Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/702
Title: สถาปัตยกรรมที่สัมผัสได้ : การสร้างประสบการณ์เชิงพื้นที่ผ่านวัสดุ
Other Titles: TACTILE ARCHITECTURE
Authors: แป้นกล่ำ, กมลธร
Panglam, Kamontorn
Keywords: การรับสัมผัส
วัสดุ
TOUCHING
MATERIAL
Issue Date: 21-Jun-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในสถาปัตยกรรมนั้น เกิดจากการรับรู้ผ่านระบบสัมผัสของร่างกาย คือ การรับรู้ทางสายตา ทางเสียง ทางกลิ่น ทางสัมผัส และการปรับตัวโดยธรรมชาติของมนุษย์ แต่การรับรู้ทางสัมผัส (Touching) เป็นระบบที่มีระดับการรับรู้ที่เข้มข้นที่สุด เพราะมีมิติในการสัมผัสและความใกล้ชิดกับผู้สัมผัสโดยตรง ซึ่งเครื่องมือที่มีหน้าที่นำเสนอแสดงสิ่งต่างๆ และเป็นสื่อกลางที่ใกล้ชิดที่สุดระหว่างสถาปัตยกรรมและผู้ใช้ คือ วัสดุ (Materials) ทำให้บทบาทความสำคัญของวัสดุในงานสถาปัตยกรรมนั้นสามารถส่งผลต่อการรับรู้ทั้งทางกายภาพ ความรู้สึกและพฤติกรรมต่างๆ เนื่องจากคุณสมบัติของวัสดุที่มีหลายชนิดนั้นสามารถสร้างบรรยากาศหรือปรากฏการณ์ที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ทำให้ผู้ศึกษามีความเห็นว่า สถาปัตยกรรมนั้นไม่เพียงแต่สื่อสารผ่านรูปทรงและการใช้งานเป็นสำคัญเท่านั้น ดังนั้นวิทยานิพนธ์นี้จึงมีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาบทบาทของวัสดุที่มีผลต่อการรับรู้ทางสัมผัสซึ่งเป็นหัวใจหลักสำคัญของวิธีสื่อสารในงานสถาปัตยกรรม เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องของวัสดุ การพิจารณาเลือกใช้วัสดุอย่างเหมาะสม โดยการทดลองออกแบบสถาปัตยกรรมที่ให้ความสำคัญเรื่องของการรับรู้ทางสัมผัสผ่านการทำงานระหว่างรูปทรง การใช้งาน และวัสดุอย่างสัมพันธ์กัน เพื่อสร้างสถาปัตยกรรมที่มีความหมายเฉพาะ ประสบการณ์ทางสถาปัตยกรรมที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพในการใช้พื้นที่อย่างสูงสุด และสามารถเชื่อมโยงระหว่างสถาปัตยกรรมและผู้ใช้อย่างมีสัมพันธภาพทั้งทางกายภาพและความรู้สึก หรือสถาปัตยกรรมที่สัมผัสได้ซึ่งเรียกว่า Tactile Architecture Experience in architecture established by sensations of body. The touching sensation intimate with individuals because it not only what ones see through eyes, but touch through heart. It has meaningful power to strengthen perception that provides intensive experience. Essentially, materials are presence of thing and intermediate between architecture and individuals, that can influenced to physical perception, emotion and behavior. It is obvious that architecture is not only conveys through form and function. This research aims to study the materials significantly plays the important role in touching sensation that established efficiency in experience. Tactile architecture is born out from correlation of form, function, space and materials in process design by appropriate, that results the uniqueness of quality in space of architecture.
Description: 57054207 ; สาขาวิชาสถาปัตยกรรม -- กมลธร แป้นกล่ำ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/702
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57054207 กมลธร แป้นกล่ำ.pdf7.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.