Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/660
Title: การออกแบบสื่อนิทรรศการเพื่อผู้พิการทางสายตา ในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพฯ
Other Titles: EXHIBITION MEDIA DESIGN FOR VISUALLY IMPAIRED IN BANGKOK LOCAL MUSEUM
Authors: อภิสิทธิ์สุขสันติ, สมัชชา
Apisitsuksonti, Samutcha
Keywords: สื่อนิทรรศการ
ผู้พิการทางสายตา
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น
EXHIBITION MEDIA
BLIND PEOPLE
LOCAL MUSEUM
Issue Date: 4-Aug-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยและออกแบบสื่อนิทรรศการที่เหมาะสมต่อ การรับรู้ของผู้พิการทางสายตาเพื่อใช้ในพิพิธภัณฑ์ มีกลุ่มประชากรตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้รู้ จำนวน 3 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ จำนวน 3 คน และกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน และวิเคราะห์ข้อมูล แบบสามเส้า ระหว่างข้อมูลจากเอกสาร การสังเกต และการสัมภาษณ์ เพื่อให้เกิดแนวทางการ ออกแบบ และนำเสนองานออกแบบต่อกลุ่มตัวอย่างเพื่อประเมินงานออกแบบต่อไป จากการวิจัยพบว่า วัตถุทางศิลปะ (Object) ในการออกแบบสื่อนิทรรศการ ประกอบด้วย 1) การออกแบบภาพสัญลักษณ์ (Pictogram) โดยการใช้ภาพด้าน การลอกเลียนมาจาก ธรรมชาติ การใช้เส้นกรอบ (Outline) และการลดทอนรายละเอียด จะช่วยเพิ่มจินตนาการและการ เรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น 2) การใช้สื่อปฏิสัมพันธ์ชนิดป้ายพลิก และสื่อเสียงชนิด QR Code ช่วยเพิ่ม ประสบการณ์การเรียนรู้จากการอ่านเพียงได้ดี 3) การออกแบบให้พื้นที่มีความกว้างเพียงพอต่อการใช้ งานมากกว่า 1 คน และจัดเส้นทางเดินในลักษณะเดินทางเดียวพร้อมทั้งมีระบบร่องนำทางช่วยให้ผู้ พิการทางสายตามีความมั่นใจในการชมนิทรรศการมากขึ้น 4) เนื้อหา (Content) การจัดการเรียนรู้ ควรให้ความสำคัญไปที่การตีความเนื้อหา ยึดหลักการเรียนรู้ใน 2 รูปแบบ คือ Passive Learning และ Active Learning โดยการให้ผู้ชมได้มีปฏิสัมพันธ์กับสื่อนิทรรศการ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิด การเรียนรู้จากกระบวนการค้นพบด้วยตนเอง (Discovery Learning) ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีและ ได้รับประสบการณ์จากการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์มากกว่าการให้อ่านเพียงอย่างเดียว สรุปในภาพรวม การออกแบบสื่อนิทรรศการที่เหมาะสมต่อการใช้งานของผู้พิการทางสายตา จะต้องมีการบูรณาการ การออกแบบโดยเน้นไปที่การใช้ประสาทสัมผัสที่เหลืออยู่มาใช้ร่วมกันในการเรียนรู้ และที่สำคัญที่สุด คือควรมีการให้ผู้พิการทางสายตาได้ลงมือเรียนรู้ด้วยตนเองจะทำให้เกิดความเข้าใจได้ดีที่สุด The purposes of this research are to study and design the course of exhibition media appropriate for visually impaired people in the museum. Research population composes of 3 sampling groups: 3 experts, 3 practitioners and 10 involved people. Data was analyzed by triangulation from documents, observation and interview to find the design course and present the design to the samplings for further evaluation. The findings revealed that art objects in the design course of exhibition media consisted of: 1) Pictogram designed by applying nature imitation, using outline and reducing details will help increase better imagination and learning. 2) Interactive flip chart and QR Code audio media will help enhance reading experience. 3) Area designing to be wide enough to be accessible for more than one person and arranging the walkway in one way direction with navigation system help visually impaired people to feel encouraged in exhibition visit. 4) Content learning should emphasize on the content comprehension and utilize 2 learning methods; passive learning and active learning, by allowing the audiences interact with exhibition media to create discovery learning, this will help better learning and gaining more experience from the museum than just reading only. In conclusion, the design course of exhibition media for visually impaired people needs to integrate the use of other senses in learning and most importantly, it should encourage the visually impaired people to self- practice for their best understanding.
Description: 57156335 ; สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ -- สมัชชา อภิสิทธิ์สุขสันติ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/660
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57156335 สมัชชา อภิสิทธิ์สุขสันติ.pdf57156335 ; สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ -- สมัชชา อภิสิทธิ์สุขสันติ12.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.