Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/700
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | มณีเย็น, ศิลป์ศุภา | - |
dc.contributor.author | Maneeyen, Silpsupa | - |
dc.date.accessioned | 2017-08-31T02:54:06Z | - |
dc.date.available | 2017-08-31T02:54:06Z | - |
dc.date.issued | 2559-04-26 | - |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/700 | - |
dc.description | 57054226 ; สาขาวิชาสถาปัตยกรรม -- ศิลป์ศุภา มณีเย็น | en_US |
dc.description.abstract | การเจริญเติบโตของเมืองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดพื้นที่ว่างขนาดเล็กขึ้นภายในเมืองจากการแบ่งย่อยพื้นที่เมืองออกเป็นผืนเล็กๆ เพื่อให้ง่ายต่อการพัฒนา ซึ่งปัญหาที่ตามมาจากการตัดแบ่งพื้นที่ คือ พื้นที่ขนาดเล็กเหล่านั้นไม่ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ สาเหตุจากขนาดที่เล็กกว่าปกติ ความแปลกของรูปร่างหรือรูปทรงของพื้นที่ หรือพื้นที่ถูกบดบังจากมุมมองและบริบทต่างๆ อันนำมาซึ่งวัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อกำหนดบทบาทของสถาปัตยกรรมให้มีส่วนร่วมในการหาแนวทาง และแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ว่างขนาดเล็ก เกิดแนวความคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ยังคงสามารถรองรับกิจกรรมต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ข้อจำกัดของพื้นที่ เพื่อให้สถาปัตยกรรมบนพื้นที่ขนาดเล็กสามารถแสดงถึงการมีอยู่ของพื้นที่นั้นและตัวสถาปัตยกรรมเอง รวมถึงยังเป็นการนำพื้นที่มาใช้ประโยชน์อย่างสร้างสรรค์อีกด้วย โดยมีสมมติฐานว่า สถาปัตยกรรมจะมีขนาดเล็กลงได้กว่าที่เป็นอยู่โดยปกติ ด้วยเครื่องมือที่จะศึกษาเพื่อทดลองหาระยะและขนาดที่เล็กกว่าปกติ คือ ทฤษฎีพื้นฐานการออกแบบทางด้านมิติของมนุษย์และพื้นที่ภายใน จากข้อสมมติฐาน นำไปสู่การตั้งคำถามในการทดลองถึงรูปแบบของสถาปัตยกรรม ทั้งคุณภาพของพื้นที่และลักษณะทางกายภาพของสถาปัตยกรรมที่จะแสดงออกหรือเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร จากกระบวนการทดลองหาขนาดการใช้งานพื้นที่ที่เล็กลง และเสนอรูปแบบใหม่ของพฤติกรรมการใช้งานหรือการทำกิจกรรมของมนุษย์ เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการออกแบบพื้นที่ทดลอง ซึ่งเป็นพื้นที่ขนาดเล็กที่มีอยู่ในเมือง เมื่อมองพื้นที่ร่วมกับบริบทโดยรอบแล้ว ทำให้เห็นข้อจำกัดบางอย่างขึ้น เช่น พื้นที่ขนาดเล็กที่ถูกขนาบด้วยอาคารที่มีช่องเปิดประชิดทั้ง 2 ข้าง เป็นต้น ดังนั้นกระบวนการออกแบบพื้นที่ขนาดเล็ก นอกจากจะต้องทำให้สามารถใช้งานพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังต้องคำนึงถึงการทำงานร่วมกับบริบทด้วย เพื่อให้บริบทเดิมและสถาปัตยกรรมที่จะเกิดขึ้นใหม่ปะทะกันอย่างประนีประนอม จึงทำให้สถาปัตยกรรมนั้นมีประสิทธิภาพและคุณค่าอย่างแท้จริง สรุปผลการศึกษา พบว่า สถาปัตยกรรมสามารถออกแบบให้มีขนาดเล็กลงได้ ด้วยรูปแบบใหม่ของการใช้งานพื้นที่ของมนุษย์ ซึ่งผลการศึกษาวิทยานิพนธ์นี้จะสามารถนำไปใช้เป็นข้อเสนอแนะ และแนวทางในการออกแบบสถาปัตยกรรมบนพื้นที่ขนาดเล็กให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับพื้นที่ขนาดเล็กอื่นที่มีอยู่ภายในเมือง เพื่อให้การแสดงตัวของสถาปัตยกรรมเป็นไปอย่างเหมาะสม และสัมพันธ์กับบริบทของเมืองได้ต่อไป With the growing cities from the past to present, the Urban Growth often results in small spaces within the form of the city to make it easier to develop. The problem of cutting space is a small space is not being utilized because these space are smaller, strange shape, or even hidden by the placement of surrounding in the city. This research is aimed to study and define role of architecture as an architectural solution for troubleshooting about small spaces. The process of study and methodical of thinking is intended to support the activities for effectively utilizing space under the restriction of space. Architecture can be represented into the problematic question that is what the city’s small spaces can be done in order to creatively utilize small spaces. From the assumption that architecture will be smaller than usual, the researcher has studied and attempted to find a new dimension and scale by following the theory of Human Dimension & Interior Space. Leads to the question of experiment are how architecture has presented or changed a spatial quality and physical expression of architecture for measurement a smaller scale of space by searching and offering new model of user behavior or activities. The results of an experimental will be used as a guide in the experimental design of small space in the city. When architecture is surrounded with context such as small space that is flanked by building voids, etc. The process of designing a small space, in addition to using space effectively, there are also work with context and consider the relationship between new architecture and existing will be compromised and will not affected to each other. So, the architecture is powerful and valuable. The conclusion of this study is presented with the proof that architecture can be smaller than small with the new type of spatial usability of human behavior. The results of this research will be used as a suggestion and approaches to architectural design on a small space with effectively which can be applied to other small space in the city and attempted to make the expression of architecture itself that has a great influence upon the existing in the city. | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศิลปากร | en_US |
dc.subject | สถาปัตยกรรม | en_US |
dc.subject | พื้นที่ขนาดเล็ก | en_US |
dc.subject | การแสดงตัวตน | en_US |
dc.subject | SMALL ARCHITECTURE | en_US |
dc.subject | SMALL SPACE DESIGN | en_US |
dc.subject | ARCHITECTURAL EXPRESSION | en_US |
dc.title | การแสดงตัวของสถาปัตยกรรมบนพื้นที่ขนาดเล็ก | en_US |
dc.title.alternative | ARCHITECTURAL EXPRESSION IN SMALL SPACE | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Architecture |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57054226 ศิลป์ศุภา มณีเย็น.pdf | 12.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.