Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/688
Title: ปฏิสัมพันธ์ในสถาปัตยกรรม (พื้นที่ทางจินตภาพ – พื้นที่ทางกายภาพ)
Other Titles: INTERACTIVE IN ARCHITECTURE (POETICS SPACE – PHYSICAL SPACE)
Authors: สิกขะเจริญ, ชูเกียรติ
Sikkhajaroen, Chookiat
Keywords: ปฏิสัมพันธ์ในสถาปัตยกรรม
INTERACTIVE IN ARCHITECTURE
Issue Date: 11-Apr-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: เริ่มแรกเมื่อก่อเกิดสิ่งชีวิต ในความต้องการที่จะดำรงอยู่ สิ่งมีชีวิตนั้นได้ปรับตัวและพัฒนารูปแบบ (วิวัฒนาการ) สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันหรือกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เพื่อการเจริญเติบโตทางกายภาพและการเจริญเติบโตทางความคิด รวมทั้งในสิ่งแวดล้อมก็เช่นกันที่ได้สร้างลักษณะของปฏิสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน และมีปฏิสัมพันธ์สิ่งมีชีวิตอื่น เพื่อการดำรงอยู่ของตน มนุษย์ก็เช่นเดียวกันที่พัฒนารูปแบบของปฏิสัมพันธ์ เช่น รูปแบบปฏิสัมพันธ์ที่ใช้ในการดำเนินชีวิตที่รับรู้ผ่านทางประสาทสัมผัส (การสัมผัส การมอง การดมกลิ่น การรับรส) และรูปแบบปฏิสัมพันธ์ที่ใช้การเพิ่มประสบการณ์ทางความคิด (การจำกัดความ การตีความ วิเคราะห์ ทฤษฏีต่าง ๆ) และยังสามารถนำกระบวนการเหล่านั้น มามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่าง ๆ ที่เอื้อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ ซึ่งรูปแบบของปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นนั้น มีย่อมก่อเกิดวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป เช่น 1. การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งของ เช่น การสร้างปฏิสัมพันธ์จากงานสองมิติไปจนถึงงานสามมิติ (สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ งานผลิตภัณฑ์ เครื่องครัว เฟอร์นิเจอร์ งานสามมิติ งานสถาปัตยกรรมที่มีขนาดใหญ่สุด) 2. การมีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติ การที่มนุษย์เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศก่อเกิดเป็นวัฏจักร ก็เป็นรูปแบบหนึ่งของปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหารูปแบบปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในสถาปัตยกรรม ซึ่งในการออกแบบอาคารหนึ่งหลังที่มีมนุษย์เข้าไปครอบครองพื้นที่ เพื่อการใช้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ทำให้อาคารนั้นมีลักษณะเฉพาะและสอดคล้องกับลักษณะการใช้งาน การที่ได้มาซึ่งอาคารดังกล่าวจะต้องศึกษารูปแบบของปฏิสัมพันธ์ในลักษณะต่าง ๆ เพื่อให้อาคารสามรถตอบสนองต่อความต้องการของหน้าที่การใช้งานและสามารถเพิ่มรูปแบบของปฏิสัมพันธ์ในลักษณะที่ต่างไป เช่น ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสถาปัตยกรรมกับธรรมชาติ มาทำให้อาคารมีความสัมพันธ์ธรรมชาติมากขึ้น และสามารถทำงานร่วมกับปฏิสัมพันธ์อื่นที่เกิดขึ้นในอาคารได้อย่างเหมาะสม At first when the life has begun. To be survival, the organism has to adapt and develop (evolution) their own life for interactive between each other and the environments. The physical growth and the cognitive growth and also the environment has created the variations of the interactivities such as interactive between themselves and interactive with environmental for stay alive. Human has developed the interactive such as the interactive for lives that felt by senses (touch, see, smell and taste)and the variations of the interactive for increase the thinking experiences (Restriction apply, Analysis, Interpretation, Theory and etc.). The activity processes can be use for make the relationship with the environment then become the most beneficial for the human. Therefore the variations of the interactivities will be difference purpose such as 1. The interactive with object such as interactive with the 2D objects to 3D objects (Publications, Products, Kitchenwears, Furnitures, 3D objects and The architecture). 2. The interactive with nature, human is a part of nature that become a life-cycle The purpose of this research is aims to study the variations of the interactivities that appear in the architural design process and occupied by the human. The purposes of use are made the building to individually and according to use. The acquisition of building must study the variations of the interactivity for respond the requirement and increase the categories of the interactivity. The interactive between the architecture and the nature become have resulted to relationship between the architecture and the nature. And finally the result will represent the interactivity in the architecture.
Description: 56054210 ; สาขาวิชาสถาปัตยกรรม -- ชูเกียรติ สิกขะเจริญ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/688
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56054210 ชูเกียรติ สิกขะเจริญ.pdf10.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.