้จักรยานทวีมากขึ้น อีกทั้งกิจกรรมจักรยานท่องเที่ยวที่เคยจัดมานั้นเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการเดินทางท่องเที่ยวที่สามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้สะดวกและทั่วถึงขึ้นภายในระยะเวลาที่รวดเร็วขึ้น ทำให้เกิดการเรียนรู้ เข้าใจประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ภูมิปัญญา คุณค่า และความสำคัญของทรัพยากรวัฒนธรรมใจกลางพระนคร นอกจากนี้การท่องเที่ยวโดยจักรยานยังเป็นการลดมลภาวะที่เกิดจากการจราจรที่หนาแน่น และไม่ส่งผลกระทบต่อแหล่งท่องเที่ยวและสภาพแวดล้อม ดังนั้นกิจกรรมจักรยานท่องเที่ยวจึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่เหมาะสมกับกับการท่องเที่ยวในพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์และพื้นที่เกี่ยวเนื่อง ควรให้มีการดำเนินการจัดกิจกรรมขึ้นอีกและให้ต่อเนื่อง โดยควรมีการบริหารจัดการ การพัฒนารูปแบบ และเส้นทางของกิจกรรมจักรยานท่องเที่ยวอย่างเหมาะสม การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อความปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจในการใช้จักรยานเป็นยานพาหนะในการเดินทางท่องเที่ยว ควรมีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว ควรสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของหลายภาคส่วน รวมทั้งประชาชนในพื้นที่ด้วย นอกจากนี้ควรเน้นให้มีการประชาสัมพันธ์และการตลาดเพิ่มขึ้นเพื่อจะทำให้กิจกรรมจักรยานท่องเที่ยวในพื้นที่ กรุงรัตนโกสินทร์และพื้นที่เกี่ยวเนื่องดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป The study is determined to explore the value and the importance of the Greater Rattanakosin Area which is related to Bangkok Cycling Tour Programme (BCTP) and methods develop the programme in the area. This qualitative research was conducted through literature review, field inspection, monitoring, interview and questionnaire. The area’s information about the previous BCTP was studied by SWOT analysis then the methods to sustainably develop BCTP were concluded under sustainable tourism conceptual framework. The Greater Rattanakosin Area is vital as the area used to be the administrative, economy and cultural center of Thailand for more than 200 years. As a consequence, it hosts many valuable cultural resources such as the Grand Palace, the Temple of the Emerald Buddha, Brahmin shrine, the City Pillar Shrine, noblemen’s palaces, historical monuments, commercial localities, old communities, and remarkable architectural buildings. With the uniqueness, the Greater Rattanakosin Area is undeniably considered as one of the very significant touristic areas of present Bangkok and Thailand. Easily to be accessed via modes of transportation, the Greater Rattanakosin Area regularly receives huge number of tourists each year and the initiative of BCTP started in the year 1998. The programme lasted 16 years and the main authority who responsible for the programme were Touristm Authority of Thailand (TAT) and Bangkok Tourism Division of Culture, Sports and Tourism Department, Bangkok Metropolitan Administration. Various cycling programmes had been arranged in this area and received increasing popularity among tourists. However, all the programmes were discontinued despite its success in boosting the use of bicycle, the learning of history, culture, local wisdom, value, and the importance of cultural resources of the inner Bangkok. Moreover, cycling tour helps reducing traffic pollution and causes fewer effects on destination and environment. It can be concluded that cycling tour is one kind of activities that suitable for traveling and sightseeing inside the Greater Rattanakosin Area and should be restored then continue. The cycling route should be suitably managed and developed along with the development of facilities for safety reasons in order to ensure the use of bicycle as a mode of transportation for tourists. Tourist destinations should be developed and their potentials should be increased. Understanding and participations of different parties, including locals, are inevitable. Furthermore, the increasing spend on public relations and marketing is to be noted so that BCTP in the Greater Rattanakosin Area can sustainably last.
Description: 54112321 ; สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม -- ไพลิน พลอยพราว
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/603
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54112321 ไพลิน พลอยพราว.pdf54112321 ; สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม -- ไพลิน พลอยพราว7.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.