Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/632
Title: | การจัดการตลาดน้ำบางคล้า |
Other Titles: | THE MANAGEMENT OF BANGKHLA FLOATING MARKET |
Authors: | เอมบัณฑิต, อำพวัน Aimbandit, Ampawan |
Keywords: | การจัดการ ตลาดน้ำบางคล้า THE MANAGEMENT BANGKHLA FLOATING MARKET |
Issue Date: | 5-Aug-2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
Abstract: | ตลาดน้ำบางคล้าสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2550 บริเวณฝั่งซ้ายแม่น้ำบางปะกง อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา การจัดการตลาดน้ำบางคล้าเป็นงานวิจัยที่มุ่งศึกษาพัฒนาการของตลาดน้ำบางคล้า การจัดการตลาดน้ำบางคล้าที่ผ่านมาระหว่าง พ.ศ.2550-2559 เพื่อหาแนวทางการจัดการตลาดน้ำบางคล้าที่เหมาะสมและยั่งยืน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการลงพื้นที่สำรวจ การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารของเทศบาลตำบลบางคล้า ผู้ประกอบการ นักท่องเที่ยวและชาวบ้านนำมาวิเคราะห์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจด้านการจัดการตลาดน้ำบางคล้ายิ่งขึ้น ผลการศึกษาพบว่าตลอดเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา ตลาดน้ำบางคล้ามีพัฒนาการการจัดการสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ซึ่งมีผลมาจากนโยบายการเปลี่ยนแปลงนโยบายของการบริหารจัดการของเทศบาลตำบลบางคล้า ได้แก่ ระยะที่ 1 พ.ศ.2550-2554 ตลาดมีแพ 3 แพ ต่อมาขยายเป็น 9 แพ สินค้าที่นำมาจำหน่ายบนแพเหล่านั้นยังไม่หลากหลาย สิ่งอำนวยความสะดวกบนแพต่างๆ ยังไม่ค่อยมีและมีกิจกรรมล่องเรือท่องเที่ยวรอบเกาะลัด ส่วนการบริหารจัดการตลาดน้ำนั้น เทศบาลได้ให้มีการจัดตั้งชมรมผู้ประกอบการจำหน่ายสินค้าและอาหารตลาดน้ำบางคล้าขึ้นมาทำหน้าที่บริหารจัดการตลาดน้ำบางคล้าอย่างอิสระ ระยะที่ 2 พ.ศ. 2555-2556 ได้มีการยกเลิกชมรมผู้ประกอบการจำหน่ายสินค้าและอาหารตลาดน้ำบางคล้า มีการร่างระเบียบข้อบังคับของเทศบาลว่าด้วยข้อบังคับของผู้ประกอบการตลาดน้ำบางคล้า พ.ศ. 2556 ขึ้นมาใช้บริหารจัดการตลาดน้ำให้มีความเป็นระเบียบมากขึ้นและมีเจ้าหน้าที่จากเทศบาลเข้ามาดูแลตลาดน้ำโดยตรง ในระยะนี้มีจำนวนร้านค้าต่างๆ เพิ่มมากขึ้นและมีผู้ประกอบกิจกรรมล่องเรือรอบเกาะลัดเพิ่มหลายราย นอกจากนี้เทศบาลตำบลบางคล้ายังได้จัดสรรงบประมาณในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้น เช่น อ่างล้างมือ โต๊ะรับประทานอาหาร ระยะที่ 3 พ.ศ. 2556-2559 ตลาดน้ำบางคล้าเติบโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มีการจัดตั้งชมรมผู้ประกอบการจำหน่ายสินค้าและอาหารตลาดน้ำบางคล้าขึ้นมาอีกครั้งให้ทำหน้าที่บริหารจัดการตลาดน้ำแห่งนี้แต่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของเทศบาลตำบลบางคล้า ในระยะนี้ได้มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ด้านหน้าตลาดน้ำและเช่าพื้นที่บริเวณหอประชุมอำเภอบางคล้าสำหรับให้บริการห้องน้ำสำหรับนักท่องเที่ยว จุดเด่นของตลาดน้ำบางคล้าคือ การมีทำเลที่ตั้งที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ มีอาหารที่สด สะอาด เน้นให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการและมีกิจกรรมการล่องเรือรอบเกาะลัดที่ทำให้นักท่องเที่ยวได้ชมธรรมชาติริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง อย่างไรก็ตามตลาดน้ำบางคล้ายังมีจุดอ่อนคือพื้นที่ในแพต่างๆ ยังมีความคับแคบ สินค้าที่นำมาจำหน่ายในตลาดน้ำมักมิใช่สินค้าของชุมชนเป็นหลักที่ทำให้ไม่มีอัตลักษณ์ของท้องถิ่นมากนัก กิจกรรมการท่องเที่ยวยังไม่มีความหลากหลาย ที่จอดรถและห้องน้ำยังมีจำนวนไม่เพียงพอต่อการรองรับนักท่องเที่ยว ซึ่งควรมีแนวทางในการจัดการตลาดน้ำบางคล้าเพื่อการพัฒนาต่อไป คือ เทศบาลควรรักษากฎระเบียบข้อบังคับให้มากขึ้น ผู้ประกอบการควรปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของเทศบาล ควรพัฒนาสินค้าให้มีความเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น เช่น สินค้าทางการเกษตร ควรมีการส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวให้หลากหลาย ควรสร้างแหล่งเรียนรู้ของชุมชนและที่สำคัญควรส่งเสริมการท่องเที่ยวเรียนรู้ขยายสู่ชุมชนตลาดเก่าบางคล้า โดยเฉพาะตลาดล่างให้เป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวตลาดน้ำบางคล้าด้วย เพื่อให้ตลาดน้ำบางคล้าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจทั้งในด้านนิเวศวัฒนธรรมและด้านวัฒนธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดฉะเชิงเทรา Bangkhla Floating Market was established in 2007 along the left banks of Bang