Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/677
Title: การสร้างสรรค์ประติมากรรมเรื่องรูปจิตสัมพัทธ์ จากภูมิปัญญางานหัตถกรรมศิลป์เพื่อตกแต่ง ภูเรือแซงชัวรี่ รีสอร์ทแอนด์สปา จังหวัดเลย
Other Titles: THE IMAGINATION OF RELATIVE SCULPTURE FROM HANDICRAFT KNOWLEDGE FOR DECORATION IN PHURUA SANCTUARY RESORT AND SPA, LOEI PROVINCE
Authors: ธรรมเจริญ, ธีระพงษ์
Thammacharoen, Teerapong
Keywords: การสืบสานภูมิปัญญา
ประติมากรรมรูปจิตสัมพัทธ์
หัตถกรรมศิลป์
HANDICRAFT KNOWLEDGE
RELATIVE SCULPTURE
HANDICRAFT
Issue Date: 4-Aug-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: งานวิจัยชิ้นนี้ เป็นผลงานที่เกิดจากความผูกพันในวิถีชีวิตที่เรียบง่ายในชนบท งานหัตถกรรมพื้นบ้านในการจักสานเครื่องมือจับสัตว์น้ำ แนวความคิดหลักในการสร้างสรรค์คือ “การสืบสานภูมิปัญญา” ผสานกับความงามในงานศิลปะ ปรับประยุกต์ให้เป็นผลงานเพื่อใช้ในการตกแต่งประดับอาคาร หัวใจสำคัญอีกอย่างในการทำงานวิจัยชิ้นนี้คือ การลงมือทำด้วยตนเอง ตามทฤษฎีที่ว่า Practice Base Learning วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์งานวิจัยนี้คือ 1.ศึกษาเกี่ยวกับภูมิปัญญางานหัตถกรรมศิลป์ 2.ศึกษาหาความหมายของงานประยุกต์ศิลป์ที่สอดคล้องกับแนวความคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน 3.ศึกษาถึงความสัมพันธ์กันระหว่างผลงานสร้างสรรค์และสถานที่ติดตั้งผลงาน ตลอดจนแนวความคิดของสถานที่คือ ภูเรือแซงชัวรี่ รีสอร์ทแอนด์สปา จังหวัดเลย ผลงานวิจัยชิ้นนี้เน้นที่การลงพื้นที่จริงเพื่อทำการศึกษางานหัตถกรรมศิลป์กับผู้สูงอายุที่ประกอบอาชีพจักสาน ในชุมชนชีน้ำร้าย อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี จากการลงพื้นที่ศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่แล้วมีเพียงผู้สูงอายุเท่านั้นที่ประกอบอาชีพจักสาน ทำการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆให้แก่ข้าพเจ้านั้น ด้วยความเต็มใจและยินดีที่ได้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ข้าพเจ้า จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน ความมุ่งหวังของงานวิจัยนี้คือการที่ทำให้อาชีพนี้ไม่สูญหายไปจากชุมชน และเกิดเป็นธุรกิจสร้างสรรค์ให้แก่คนรุ่นใหม่สืบต่อไป The research was inspired by a commitment to the simply way of life. The fascination in local bamboo fish Trap. The concept of design is “The heritage of wisdom” Combined with knowledge of the art. Apply to the functional art object for building decoration. The principle at work is Practice Based Learning. The research objective is 1. Study the local handicraft knowledge. 2. Study the meaning of natural art as a growing seeds and 3. The results of this research into the decorative items for decoration in Phurua Sanctuary Resort and Spa at Loei Province, Thailand. This research approached Practice based learning. The qualitative research is in-deep interviews from the elderly who make a bamboo woven in the She Namrai village at Singburi province. In additional to the creation of art can keep continue the traditional heritage wisdom of bamboo handicraft.
Description: 57156349 ; สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ -- ธีระพงษ์ ธรรมเจริญ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/677
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57156349 ธีระพงษ์ ธรรมเจริญ.pdf57156349 ; สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ -- ธีระพงษ์ ธรรมเจริญ15.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.