Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/686
Title: หน้าที่อันซ่อนเร้นของสถาปัตยกรรม : เชิงปรากฏการณ์
Other Titles: THE HIDDEN TASK OF ARCHITECTURE: PHENOMENOLOGY
Authors: บานชื่น, ปริณัน
Banchuen, Parinan
Keywords: หน้าที่อันซ่อนเร้นของสถาปัตยกรรม
THE HIDDEN TASK OF ARCHITECTURE
Issue Date: 4-Aug-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: สถาปัตยกรรมเกิดขึ้นเพื่อรองรับการใช้งานของมนุษย์ ตลอดจนเพื่อตอบสนองความต้องการในด้านต่าง ๆ ทั้งในเชิงรูปธรรม เช่น หน้าที่รองรับการใช้งาน และในเชิงนามธรรม เช่นหน้าที่เพื่อสื่อสารสัญลักษณ์ทางสังคม เป็นต้น ทั้งสองส่วนนี้เป็นหน้าที่โดยพื้นฐานของสถาปัตยกรรม และมีส่วนในการผลักดันรูปแบบสถาปัตยกรรมไปในทิศทางที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นการที่สถาปัตยกรรมมีรูปแบบที่หลากหลาย ส่วนหนึ่งย่อมมาจากหน้าที่บางประการของสถาปัตยกรรมที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับภาระหน้าที่บางประการของสถาปัตยกรรมที่นอกเหนือไปจากประโยชน์ใช้สอยอันเป็นหน้าที่หลัก โดยมุ่งศึกษาในประเด็นของสถาปัตยกรรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการสื่อสารปรากฏการณ์ เพื่อสะท้อนถึงสาระที่แท้จริงของสถาปัตยกรรม และค้นหาความเป็นไปได้ต่าง ๆ ของการสร้างสถาปัตยกรรมที่มีความสัมพันธ์เชิงปรากฏการณ์ รวมถึงผลกระทบและบทบาทหน้าที่ของสถาปัตยกรรมที่มีต่อผู้ที่เข้ามาใช้สอยอาคาร โดยมีสมมติฐานที่ว่าสถาปัตยกรรมจะสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติแวดล้อมรอบตัว ทั้งนี้สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นนั้น ไม่ใช่เพื่อการสื่อสารในเชิงสัญลักษณ์ หรือการให้ความหมายเพื่อการตีความใด ๆ หากแต่เป็นไปเพื่อให้เกิดความเข้าใจและตระหนักรู้ถึงความสัมพันธ์ของเรากับธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมรอบตัว พูดอีกนัยหนึ่งคือเพื่อสร้างสถาปัตยกรรมที่อนุญาตให้เราสังเกต (Observe) ธรรมชาติได้ แนวความคิดในการศึกษาและออกแบบสถาปัตยกรรมที่มีความสัมพันธ์เชิงปรากฏการณ์นั้น เป็นการเรียนรู้ขอบเขตและทิศทางในการสร้างกระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อให้สอดคล้อง หรือตอบสนองต่อธรรมชาติและสภาพแวดล้อม ตลอดจนเพื่อให้สถาปัตยกรรมได้สะท้อน ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติและสภาพแวดล้อมโดยรอบให้ปรากฏแก่ผู้ใช้สอยอาคาร เพื่อให้ผู้ใช้สอยอาคารสามารถรับรู้และสังเกตได้ ซึ่งผลที่คาดว่าจะได้รับจากการศึกษาในครั้งนี้นั้น คือการได้เข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ในการออกแบบสถาปัตยกรรม อันได้แก่ความสัมพันธ์ของชุดเครื่องมือทางสถาปัตยกรรม กับกระบวนการในการออกแบบสถาปัตยกรรม โดยการเรียนรู้ดังกล่าวจะส่งผลให้สามารถสร้างสถาปัตยกรรมที่เป็นไปในแนวทางที่สนใจได้ (ในที่นี้ คือสถาปัตยกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงปรากฏการณ์) This thesis aims to analyze task of architecture apart from the utilities of main functions. The principal objective is studied that architecture is a communication tool of phenomena. Which can reflect the true essence of architecture and investigate every possibility of creating an architecture that correlated phenomena. Including the impact and role of architecture towards those who took up the building. The assumption that the architecture will reflect the change of the natural surroundings. The architecture that occur Non-symbolic communication or to provide a means for any interpretation. It is possible to achieve understanding. And awareness of our relationship with nature and surroundings. In other words, is to create an architecture that allows us to observe nature. The idea for the study and design of a relational phenomenon. Studies the extent and direction of creating architectural design process to ensure compliance. Or respond to nature and the environment. The architecture has to reflect changes in the nature and circumstances surrounding the visible to the buildings. So that the buildings can be recognized and observed. The results are expected to be derived from the study at this time. Is to understand the relationship of the various elements of architectural design. Including the relationship of architectural tools. The process of architectural design By learning will lead to the creation of architecture that was in line to pay. (This is an architecture that shows the relationships phenomenon)
Description: 56054204 ; สาขาวิชาสถาปัตยกรรม -- ปริณัน บานชื่น
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/686
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56054204 ปริณัน บานชื่น.pdf21.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.