Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/626
Title: การถ่ายทอดความรู้การทอผ้าของชาวไทยทรงดำ ตำบลดอนข่อย อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
Other Titles: WEAVING ENCULTURAL PROCESS OF THE THAI SONG DUM AT DON KHOI SUB – DISTRICT, KAMPHAENGSAEN DISTRICT, NAKHONPATHOM PROVINCE
Authors: ลอยสูงวงศ์, ชลังค์
Loisoongwong, Chalung
Keywords: การถ่ายทอดความรู้
การทอผ้า
ชาวไทยทรงดำ
ENCULTURAL PROCESS
WEAVING
THAI SONG DUM
Issue Date: 5-Aug-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการ ความสำคัญ ตลอดจนปัญหาด้านการสืบสานการทอผ้าของไทยทรงดำของชุมชนบ้านดอนทอง เพื่อหาแนวทางในการอนุรักษ์และการสืบสานการทอผ้าของไทยทรงดำ ผลการศึกษาพบว่าชุมชนบ้านดอนทองเป็นลูกหลานชาวไทยทรงดำที่อพยพมาจากจังหวัดเพชรบุรี โดยมีภูมิปัญญาการทอผ้าอยู่คู่มากับวิถีชีวิต แต่จากกระแสการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่เข้ามาในชุมชนส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของผ้าทอและภูมิปัญญาการทอผ้า รวมถึงการแต่งกายแบบไทยทรงดำในชีวิตประจำวันที่ค่อย ๆ หายไปจากชุมชน โดยผู้วิจัยได้เสนอแนะแนวทางการถ่ายทอดความรู้และการฟื้นฟูภูมิปัญญาการทอผ้าประกอบไปด้วย 3 แนวทาง ได้แก่ 1) แนวทางการถ่ายทอดภูมิปัญญาแก่คนในชุมชนบ้านดอนทอง ด้วยการจัดสรรกี่ทอผ้า แก่สมาชิกใหม่ไปทอตามบ้าน การกำหนดคุณภาพของผ้าทอและราคาจำหน่ายเป็นหลายระดับ การบริหารช่องทางการจำหน่าย การให้หน่วยงานภายนอกเข้ามาช่วยพัฒนาช่องทางจำหน่าย การพัฒนาและ เพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ผ้าทอ และการเพิ่มโอกาสในการใช้ผ้าไทยทรงดำในชุมชน 2) แนวทางการถ่ายทอดภูมิปัญญาแก่เด็กนักเรียนบ้านดอนทอง โดยมีการเรียนการสอน การทอผ้าให้แก่เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านดอนทอง การส่งเสริมให้เด็กได้มีการแต่งกายด้วยชุดไทยทรงดำประยุกต์ และการพัฒนาความร่วมมือกับครูโรงเรียนบ้านดอนทอง 3) แนวทางการถ่ายทอดภูมิปัญญาด้วยการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ โดยการจัดแหล่งเรียนรู้ 3 แห่ง ในชุมชน ได้แก่ ศูนย์วัฒนธรรมภายในโรงเรียนบ้านดอนทอง พื้นที่บริเวณบ้านของประธานกลุ่มหัตถกรรมผ้าทอมือในหมู่ 2 และพื้นที่บริเวณบ้านของชาวบ้านหมู่ 1 ที่ยังอนุรักษ์การทอผ้าด้วยกี่โบราณ This research aims at studying the evolution, the importance throughout the problems about weaving of Thai Song Dum at Ban Don Thong and also the guiding the weaving preservation and enculturation. The result is found that Ban Don Thong inherited the weaving wisdom from Phetchaburi province to their ways of life. Since the economic and social changing has influenced to the community, the weaving has become disappearing gradually including the dressing of Thai Song Dum. The researcher has proposed the encultural process and reviving the weaving wisdom to three ways: 1) Guiding the encultural process to people in Ban Don Thong by providing the looms to new members. Moreover, it should have weaving quality and pricing control to many levels for monitoring the distribution. Also, it should have outsourcing for developing the distribution and adding value to the weaving products. These enhance the chance for using the Thai Song Dum clothing to the community. 2) Guiding the encultural process to the children at Ban Don Thong by teaching the weaving to the students at Ban Don Thong School. It should have the enhancing the children to wear the applied Thai Song Dum traditional dressing and developing with the teachers. 3) Guiding the encultural process by developing to learning space in the community: Ban Don Thong cultural center, the weaving group president in Moo 2 are and the Moo 1 village area where still preserves the original weaving.
Description: 54112316 ; สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม -- ชลังค์ ลอยสูงวงศ์
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/626
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54112316 ชลังค์ ลอยสูงวงศ์.pdf54112316 ; สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม -- ชลังค์ ลอยสูงวงศ์4.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.