Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/622
Title: แนวคิดเรื่องเมรุของสามัญชนกลางท้องสนามหลวง
Other Titles: CONCEPT AND IDEA OF ORDINARY PEOPLE CREMATORIUM ON SANAM LUANG
Authors: ณ ป้อมเพ็ชร์, สสิทรา
Na pombejra, Sasitra
Keywords: เมรุ
สามัญชน
สนามหลวง
Issue Date: 5-Aug-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การค้นคว้าอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษางานสถาปัตยกรรมเมรุที่สร้างบนท้องสนามหลวงสำหรับปลงศพผู้เสียชีวิตที่เป็นสามัญชนจำนวน 2 หลัง คือเมรุสำหรับปลงศพทหารฝ่ายรัฐบาลที่เสียชีวิตในเหตุการณ์กบฏบวรเดช ปี พ.ศ. 2476 กับเมรุสำหรับปลงศพนักศึกษาและประชาชนที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 โดยศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมของเมรุทั้งสองหลังร่วมกับศึกษาบริบทแวดล้อมอื่นๆ ทั้งด้านการเมือง สังคมและสถาปัตยกรรมที่อยู่ร่วมสมัยกัน เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุของการสร้างเมรุปลงศพสามัญชนบนท้องสนามหลวง ความสัมพันธ์ระหว่างบริบทแวดล้อมร่วมสมัยกับรูปแบบสถาปัตยกรรม รวมถึงเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างบางประการของเมรุสามัญชนทั้งสองหลังได้ ผลการศึกษาพบว่า งานสถาปัตยกรรมเมรุสามัญชนทั้งสองหลังนี้มีลักษณะบางอย่างร่วมกันคือ เป็นเมรุที่สร้างโดยรัฐบาลสำหรับปลงศพสามัญชนที่เสียชีวิตจากเหตุรุนแรงทางการเมืองบนท้องสนามหลวงฝั่งทิศเหนือ เมรุทั้งสองหลังต่างเป็นสิ่งสะท้อนถึงแนวคิดทางด้านศิลปะ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมที่ภาครัฐในแต่ละสมัยต้องการนำเสนอให้ประชาชนรับรู้ แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ รูปแบบสถาปัตยกรรมที่ต่างกัน ซึ่งสะท้อนถึงแนวคิดด้านต่างๆ ที่ต่างกัน โดยเมรุกบฏบวรเดช พ.ศ. 2476 สร้างโดยใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ เพื่อนำเสนอแนวคิดด้านการเมือง สังคมและวัฒนธรรมแบบสมัยใหม่ที่รัฐบาลกลุ่มคณะราษฎรสถาปนาขึ้น เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับฝ่ายของตนและลดความชอบธรรมของฝ่ายระบอบเก่าลง ส่วนเมรุ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 สร้างโดยใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ เพื่อนำเสนอแนวคิดด้านการเมือง สังคมและวัฒนธรรมที่อยู่ภายใต้แนวคิดเรื่องความเป็นไทย อันผูกพันกับสถาบันกษัตริย์และวัฒนธรรมราชสำนัก เพื่อส่งเสริมความมั่นคงให้กับสถาบันกษัตริย์และรัฐบาลนั่นเอง The purpose of this independent study is to fulfill the knowledge on the architecture of 2 crematoriums on the Sanam Luang. The first crematorium is Meru for cremation government soldiers who died in the incident of the Boworadet Rebellion in 1932. The second crematorium is Meru for cremation students and residents who died in the popular uprising of 14 October, 1973, By research the architectural style of both crematorium and research context surrounding areas of the political, art and architecture in contemporary society areas. To determine the cause of building a crematorium for cremation grassroots up on the Sanam Luang. The relationship between context with contemporary and architectural style, And compare the similarities and some differences of Meru common both on the Sanam Luang. The results of the research reveal influence of belief, Art and architecture of both crematoriums on the Sanam Luang have certain characteristics together. Cremation pyre built by the government for the ordinary people common man who died from political violence on the north side of Sanam Luang. The both crematoriums are different things behind it reflects the ideas and ideals of artistic, political, social and cultural sectors in each session to offer public recognition. But something was different. The crematorium of Boworadet Rebellion in 1932 created by the style of modern architecture for introduce the concept of modern politics, society and culture, the government of Khana Ratsadon has established a panel of representatives for justify to their department and reduce the legitimacy of the old regime. The crematorium of 14 October, 1973 created by the style of the Thai applied architecture for introduce the concept of politics, Society and Culture under the concept of Thai cultural is ties with the monarchy and the royal court for promote stability to the monarchy and the government itself.
Description: 54107214 ; สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ -- สสิทรา ณ ป้อมเพ็ชร์
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/622
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54107214 สสิทรา ณ ป้อมเพ็ชร์.pdf51.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.