Pakong River, Bangkhla district, Chachoengsao province. The objective of this research was to study the development of Bangkhla Floating Market management in the past during 2007-2016 to find guidelines for proper and sustainable Bangkhla Floating Market management. This research was a qualitative research focusing on areas observations and in-depth interviews with executives of Bangkhla Municipal Government, entrepreneurs, tourists and locals for analysis, in order to better understand the management of Bangkhla Floating Market. The results of this study found that, nearly the past 10 years, the development of Bangkhla Floating Market management could be divided into 3 stages, which resulted from the policy change in the management of Bangkhla Municipal Government. In stage 1, during 2007-2011, the market had 3 rafts, and later expanded to 9 rafts. Products for selling on the rafts were not varied. Various facilities on the rafts were poor. Also, there were boat trips around Lad Island. In terms of floating market management, the municipality has not yet established entrepreneurs clubs for selling products and food in the Bangkhla Floating Market to manage the Bangkhla Floating Market independently. In stage 2, during 2012-2013, the entrepreneurs clubs for selling products and food in Bangkhla Floating Market were canceled. There was a draft of municipal regulations for Bangkhla Floating Market in 2013 to manage Bangkhla Floating Market with municipal officials overseeing the market directly. In this stage, a number of shops increased. There were more entrepreneurial boat trips around Lad Island as well. In addition, the Bangkhla Municipal Government also allocated budgets for making more facilities, such as sinks, dining tables, etc. In stage 3, during 2013-2016, Bangkhla Floating Market had grown noticeably. Entrepreneur clubs for selling products and foods were organized again, causing the market management responsibility to be under the supervision of Bangkhla Municipal Government. In this stage, there was a landscape improvement in the front side of Bangkhla Floating Market by renting space around the Bangkhla Municipal auditorium for toilets for tourists. Highlights of Bangkhla Floating Markets were its natural location with fresh and clean foods. Community was participated with the management. Also, there were boat trips around Lad Island for tourists to see the nature on the side of Bang Pakong River Banks. However, the weakness of Bangkhla Floating Market was also restricted areas in rafts. Most products selling in the market were not community-based products, which reflected not much local identities. There was also few tourism activities provided. Parking and bathrooms were not sufficient to accommodate tourists. Therefore, there should be guidelines of Bangkhla Floating Market management for further development. The municipality should maintain regulations more strictly. Entrepreneurs should follow the regulations as required by the municipality, and should improve the products for local identity, for example, agricultural products. A variety of diverse tourism activities should be promoted. There should be the establishment of a community learning center. Importantly, the tourism promotion should be expanded to Bangkhla Old Market community, especially for the lower market, as a part of the tourism in Bangkhla Floating Market in order to develop the market as a significant cultural and ecology tourist attraction of Chachoengsao province. |
Description: | 54112327 ; สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม -- อำพวัน เอมบัณฑิต |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/632 |
Appears in Collections: | Archaeology |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
54112327 ; อำพวัน เอมบัณฑิต.pdf | 54112327 ; สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม -- อำพวัน เอมบัณฑิต | 12.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.