Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/61
Title: การพัฒนาทักษะการสื่อสารและความสามารถในการทาโครงงาน โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
Other Titles: DEVELOPMENT OF COMMUNICATION SKILLS AND PROJECT ABILITY OF VOCATIONAL STUDENTS TAUGHT BY PROJECT APPROACH
Authors: โพธิ์เต็ง, กรธนา
PHOTENG, KORNTHANA
Keywords: ทักษะการสื่อสาร
ความสามารถในการทำโครงงาน
การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน
COMMUNICATION SKILL
PROJECT ABILITY
PROJECT APPROACH
Issue Date: 1-Aug-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาทักษะการสื่อสารโดยการจัดการเรียนรู้แบบ โครงงานของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ 2) ศึกษาความสามารถในการทาโครงงานโดยการจัดการเรียนรู้ แบบโครงงานของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ก่อนและหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียน ชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1 วิทยาลัยสารพัดช่างราชบุรี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จานวน 23 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีจับสลาก โดยใช้สาขาวิชาเป็นหน่วยสุ่ม ตัวแปรต้น คือ การจัดการเรียนรู้แบบ โครงงาน ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการสื่อสาร ความสามารถในการทาโครงงาน และ ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการทดลองจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เนื้อหาวิชาภาษาไทยพื้นฐาน เรื่องการรับสาร และส่งสารด้วยภาษาไทย ใช้เวลาในการทดลอง 12 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัด การเรียนรู้ แบบประเมินทักษะการสื่อสาร แบบประเมินความสามารถในการทาโครงงาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ ค่าทีแบบไม่อิสระและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการรับและส่งสารด้วยภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี นัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ทักษะการสื่อสารของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงทุกทักษะ โดยเรียงตามลาดับคะแนนเฉลี่ย ได้แก่ ด้านการฟังมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยรองลงมา คือ ด้านการอ่าน ด้านการเขียน และด้านการพูด 3. ความสามารถในการทาโครงงานของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานค่าเฉลี่ยอยู่ใน ระดับสูง เรียงตามลาดับคะแนนเฉลี่ย ดังนี้ ด้านสืบค้นในการทาโครงงาน ด้านเตรียมความพร้อมในการทาโครงงาน ด้านร่วมสร้างผลผลิต ด้านสืบค้นรายละเอียดเพิ่มเติม ด้านการนาเสนอผลงาน และด้านวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล ตามลาดับ 4. ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก โดยเรียง ตามลาดับคะแนนเฉลี่ย ดังนี้ ด้านประโยชน์ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ด้านบรรยากาศการจัดการเรียนรู้ และด้าน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ The purposes of this research were 1) to compare the vocational student’sachievement before and after using project approach, 2) to study the vocational student’s communication skills by using project approach, 3) to study the vocational student’s ability to perform a project work after being taught by the approach, and 4) to study the vocational student’s opinion towards project approach. The sample group consisted of 23 first year vocational students from Ratchaburi Polytechnic College, in the first semester of the 2015 academic year. This research was conducted by using the One Group Pretest-Posttest Design. The independent variable was the instruction using project approach. The dependent variables were student’s achievement: communication skills: capabilities in performing project work and students’ opinions towards project approach. The content of the learning was Thai Communication skills. The experiment times were 12 hours. The research tools were lesson plans, an achievement test, evaluation form of communication skill, the ability to perform project work and questionnaire. The statistical analyses used were mean ( ), standard deviation (S.D.), t-test dependent and content analysis. The results of this research were: 1. The achievement on “Thai Communication skills” of the students after using project approach were higher statistically significant than the instruction at the .01 level. 2. All the communication skills of the students after the instruction were at the high level such as listening skill, reading skill, writing skill and speaking skill. 3. The ability in performing project work of the students after using project approach were at a high level such as learning inquiry, learning climate, collaborating with others, directing inquiry, acquiring & presenting knowledge and analyzing the data and drawing conclusion. 4. The students’ opinions toward project approach of the first year vocational student were at a high agreement level.
Description: 56253302 ; สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ -- กรธนา โพธิ์เต็ง
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/61
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
12.56253302 กรธนา โพธิ์เต็ง.pdf5.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.