Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/646
Title: | ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมของเรือนพักอาศัยแบบพื้นถิ่นในเขตชุมชนเมืองเพชรบุรี ในพุทธศตวรรษที่ ๒๕ |
Other Titles: | THE HISTORY OF VERNACULAR HOUSES ARCHITECTURE IN PHETCHABURI'S TOWN MUNICIPALITY IN THE 25 TH BUDDHIST CENTURY |
Authors: | ชีพชล, ภัสภรณ์ |
Keywords: | ประวัติศาสตร์ เรือนพักอาศัยแบบพื้นถิ่น เพชรบุรี พุทธศตวรรษที่ ๒๕ HISTORY VERNACULAR HOUSE PETCHABURI THE 25 TH BUDDHIST CENTURY |
Issue Date: | 2-Aug-2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
Abstract: | “ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมของเรือนพักอาศัยแบบพื้นถิ่นในเขตชุมชนเมืองเพชรบุรี ในพุทธศตวรรษที่ ๒๕” เป็นวิทยานิพนธ์ที่เน้นการศึกษาวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างประวัติศาสตร์ของเมืองและสถาปัตยกรรมของเรือนพักอาศัยแบบพื้นถิ่น เมืองเพชรบุรีในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๕ นั้น เป็นช่วงเวลาที่เมืองเพชรบุรีมีความสำคัญมากขึ้น ดังเห็นได้จากการที่พระมหากษัตริย์ถึง ๓ พระองค์ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้ายู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระราชวังที่ประทับขึ้นในเมืองเพชรบุรี จนได้รับการขนานนามว่าเป็นเมือง ๓ วัง ซึ่งส่งผลเมืองเพชรบุรีในหลายประการ อาทิ การตัดถนน การสร้างสะพาน การสร้างทางรถไฟ การขยายเมือง ตลอดจนงานสถาปัตยกรรมและเรือนพักอาศัยของราษฎร จากการศึกษาเรือนพักอาศัยแบบพื้นถิ่นในเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี ในบริเวณ ถนนดำเนินเกษม ตำบลคลองกระแชง และถนนพานิชเจริญ ตำบลท่าราบ พบเรือนพักอาศัยแบบพื้นถิ่นทั้งสิ้น ๓ ประเภท ไดแก่ เรือนไทย เรือนแถวอิทธิพลจีน และเรือนอิทธิพลตะวันตก ซึ่งรูปแบบ วัสดุ ตลอดจนตำแหน่งที่ตั้งมีความสอดคล้องกันกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของเมืองเพชรบุรี นอกเหนือจากนี้ บทบาทของพระมหากษัตริย์ต่อเมืองเพชรบุรี ก็มีผลต่อรูปแบบของเมืองและเรือนพักอาศัยภายในเมืองเพชรบุรีเช่นกัน “Architectural history of local residential house in urban area of Phetchaburi province during 25th Buddhist century” is the thesis that focuses on research aiming to demonstrate the relationship between history of the town and the architecture of the local residential houses. Phetchaburi province in 25th Buddhist century was considered as more important city comparing to the previous time. This is reflexed from the construction of royal palace of 3 Kings including King Mongkut, King Rama V and King Vajiravudh in Petchaburi province. Thanks to the 3 royal palaces, Phetchaburi province has been called “Town of 3 royal palaces”. The construction of royal palace also brings several benefits to the town including construction of roads, bridges, railways, town expansion as well as architecture and residential houses of the people. The research of local residential houses covers Phetchaburi municipality including Damnernkasem road which is located in Khlong Kra Saeng sub-district and Pa Nich Charoen road which is located in Tarab sub-district. The result has found 3 types of local residential houses; traditional Thai house, shop house influenced by the Chinese and house influenced by the westerners. The material, the form as well as the location is consistent with the local history of Phetchaburi municipality. Moreover, the role of the King to Phetchaburi province has an effect to the town’s layout and also to the residential houses in the province. |
Description: | 54057213 ; สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น -- ภัสภรณ์ ชีพชล |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/646 |
Appears in Collections: | Architecture |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
54057213 ; ภัสภรณ์ ชีพชล .pdf | 54057213 ; สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น -- ภัสภรณ์ ชีพชล | 9.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.