Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/689
Title: เสน่ห์งานเครื่องทองกรุวัดราชบูรณะ พลังของสุนทรียะทางหัตถศิลป์ สู่เครื่องประดับร่วมสมัย
Other Titles: THE ANTIQUE GOLD JEWELRY FROM WAT RATCHABURANA CRYPT; THE AESTHETIC OF AYUTTHAYA CRAFTSMANSHIP TO CONTEMPORARY THAI JEWELRY
Authors: รัตนพงศ์, ฑกมล
Rattanapong, Takamon
Keywords: เครื่องประดับหัตถศิลป์ ร่วมสมัย
กรุวัดราชบูรณะ จังหวัดอยุธยา
CRAFTSMANSHIP CONYEMPORARY JEWELRY DESIGN
WAT RATHABURANA CRYPT OF AYUTTHAYA
Issue Date: 5-Jan-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: งานวิจัยคร้ังนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างสรรค์เครื่องประดับร่วมสมัยที่ได้รับแรงบันดาลใจ มาจาก “เครื่องประดับทองคำสมัยอยุธยา ภายในกรุวัดราชบูรณะ” เป็นเครื่องประดับสื่อแสดงอารยะ ธรรมไทย ในรูปแบบความงามของงานหัตถศิลป์ ผสมผสานกับแนวคิดในการนำเอกลักษณ์ทางความ งามของโครงสร้างสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยามาเป็นหนึ่งในแนวทางการออกแบบ โดยนำเสนอรูปแบบ ความร่วมสมัยด้านวัสดุ และเทคนิคการขึ้นรูปที่แตกต่างจากในอดีต แต่ยังคงไว้ซึ่งความเป็ นหัตถศิลป์ เพื่อให้เข้าถึงคนในปัจจุบัน เป็นจุดเริ่มต้นให้ผู้สวมใส่หรือผู้พบเห็นเครื่องประดับได้ซึมซับ และเข้าใจ ในสุนทรียะทางความงามของงานหัตถศิลป์ ไทยมากยิ่งขึ้น เครื่ องมือที่ใช้ในการวิจัยมีดังนี้ ส่วนแรก คือ ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) และข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ด้วยวิธีการส ารวจสถานที่จริง กรณีศึกษา 1) ศึกษา โบราณวัตถุทองคำที่ถูกค้นพบภายในกรุ วัดราชบูรณะ จากพิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา 2) ศึกษา โบราณสถานทางสถาปัตยกรรม วัดราชบูรณะ วัดมหาธาตุ และวัดส้ม เพื่อหาเอกลักษณ์ทางด้านลวดลาย และรูปแบบที่มีความเชื่อมโยงกันระหว่างงานเครื่องประดับและงานสถาปัตยกรรม ส่วนที่สอง คือ ทดลองวัสดุและเทคนิคการขึ้นรูปชิ้นงาน ที่ร่วมสมัยแตกแต่งจากวิธีการขึ้นรูปเครื่องประดับแบบ ด้ังเดิม แต่ยังคงไว้ซึ่งความเป็นหัตถศิลป์ โดยกำหนดกรอบการทดลองจากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล ในส่วนแรก ผลการวิจัย พบว่าการใช้กระดาษที่มีความหนา พื้นผิวขรุขระเป็นวัสดุหลักผสมผสานกับ ทองเหลือง และเทคนิคการพับขึ้นรูปเหมาะสมในการสื่อและสร้างสรรค์งานเครื่องประดับร่วมสมัยชุด นี้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยที่สุด โดยสะท้อนลวดลายเอกลักษณ์ของอยุธยา ผ่านการ เขียนลายที่เจือจางด้วยยางมะเดื่อ และจะปรากฏให้เห็นลายที่ชัดเจนก็ต่อเมื่อผู้สวมใส่ได้มีส่วนในการ ปิดทองคำ เปลวบนพื้นผิวของชิ้นงาน แสดงความคงอยู่ของความศรัทธา เป็นส่วนหนึ่งของการส่งต่อ อารยะธรรมในรูปแบบของเครื่องประดับ This research is intended To create contemporary jewelry inspired from “gold jewelry Wat Ratchaburana crypt of Ayudhaya” The jewelry is a Media item show Thailand civilization. In the beauty of the craftsmanship. Combined with the unique concept of bringing the beauty of the architecture of Ayutthaya is one approach to design. By brings a contemporary material. Forming techniques and different from the past. However, maintaining the craftsmanship. By offering a contemporary material and Forming techniques and different from the past. To gain access to the current people. Is beginning of absorbed. And understand the aesthetic beauty of the craftsmanship Thailand even more. The instruments used were in this research as follows: The first part is the study and analysis of secondary data and primary data with the survey real location case studies: 1) gold jewelry from Wat Ratchaburana crypt at Chao Sam Phraya Museum 2) The ancient architecture at Wat Ratchaburana, Wat mahatad and Wat som to find the unique patterns and forms a link between jewelry and architecture. The second part is an experimental technique for molding materials is contemporary and Very different from the traditional method of forming jewelry. However, maintaining the craftsmanship. The framing the trials and analyze data from the study in the first part. Results were that the use of paper that is thick and rough surfaces are the main ingredients combined with brass. Using the technique of folding is reasonable in created contemporary jewelry to meet the objectives of the research project. The jewelry is reflects pattern the uniqueness of Ayutthaya Through a painting, diluted with rubber Sycamore. And a clear pattern is visible only when the gold leaf to paste on the surface of the jewelry. The the existence of faith. As part of forwards civilization in the type of jewelry.
Description: 56157301 ; สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ -- ฑกมล รัตนพงศ์
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/689
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56157301 ฑกมล รัตนพงศ์.pdf56157301 ; สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ -- ฑกมล รัตนพงศ์15.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.