Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/659
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorมะโน, ประภากร-
dc.contributor.authorMano, Prabhakorn-
dc.date.accessioned2017-08-31T02:33:07Z-
dc.date.available2017-08-31T02:33:07Z-
dc.date.issued2559-06-07-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/659-
dc.description57054212 ; สาขาวิชาสถาปัตยกรรม -- ประภากร มะโนen_US
dc.description.abstractการศึกษานี้ มีจุดประสงค์เพื่อต้องการศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับการปะติด-ปะต่อทั้งในงานศิลปะ และงานสถาปัตยกรรม รวมถึงศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้การปะติด-ปะต่อเป็นแนวทางในการทดลองหาความแปลกใหม่และแตกต่าง ตลอดจนแนวคิดเกี่ยวในการค้นหารูปแบบใหม่ด้วยการสร้างความคลุมเครือให้กับรูปทรง เพื่อนำไปสู่ความอิสระในการแปลความหมายของสิ่งที่ต้องการนำเสนอ ซึ่งการศึกษาเริ่มจากการตั้งสมมุติฐานโดยการศึกษาทฤษฎี ปัจจัย และแนวคิดดังกล่าว เพื่อสร้างกระบวนการในการออกแบบงานสถาปัตยกรรมที่มีความสอดคล้องกันกับวัตถุประสงค์ และแนวคิดของการปะติด-ปะต่อ ขั้นต่อไปเป็นการกำหนดกรอบความคิดในกระบวนการการออกแบบสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงความอิสระของพื้นที่ใช้สอย ซึ่งเกิดจากการตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับผลลัพธ์ที่ได้จากเทคนิคการปะติด-ปะต่อ คือ หากผลลัพธ์ในการปะติด-ปะต่อ เป็นการสร้างความคลุมเครือ ความไม่ชัดเจน ส่งผลให้เกิดความอิสระในการแสดงออกของที่ว่าง และรูปทรง รวมถึงเกิดการรับรู้ที่หลากหลาย ทำให้พื้นที่ใช้สอยสามารถแปรผันตามการตีความของผู้ใช้ จากข้อสมมุติฐานจึงนำไปสู่การตั้งคำถามในการทดลอง ความอิสระในการแสดงออกแบบใดที่เหมาะสมกับงานสถาปัตยกรรม โดยที่คนสามารถเกิดการรับรู้ผ่านการแสดงออกทางกายภาพ และเกิดปฏิสัมพันธ์กับการแสดงออกของที่ว่าง ซึ่งผลจากการทดลองนำมาใช้เป็นแนวทางในการออกแบบพื้นที่ที่สามารถแปรผันได้ตามความต้องการของผู้ใช้ แนวคิดในการสร้างความอิสระในการแสดงออกของพื้นที่ใช้สอย ต้องการแสดงให้เห็นถึงพื้นที่มีความหลากหลายการใช้งาน ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรม กลุ่มคน ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามช่วงเวลา ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว บนพื้นที่เดียวกัน ก่อให้เกิดพฤติกรรมการใช้ที่ว่างแตกต่างกัน จึงเกิดการออกแบบสถาปัตยกรรมที่มีอิสระในการแสดงออกของรูปทรง และที่ว่าง ซึ่งวัตถุประสงค์ของการออกแบบคือ รองรับการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรม โดยให้คนเกิดปฏิสัมพันธ์กับที่ว่างและรูปทรงที่อิสระ นำไปสู่ความหลากหลายในการนิยามพื้นที่ของแต่ละคน The purpose of the thesis is to study theory of collage in art and architecture and to study the factor that contribute to the collage technique as a procedure in finding new and different forms. In addition, concept of finding new forms of creating ambiguous shape leads to independent interpretation. The research process starts with assumptions by studying theories, factors and concepts to create a process of architectural design that consistent with purpose and concept of collage. The concept of framework in architectural design process represents independent space. Toward hypothesis of the result from collage technique, if the result is ambiguous and unclear it will affect an independent expression of space, shape including various perception. The independent expression of form and space with the several of perception to from this reason cause the space area get used to interpretation of the each one. The hypothesis leads to the question in the experiment, The independent expression any suitable architectural design. Moreover, Users have perceive both the physical expression and spatial expression which results from the experiments that is the guidelines when we design space area according to user’s need. The concept of independent expression in creating space is to present areas which have various of use caused by vary activities, people and events that are in short term and long term in the same area which lead to different use and behavior. Therefore architectural design with independent expression in shape and space has supported a various activities and letting users interact with space and independent shape and eventually, leads to various definitions of areas.en_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectสถาปัตยกรรมปะติด-ปะต่อen_US
dc.subjectความคลุมเครือen_US
dc.subjectCOLLAGE ARCHITECTUREen_US
dc.subjectINDISTINCTen_US
dc.titleสถาปัตยกรรมปะติด-ปะต่อ : การสร้างความอิสระในการแสดงออกของพื้นที่ใช้สอย เพื่อนำไปสู่การตีความที่หลากหลายen_US
dc.title.alternativeCOLLAGE ARCHITECTURE: THE CREATION OF INDEPENDENT SPATIAL EXPRESSION THAT INFLUENCES VARIOUS INTERPRETATIONSen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57054212 ประภากร มะโน .pdf65.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.