Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/607
Title: การศึกษาวิเคราะห์บทละครสันสกฤตเรื่องรัตนาวลี ของพระเจ้าศรีหรรษวรรธนะ
Other Titles: AN ANALYTICAL STUDY OF THE SANSKRIT DRAMA RATNĀVALī OF ŚRīHARṢAVARDHANA
Authors: บินอิบรอฮีม, ชลภัสสรณ์
Binibrohim, Chonlaphatsorn
Keywords: บทละครสันสกฤต
รัตนาวลี
พระเจ้าศรีหรรษวรรธนะ
SANSKRIT DRAMA
RATNĀVALī
ŚRīHARṢAVARDHANA
Issue Date: 5-Aug-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปริวรรตและแปลความบทละครสันสกฤตเรื่องรัตนาวลีจากต้นฉบับภาษาสันสกฤตเป็นภาษาไทยและเพื่อศึกษาความเป็นมาและลักษณะของบทละครสันสกฤตเรื่องรัตนาวลี รวมทั้งอลังการและรสที่ปรากฏในบทละครสันสกฤตเรื่องรัตนาวลี เบื้องต้นผู้วิจัยได้ปริวรรตบทละครสันสกฤตเรื่องรัตนาวลีจากอักษรเทวนาครีเป็นอักษรไทยและแปลความต้นฉบับภาษาสันสกฤตเป็นภาษาไทย จากนั้นก็ได้ศึกษาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลการศึกษาพบว่า เรื่องรัตนาวลีเป็นบทละครภาษาสันสกฤต มีความยาว 4 องก์ ประพันธ์โดย พระเจ้าศรีหรรษวรรธนะ ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ.590 – 647 ทรงเป็นจักรพรรดิผู้ครอบครองดินแดนทางตอนเหนือของอินเดีย ระหว่าง ค.ศ.606 – 647 เนื้อหาในเรื่องรัตนาวลีนั้นเป็นละครสันสกฤตเกี่ยวกับความรักของพระราชาอุทยนะแห่งวัตสะกับนางสาคริกา หรือเจ้าหญิงรัตนาวลีแห่งลังกา นางข้าหลวงของพระมเหสีวาสวทัตตา บทละครรัตนาวลีมี 4 องก์ ประกอบด้วย บทสนทนาเป็นร้อยแก้ว และบทร้อยกรองสลับกัน โดยมีบทสนทนาร้อยแก้ว 554 ครั้ง และบทร้อยกรอง 87 บท ภาษาที่ใช้ในบทละครรัตนาวลีนั้นใช้ภาษาสันสกฤตเป็นหลัก คือในบทบรรยาย และตัวละครชั้นสูง ส่วนตัวละครหญิงและคนใช้จะใช้ภาษาปรากฤต อย่างไรก็ตาม ต้นฉบับที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แสดงไว้เฉพาะภาษาสันสกฤต บทละครรัตนาวลีใช้ฉันท์ทั้งหมด 13 ชนิด ฉันท์ที่นิยมใช้เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ศารทูลวิกรีฑิตฉันท์ มีจำนวน 33 บท 2) สรคธราฉันท์ จำนวน 10 บท 3) อารยาฉันท์ จำนวน 9 บท 4) อนุษฏุภฉันท์ จำนวน 9 บท 5) วสันตติลกฉันท์ จำนวน 9 บท 6) ศิขริณีฉันท์ จำนวน 6 บท 7) มาลินีฉันท์ จำนวน 3 บท 8) ปฤถวีฉันท์ จำนวน 2 บท 9) ประหรรษิณีฉันท์ จำนวน 1 บท 10) หริณีฉันท์ จำนวน 1 บท 11) ปุษปิตาคราฉันท์ จำนวน 1 บท 12) ศาลินี ฉันท์ จำนวน 1 บท และ13) อุปชาติฉันท์ จำนวน 1 บท ตัวละครสำคัญในเรื่องนี้ได้แก่ ตัวละครชาย คือ พระราชาอุทยนะ (พระเอก เป็นเจ้าชายแห่งเมืองเกาศามพี) วิทูษกะ หรือวสันตกะ (พราหมณ์ผู้เป็นเพื่อนของพระเอก) เยาคันธรายณะ (เสนาบดี) วิชยวรมา (เป็นหลานของรุมัณวัตผู้เป็นองครักษ์ของพระราชา) พาภระวยะ (กรมวัง) วสุภูติ (อำมาตย์ของพระเจ้าวิกรมพาหุผู้เป็นกษัตริย์แห่งเมืองสิงหล)และไอนทรชาลิกะ (ผู้มีเวทมนต์) ตัวละครหญิงได้แก่ รัตนาวลี หรือสาคริกา (นางเอก ธิดาของพระเจ้าวิกรมพาหุแห่งสิงหล) วาสวทัตตา (พระมเหสีของพระราชาอุทยนะ) กาญจนมาลา (นางสนมของพระนางวาสวทัตตา) และสุสังคตา (เป็นนางสนม และเป็นเพื่อนของนางเอก) อลังการที่ใช้ในบทละครรัตนาวลีมีความโดดเด่นทั้งในด้านศัพทาลังการ (อลังการทางเสียง) และอรรถาลังการ (อลังการด้านความหมาย) ได้แก่ ยมก อนุปราส อุปมา อุปมารูปกะ อุตเปรกษา ทีปกะ สมาโสกติ อรรถานตรันยาสะ สวภาโวกติ รสสำคัญที่ปรากฏในบทละครรัตนาวลี ได้แก่ ศฤงคารรส (ความรัก) วีรรส (ความกล้าหาญ) หาสยรส (ความสนุกนาน) กรุณารส (ความสงสาร) และพีภัตสรส (ความน่ารังเกียจ) The objectives of this study are (1) to transliterate and translate the Ratnāvalī, a play by ŚRīHARṢAVARDHANA, from Sanskrit into Thai, (2) to study the historical background and general characteristics of the play, and (3) to analyze ala kāra and sentiment of the play. The general characteristics of the play include brief story, structure, characters, scenes, incidence time, and form of the play. The text used in the study is The Ratnāvalī of Srihar a-Deva edition with English translation and commentary, edited by M.R. Kale and published by Motilal Banarsidass in 1984. The study was started with gathering the data concerned. Then transliterate the play from Devanāgarī into Thai script and translate the text from Sanskrit into Thai. Study the historical background and general characteristics of the play and, finally, analyze the play with the aspects of ala kāra and sentiment. The results reveal that the Ratnāvalī was composed by the king Sriharsavardhana (590 – 647 AD) of India–he governed the northern area of India for the period 606 – 647 AD. The play is about a great love of the king Udayana of Vatsa with a beautiful princess named Ratnāvalī (Sāgarikā) of Lankā. The play consists of 4 acts with the combination of 554 prose dialogues and 87 verses. There are two languages used in the play; the major language is Sanskrit used for story describing, nobles ,and actors, and the Prākrit language is used for actresses and servants. There are 13 types of “Chanta” which can be ordered by frequency of their use as Śāravikarī ita (33 verses), Saragadharā (10 verses), Ārayā (9 verses), Anush ubha (9 verses), Vasanradilaka (9 verses) Śikhari ī (6 verses), Mālinī(3 verses), P thavī (2 verses),and one verse for each of Prahār i ī, Hari ī,Pu pitagrā, Śālinī and Upajāti. The main characters of actors are Udayana (The Hero, King of Kauśambhī), Vidū aka or Vasanthaka (The Hero's companion and Court-wit), Yaugandharāya a (The Chief Minister of Kaushāmbī), and Vasubhūti (The Minister of Vikramabāhu ). The main characters of actresses are Ratnāvalī or Sāgarikā (The Heroine, Daughter of King Vikramabahu), Vāsavadattā (Queen, wife of Udayana), Kāñcanamālā (Servant of Queen Vāsavadattā), and Susa katā (Servant of Queen Vāsavadattā and friend of Sāgarikā). Found here and there in slokas, ala kāras are both śabdāla kāra and arthāla kāra of various kinds. The ala kāras are Yamaka, Anuprāsa, Upamā, Upamārūpaka, Utpreksa, Dipaka, Samāsokti, Arthāntranyāsa, and Svabhāvokti . The main feeling of sentiment (rasa) is Ś gārarasa, followed by Vīrarasa, Hāsayarasa, Karunārasa, and Pībhatsarasa.
Description: 53105208 ; สาขาวิชาภาษาสันสกฤต --ชลภัสสรณ์ บินอิบรอฮีม
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/607
Appears in Collections:Archaeology



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.