Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/605
Title: | การศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์สมาธิราชสูตร |
Other Titles: | A CRITICAL STUDY OF THE SAMĀDHIRĀJASŪTRA |
Authors: | หะพินรัมย์, ร้อยโทพรชัย Hapinram, Lt. Pornchai |
Keywords: | สมาธิราชสูตร ศูนยตา SAMĀDHIRĀJASŪTRA SŪNYATĀ |
Issue Date: | 15-Mar-2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแปลสมาธิราชสูตรภาษาสันสกฤตเป็นภาษาไทยและเพื่อศึกษาความเป็นมา รูปแบบการแต่ง และคำสอนในสมาธิราชสูตร เบื้องต้นผู้วิจัยได้ปริวรรตสมาธิราชสูตรอักษรเทวนาครีเป็นอักษรไทยและแปลสมาธิราชสูตรภาษาสันสกฤตเป็นภาษาไทย จากนั้นจึงศึกษาวิเคราะห์สมาธิราชสูตรตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลการศึกษาพบว่าสมาธิราชสูตรเป็นวรรณคดีของพุทธศาสนามหายานในยุคแรก ๆ สันนิษฐานว่าน่าจะประพันธ์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 2 – 6 ไม่ปรากฏนามผู้ประพันธ์ มีการดำเนินเรื่องในรูปแบบการถามตอบระหว่างจันทรประภากับพระพุทธเจ้า แต่งเป็นร้อยแก้วผสมร้อยกรอง ร้อยแก้วใช้ภาษาสันสกฤตมาตรฐานตามไวยากรณ์ของปาณินิ ส่วนร้อยกรองแต่งด้วยภาษาสันสกฤตผสม มีบทร้อยกรองจำนวนทั้งสิ้น 2,056 โศลก ใช้ฉันทลักษณ์ 15 ชนิด ฉันทลักษณ์ที่ใช้มากที่สุดคืออุปชาติฉันท์ มีการแทรกเรื่องเล่าจำนวน 12 เรื่องในรูปแบบของปูรวโยคะซึ่งมีรูปแบบคล้ายกับชาดกเพื่อเป็นตัวอย่างประกอบคำสอนทั้งในด้านดีและไม่ดี มีการใช้สำนวนซ้ำเป็นจำนวนมากอย่างที่คัมภีร์ในยุคแรก ๆ นิยมใช้เพื่อจดจำได้ง่ายจากปากต่อปาก (มุขปาฐะ) สมาธิราชสูตรมีจุดมุ่งหมายคือการได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณด้วยการให้ความรู้เรื่องศูนยตา ซึ่งแสดงทั้งปุทคลศูนยตาโดยสอนไม่ให้เยื่อใยในร่างกายและชีวิต ความไม่ใช่สัตว์ บุคคล ชีวะ และแสดง ธรรมศูนยตาโดยสอนว่าธรรมเป็นอภาวะกล่าวคือไม่มีอยู่จริง สอนให้มีจิตตั้งมั่นเป็นกลางไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม ดำรงอยู่ในมัชฌิมาปฏิปทา รูปแบบการสอนที่คัมภีร์ใช้แบ่งได้เป็น 3 ประการ คือ 1) หลักความงาม 3 ประการ ได้แก่ ปริยัติ แสดงส่วนที่เป็นหลักการ ปฏิบัติ แสดงตัวอย่างและวิธีการปฏิบัติ และปฏิเวธ แสดงผลที่ได้จากการปฏิบัติ คัมภีร์แสดงคำสอนในรูปแบบนี้จำนวน 55 คำสอน 2) หลักเทศนาวิธีหรือลีลาการสอน 4 ประการ ได้แก่ สันทัสสนา ชี้แจงให้เห็นชัด สมาทปนา ชวนใจให้อยากปฏิบัติ สมุตเตชนา เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า และสัมปหังสนา ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง คัมภีร์ใช้ลีลาการสอนทั้ง 4 ประการนี้สลับกันไปมาตลอดทั้งเรื่อง และ 3) หลักการเรียนการสอนที่ให้ผลสัมฤทธิจากน้อยไปมาก ได้แก่ การฟัง การเข้าห้องเรียน การได้รับความรู้อย่างครอบคลุม การรับความรู้นั้นมาเป็นของตนและทรงจำไว้ในความหมายของตน การสามารถพูดเล่าความรู้นั้นได้ การสร้างความเชี่ยวชาญด้วยการตรวจสอบความรู้ การชี้แสดงเป็นเรื่องๆ การทบทวนความรู้นั้นเพื่อเฟ้นหาความจริง การเก็บตัวเงียบเพื่อค้นคว้าในเชิงลึก การค้นคว้าบ่อยๆ และการประกาศความรู้แก่คนอื่นได้อย่างกว้างขวาง This thesis aims at translating the Samādhirājasutra from Sanskrit text into Thai and also at studying the history and characteristics of the Samādhirājasutra including the doctrine as depicted in the scripture. Initially, the researcher transliterated the Samādhirājasutra from the Devanāgarī alphabet into Thai and translated the Samādhirājasutra from Sanskrit text into Thai. The result of study shows that Samādhirājasutra was a literature in the early era of Mahayana Buddhism. It was assumed that it was written during the 2nd – 6th centuries. The author’s name was not found. The story was told through asking and answering questions between Candraprabhā and the Buddha. The literature was in the form mixing prose and verse. Prose is written in classical Sanskrit according to Paninian grammars, while verse is in Mixed Sanskrit. There were 2,056 slokas in 15 types of versifications. The most frequently used versification was Upajāti. There were 12 narratives in the form of Pūrvayoga inserted between preaching of Buddha to be the examples of good and bad behaviors. Many stock phrases were used as could be seen in the scriptures in the early period in order to make it easy to memorize. The purpose of Samādhirājasutra is to promote enlightenment by learning about Sūnyatā with Pudgalasūnyatā by presenting the ways to not adhere to physical bodies, no Satva, no Pudgala, No jiva. as well as studying about Dharmasūnyatā by explaining that dharma is Abhava or none-existance. keeping in mind not inclined to worldly conditions and follow the Middle Way. The teachings in the scripture can be divided into three forms. Firstly, esthetics includes Pariyatti, which presenting principles, Patipatti, which shows examples and practices, and Pativetha, which demonstrates the results from the practices. The scripture presents 55 teachings in this form. Secondly, there are four teaching principles that include Santassana (i.e. clarification), Samathapana (i.e. persuasion), Samuttechana (i.e. encouragement), and Sampahangsana (i.e. comfort). These four teachings were alternatively used in the whole story. Thirdly, the teaching principles were ranged from ineffective to effective ones including listening, participating in classrooms, learning complete knowledge, applying the knowledge to real life and memorizing the knowledge, explaining the knowledge, improving skills by checking the knowledge, describing stories, reviewing the knowledge in order to find truths, being isolated in order to conduct in-depth research, frequently studying things, and sharing the knowledge to the public. |
Description: | 53105902 ; สาขาวิชาภาษาสันสกฤต -- พรชัย หะพินรัมย์ |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/605 |
Appears in Collections: | Archaeology |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
53105902 พรชัย หะพินรัมย์.pdf | 4.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.