Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/616
Title: การจัดการหอศิลป์กับการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: MANAGEMENT OF ART GALLERIES AND PROMOTION OF CONTEMPORARY ARTS AND CULTURES IN BANGKOK
Authors: จั่วสันเทียะ, วิทยา
JUASANTIA, WIDTHAYA
Keywords: การจัดการหอศิลป์
การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
ART GALLERY MANAGEMENT
CONTEMPORARY ARTS AND CULTURES PROMOTION
Issue Date: 10-Feb-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยจากการจัดการของหอศิลป์ในปัจจุบัน ตลอดจนศึกษาพฤติกรรม ทัศนคติ และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการหอศิลป์ในเขตพื้นที่ศึกษา เพื่อเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในพื้นที่ศึกษา การศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาการดำเนินการหอศิลป์ของภาครัฐในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ กรมศิลปากร ซึ่งหอศิลป์ทั้ง 3 แห่งนื้ มีความสำคัญต่อการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยตั้งแต่ระดับบุคคล ชุมชน ท้องถิ่น ไปจนถึงระดับประเทศ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ ผู้เกี่ยวข้องด้านอุปสงค์ เป็นผู้ที่ใช้ประโยชน์จากการให้บริการของหอศิลป์ เช่น ศิลปิน นักวิชาการ ประชาชนทั่วไป โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามเพื่อศึกษาทัศนคติและความพึงพอใจต่อการให้บริการ และกลุ่มที่สอง คือ ผู้เกี่ยวข้องด้านอุปทาน ได้แก่ ผู้บริหารหอศิลป์จากพื้นที่กรณีศึกษา โดยการถอดบทสัมภาษณ์ รวมถึง การใช้แบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า หอศิลป์ในปัจจุบันมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ร่วมสมัย ทั้งด้านสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และการศึกษา เช่น การอนุรักษ์เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา การสร้างมูลค่าเพิ่มของผลงานศิลปะ รวมถึงการเปิดพื้นที่ให้ภาคประชาชนได้มีพื้นที่เพื่อการแสดงออก นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยที่หลากหลายไม่เพียงเฉพาะด้านทัศนศิลป์เหมือนในอดีตที่ผ่านมา สำหรับทัศนคติและความพึงพอใจของกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ พบว่ามีความพึงพอใจต่อการให้บริการของหอศิลป์ทั้ง 3 แห่งสอดคล้องกันในทิศทางบวก แสดงให้เห็นว่าแม้จะมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการที่แตกต่างกัน แต่กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ยังคงมีความพึงพอใจต่อบทบาทในการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยของหอศิลป์ในปัจจุบัน ซึ่งผลการศึกษาดังกล่าวนี้จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอื่น ๆ ได้เห็นถึงความสำคัญของการดำเนินการจัดตั้งหอศิลป์ประจำจังหวัดขึ้น อันจะส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อกระบวนการพัฒนาประเทศไทยโดยมี หอศิลป์เป็นเครื่องมือสำคัญ ในขณะเดียวกันหอศิลป์เองก็ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลายเพื่อดึงดูดให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น ตลอดจนสร้างเครือข่ายที่มีความคิดสร้างสรรค์เพื่อต่อยอดงานศิลปะให้พัฒนามากยิ่งขึ้นในอนาคต The objectives of the thesis on “Management of Art Galleries and Promotion of Contemporary Arts and Cultures in Bangkok” are to study role and management of art galleries in Bangkok and their current situation on promoting contemporary arts and cultures, to study the behavior, attitude and satisfaction of the sample population, and to suggest the effective management to the studied galleries. The study used mixed methodology, both quantitative and qualitative focusing on governmental art galleries in Bangkok which are Art Center of Silpakorn University, Wang Thapra Campus, Bangkok Art and Culture Center, Pathumwan and the National Art Gallery, Fine Arts Department. All of the case studies have played significant roles on supporting contemporary art and culture in the individual, community and national levels. The sample of population was divided into 2 groups; demand side and supply side. The first groups, who were on demand side, got direct benefit from using the galleries including artists, scholars and general public. Questionnaires were employed in collecting their attitudes and satisfaction after visiting those galleries. The executive directors of those 3 galleries were on supply side. To get the information form this group, interviewing and questionnaires were used. The findings show that those three art galleries help elevate the roles of contemporary arts in social, political, economic and educational aspects, for example; conservation practice for education, value-added on art works, and being the place for general public used. Moreover, the performing arts which mostly pays attention on visual art has been enlarged to more various kinds of performing arts. For attitudes and satisfaction of the demand side, although each gallery provides different objectives and managements, it was found that the samples felt coincidently satisfied in all of them. This study will provide information and suggestion for not only governmental agencies but also the provincial organizations in realizing the importance of setting up the provincial art galleries. It is believed that art galleries and performing arts can be one of major tools in the development processes of Thailand. Thus the authorities should contribute sufficient and equally accessible art galleries to all Thai people. The art gallery organizations should support various art and culture activities to attract wider range of visitors. At the same time, integrated and creative art networks should be strengthen in order to improve more efficient art works in the future.
Description: 53112337 ; สาขาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม -- วิทยา จั่วสันเทียะ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/616
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
53112337 ; วิทยา จั่วสันเทียะ .pdf53112337 ; สาขาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม -- วิทยา จั่วสันเทียะ7.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.