Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/629
Title: การสืบสานงานช่างฝีมือดั้งเดิม: กรณีศึกษาแผนกช่างฝีมือหัวโขน โรงเรียนช่างฝีมือในวัง (ชาย)
Other Titles: THE INHERITANCE OF THAI TRADITIONAL CRAFTSMANSHIP: A CASE STUDY OF THE KHON MASK DEPARTMENT AT THE ROYAL CRAFTSMEN SCHOOL
Authors: โถทอง, พนิดา
Thothong, Panida
Keywords: การสืบสาน
ช่างฝีมือ
งานช่างฝีมือ
หัวโขน
INHERITANCE
CRAFTMAN
CRAFT
KHON MASK
Issue Date: 17-Jun-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอดความรู้งานช่างฝีมือหัวโขน ที่แผนกช่างฝีมือหัวโขน โรงเรียนช่างฝีมือในวัง (ชาย) ตั้งอยู่ที่หออุเทสทักสินา ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร และเพื่อเสนอแนวทางในการสงวนรักษางานช่างฝีมือหัวโขนดั้งเดิม โดยใช้ระเบียบ วิธีวิจัยเชิงคุณภาพจากการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัย การสัมภาษณ์ครูผู้สอนและนักเรียนใน แผนก รวมทั้งสิ้น 8 คน ตลอดทั้งการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมระยะเวลา 10 เดือน ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการถ่ายทอดความรู้งานช่างฝีมือหัวโขนดั้งเดิม ที่โรงเรียนช่างฝีมือในวัง (ชาย) เป็นการ ถ่ายทอดโดยครูผู้สอนใช้วิธีการบรรยายและสาธิตขั้นตอนการสร้างหัวโขนให้กับนักเรียน เพื่อให้ นักเรียนได้สังเกต จดจำ และซึมซับ จากนั้น นักเรียนจึงลงมือปฏิบัติเพื่อให้เกิดทักษะและ ประสบการณ์ การเรียนการสอนในห้องเรียนเป็นแบบตัวต่อตัวคือ ครูผู้สอนจะใส่ใจดูแลนักเรียนอย่าง ใกล้ชิดและแนะนำนักเรียนเป็นรายบุคคล นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจะสร้างหัวโขนสำเร็จคนละ 1 หัว ซึ่งการสืบสานงานช่างฝีมือหัวโขนดั้งเดิมที่โรงเรียนแห่งนี้ยังคงรักษาระเบียบวิธีปฏิบัติตาม รูปแบบจารีตประเพณีของการสร้างหัวโขนดั้งเดิมอย่างเคร่งครัด แต่วัสดุที่ใช้มีการปรับเปลี่ยนตามยุค สมัย เช่น ยางรักที่คุณภาพไม่ดีเทียบเท่าของโบราณและมีขั้นตอนการเตรียมที่ยุ่งยาก จึงเปลี่ยนเป็น วัสดุทดแทนคือกาวเคมีที่มีความทนทานคล้ายยางรักและมีขั้นตอนการเตรียมที่ง่าย นอกจากนี้การสืบ สานงานช่างฝีมือหัวโขนดั้งเดิมยังมีกิจกรรมสร้างเสริมที่เกิดจากความร่วมมือของทางโรงเรียนและ ครูผู้สอน ซึ่งการเรียนการสอนในชั้นเรียนของโรงเรียนช่างฝีมือในวัง (ชาย) และการศึกษาวิจัยในเรื่อง นี้ เป็นแนวทางของการสงวนรักษางานช่างฝีมือหัวโขนดั้งเดิมให้คงอยู่ โดยวิธีการส่งผ่านภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรม (Transmission) และในการศึกษาวิจัย (Research) This thesis studies the transmission of Khon Mask craftsmanship at the Khon Mask department in the Royal Craftsmen School in the Utestaksina building in the Grand Palace, Bangkok, and suggests methods for safeguarding this traditional craft. The study analyzed published papers and available reports, interviewed a teacher and students of the Khon Mask department: eight people were involved over a period of ten months. The result showed that most common technique for transferring knowledge of Khon Mask craft to students in the Royal Craftsmen School was a teacher described and demonstrated the process of making masks. Students observed, memorized and absorbed the demonstration and then practiced what the teacher demonstrated to improve their skills and experience. The classroom teaching style was face to face in which was a teacher monitored and guided students individually. Graduates learned how to make tools and created only one Khon Mask. At the Royal School, traditional procedures and forms: styles and colors of Khon Mask faces strictly followed traditional rules for creating Khon masks. However some materials have been modified over time, for example, natural tree glue (Yang Ruk) has been replaced by modern chemical glue. However, the inheritance of Khon mask craftsmanship was included the integrated activities cooperated by schools and Khon Mask teacher. In conclusion, the teaching of Khon Mask at the Royal Craftsmen School helps to safeguard traditional craftsmanship by inheriting skills and research.
Description: 53112329 ; สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม -- พนิดา โถทอง
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/629
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
53112329 พนิดา โถทอง.pdf53112329 ; สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม -- พนิดา โถทอง4.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.