Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/712
Title: การสร้างสรรค์เครื่องประดับจากวัสดุที่ใช้ในการขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์ต้นแบบสามมิติอย่างรวดเร็ว : คุณค่าแห่งสุนทรียะที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ
Other Titles: JEWELRY DESIGN FROM MATERIALS OF 3D RAPID PROTOTYPING MACHINE : UNINTENDED AESTHETICS
Authors: พิมพ์กิ, ภัทรบดี
Pimki, Pattarabordee
Keywords: เครื่องประดับ
เครื่องพิมพ์ต้นแบบสามมิติอย่างรวดเร็ว
ความงามที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ
JEWELRY
3D RAPID PROTOTYPING MACHINE
UNINTENDED AESTHETICS
Issue Date: 10-May-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษากระบวนการทำงานของเครื่องพิมพ์ชิ้นงานต้นแบบสามมิติอย่างรวดเร็ว เพื่อค้นหาและนำเสนอความงามจากสภาพของเนื้อวัสดุที่เปลี่ยนแปลงไป อันเกิดจากการกระทำของเครื่องจักร ทั้งรูปแบบที่เกิดจากกระบวนผลิตโดยทั่วไปตามที่พบเห็นและรูปแบบที่เกิดจากกระบวนการที่ก่อให้เกิดการสูญเสียเนื้อวัสดุผ่านผลงานเครื่องประดับ เพื่อสร้างความย้อนแย้งกับค่านิยมของคนในสังคมที่มักมองหาแต่มูลค่าและความสมบูรณ์แบบที่ได้รับจากเครื่องจักรเพียงด้านเดียว รวมทั้งสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าและความงามของเศษวัสดุที่ซ่อนอยู่ในกระบวนการสูญเสียนี้ด้วย สอดคล้องตามหลักแนวคิด วะบิ-ซะบิ (Wabi-Sabi) ที่กล่าวถึงความงามที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ ในการศึกษาการทำงานของเครื่องจักรพบว่า กระบวนการปาดเนื้อวัสดุส่วนเกินทิ้งในขณะที่เครื่องกำลังขึ้นรูปชิ้นงานอยู่นั้น ก่อให้เกิดการสูญเสียเนื้อวัสดุได้มากที่สุด และเมื่อทำการค้นหารูปแบบที่เหมาะสมในการนำมาสร้างสรรค์เป็นผลงานเครื่องประดับพบว่า การใช้วัสดุประเภทโลหะและขี้ผึ้งที่ใช้ในการขึ้นรูป ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวรองรับเศษวัสดุเหลือทิ้ง (เศษขี้ผึ้ง) นั้น เป็นรูปแบบที่เหมาะสมที่สุด โดยมีการถ่ายทอดเนื้อหาเป็นสองส่วน ได้แก่ ส่วนที่หนึ่งแสดงถึงการกลับค่าสถานะของวัสดุจากเศษขี้ผึ้งเป็นโลหะ สะท้อนให้เห็นถึงความย้อนแย้งกับค่านิยมของคนในสังคมที่ยึดติดมูลค่าของวัตถุ รวมทั้งแสดงออกให้เห็นถึงคุณค่าและความงามที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญจากการไหลย้อยและทับถมกันของเศษขี้ผึ้งอย่างไม่ตั้งใจ ส่วนที่สองเป็นตัวรองรับเศษขี้ผึ้ง มีการใช้รูปทรงเรขาคณิตแสดงถึงการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในเชิงนามธรรมของความเป็นระบบระเบียบและความสมบูรณ์แบบจากเครื่องจักรที่ผู้คนส่วนใหญ่ต่างมองหา จากผลการวิจัยในครั้งนี้ พบว่าเศษวัสดุที่เกิดจากการขจัดทิ้งของเครื่องจักรสามารถทำให้มีค่าได้โดยการนำไปหล่อเป็นโลหะ และมีคุณค่าในฐานะงานเครื่องประดับที่แสดงออกถึงความงามที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ สร้างความย้อนแย้งกับค่านิยมของคนในสังคมดังสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ The purpose of this research was to study the processes of 3D Rapid Prototyping machine for discovering and presenting the condition of material that has been changed by the machine operations both the patterns occurred from normal manufacturing processes and the patterns occurred from the waste of materials through jewelry products. This is to make the contrast with the popularity of the people in society that usually looking for the beauty and perfection derived from the machine. This is also to reflect the value and attractiveness of the wasted materials hidden within these processes, which according to the “Wabi-Sabi” theory stated about the beauty happened from unexpected chance. From the study of the machine processes, it was found that the process of eliminating wasted material during the phase of shape forming is the process that lost the most material. After trying to find the appropriate pattern for jewelry products creation, it was found that using metal material and forming wax that used as a wasted material support (scrap wax) was the most appropriate pattern. This can be presented in two parts; firstly showing the reverse state of the material from scrap wax to metal. This is to reflect the contrast with the popularity of the people in society that usually adhere to the value of materials and perfection appearances. This is also representing the worth and beauty of unintended aesthetics form of flowing and piling up of scrap wax. The second part was the support of the scrap wax that using geometric forms illustrating the linked relationship with the abstract of perfection derived from machine that most of the people are looking for. The results of this research was found that the wasted materials which is derived from machine elimination can be made more valuable by metal castings and value as jewelry accessories that presenting the unintended aesthetics. This is to make the contrast with the popularity of the people in society that conforms to the purpose of this research.
Description: 56157303 ; สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ -- ภัทรบดี พิมพ์กิ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/712
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56157303 ภัทรบดี พิมพ์กิ.pdf56157303 ; สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ -- ภัทรบดี พิมพ์กิ9.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.