Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/713
Title: การศึกษาโครงสร้างและองค์ประกอบของเขตเมืองเก่าแพร่ เพื่อการอนุรักษ์บริบทเมืองประวัติศาสตร์
Other Titles: A STUDY ON STRUCTURES AND ELEMENTS OF PHRAE OLD CITY DISTRICT FOR HISTORICAL CONTEXT CONSERVATION
Authors: บุญศิริ, กฤตติกา
Bunsiri, Krittika
Keywords: โครงสร้างและองค์ประกอบทางกายภาพของเมือง
เขตพื้นที่เมืองเก่าแพร่
การอนุรักษ์บริบทเมืองประวัติศาสตร์
PHYSICAL STRUCTURES AND ELEMENTS OF CITY
PHRAE OLD CITY DISTRICT
CONSERVATION OF HISTORICAL CONTEXT
Issue Date: 2-Aug-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และประเมินสภาพปัจจุบันและคุณค่าความสำคัญของโครงสร้างและองค์ประกอบทางกายภาพเขตเมืองเก่าแพร่ และเสนอแนะแนวทางอนุรักษ์และควบคุมการพัฒนาที่สอดคล้องกับบริบทเมืองประวัติศาสตร์ วิธีการวิจัย ใช้วิธีการเก็บรวบรวมจากแหล่งข้อมูลเอกสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และการสำรวจภาคสนาม การสำรวจความคิดเห็น ใช้วิธีเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่าง 167 คน ดำเนินการในระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 และ มกราคม พ.ศ. 2559 วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) ผลสรุปจากการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันและคุณค่าความสำคัญของโครงสร้างประเภทขอบเขตและการป้องกันเมือง ที่ได้รับการประเมินในระดับมาก คือ ประตูมาร และประตูใหม่ ระดับปานกลาง คือ คูเมือง ประตูยั้งม้า กำแพงเมือง ประตูชัย และประตูศรีชุม ที่มีคุณค่าความสำคัญด้านสภาพแวดล้อม และด้านเอกลักษณ์ มากที่สุด คือประตูมาร ด้านมรดกวัฒนธรรม คือ กำแพงเมือง โครงสร้างประเภทสถานที่สำคัญของเมืองแพร่ในอดีตที่ได้รับการประเมินในระดับมากที่สุด คือ คุ้มเจ้าหลวง ระดับมาก คือ บ้านวงศ์บุรี อาคารน้ำเพชร สนามหลวง ศาลหลักเมือง และคุ้มวิชัยราชา ระดับปานกลาง คือ บ้านเจ้าหนานไชยวงศ์ และ พิพิธภัณฑ์ป่าไม้ ที่มีคุณค่าความสำคัญมากที่สุดทั้ง 3 ด้าน คือ คุ้มเจ้าหลวง โครงสร้างประเภทสถานที่ทางจิตวิญญาณและศาสนา ทั้ง 8 วัดได้รับการประเมินในระดับมาก ที่มีคุณค่าความสำคัญทั้ง 3 ด้านมากที่สุด คือ วัดหลวง ในการอนุรักษ์และควบคุมการพัฒนาเขตเมืองเก่าแพร่ ผู้วิจัยเสนอแนะให้กำหนดเขตพื้นที่อนุรักษ์เมืองประวัติศาสตร์ตามแนวถนนรอบกำแพงเมืองโดยมีเขตกันชน กำหนดระยะถอยร่นและห้ามก่อสร้างอาคารประชิดและมีความสูงบดบัง บูรณะปฏิสังขรณ์โครงสร้างที่เสื่อมโทรม และสร้างส่วนที่สูญหายไปขึ้นมาใหม่ตามความเหมาะสม ควบคุมความหนาแน่นอาคารและสิ่งปลูกสร้างภายในเขตเมืองเก่า บริเวณคุ้มเจ้าหลวงเสนอแนะให้จัดตั้งเป็นศูนย์ข้อมูลประวัติศาสตร์เมืองแพร่ จัดทำหุ่นจำลอง แสดงสภาพเมืองเก่าแพร่ในอดีตที่สมบูรณ์ ส่งเสริมการจัดกิจกรรมวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ตลอดจนอนุรักษ์ช่างฝีมือเพื่อสืบสานมรดกงานช่าง นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณะซ่อมแซมอาคารสิ่งก่อสร้าง ให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมในบริบทเมืองประวัติศาสตร์ conditions , value and significance of structures and elements of Phrae Old City District for historical context conservation. In conducting the research, employed methods included collecting information from printed documents, electronic sources, and field survey. Existing conditions , value and significance evaluations were gathered from 167 samples by means of questionnaires during December 2015 – January 2016 and performed a statistical analysis using means and standard deviation. Findings from research are as follow; structures for defining city boundary and protection type that were rated highly significance are Pratumarn and Pratumai, while City Moat, City Wall and other 3 gates were rated moderately significance. In environmental and identity dimension, Pratumarn was the highest significance, in cultural heritage dimension City Wall was the highest significance. Structures for old city special place type that was rated highest significance is Khum-Chao-Luang, highly significance are Baan-Wong-Buri, Nam-Phet building, Sanam-Luang, City Pillar, and Khum-Wichairaja, moderately significant are Baan-Chao- Nan-Chaiwong and Forestry Museum, and Khum-Chao-Luang was the highest significance in all 3 dimensions. Structures for spiritual and religious place type, all local 8 temples were rated highly significance, and Wat-Luang was the highest significance in all 3 dimensions. For conserving and controlling development within Old City District, the researcher recommended concerned authorities to set up a conservation district utilizing City Wall Street as a boundary with buffer zone of set-back and building structure height control. Restoration and reconstruction of deteriorated and demolished elements whenever appropriate respectively together with density control inside Old City District. Khum-Chao-Luang should be established as a historical information center. Scaled model of the Old City as it were in the past should be assembling for public exhibition. To add color and vitality, traditional cultural activities should be organized and performed annually. Local craftsmanship should be retained and bring back these local wisdoms for restoration and rehabilitation of structures for the sake of maintaining continuity of historical context environment in general, are also recommended.
Description: 55058311 ; สาขาวิชาการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม -- กฤตติกา บุญศิริ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/713
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55058311 นางสาวกฤตติกา บุญศิริ.pdf16.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.