Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/714
Title: | พฤติกรรมการเรียนรู้กับที่ว่างทางสถาปัตยกรรม |
Other Titles: | LEARNING BEHEAVIOR WITH ARCHTIECTURAL SPACE |
Authors: | ใจเพียร, รักตระกูล Jaipian, Raktrakool |
Keywords: | พฤติกรรม การเรียนรู้ ที่ว่างทางสถาปัตยกรรม BEHAVIOR LEARNING ARCHITURURAL SPACE |
Issue Date: | 8-Jan-2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
Abstract: | มนุษย์ รู้จัก “การเรียนรู้” ตั้งแต่วันแรกที่ลืมตาดูโลก แม้จะไม่มีใครนิยามความหมายให้เราฟัง แต่เราก็สามารถเข้าใจได้เองตามธรรมชาติ ซึ่งนั่นเป็นการเริ่มต้นของการเรียนรู้ในระดับสัญชาตญาณ แต่หลังจากที่มนุษย์เริ่มรู้จักใช้ภาษาและมีวัฒนธรรม การถ่ายทอดจากผู้หนึ่งไปยังอีกผู้หนึ่งจึงเกิดขึ้น และทำให้การเรียนรู้เริ่มเกิดจากการถ่ายทอดข้อมูลของผู้ที่บันทึกไว้หรือจากผู้หนึ่งถ่ายทอดไปยังอีกผู้หนึ่งนับจากนั้นเป็นต้นมา ซึ่งเป็นการเรียนรู้ดังกล่าวไม่สามารถเกิดจากตัวเราคนเดียวได้ จะต้องเกิดจากองค์ความรู้ที่มีอยู่ถูกถ่ายทอดจากสิ่งหนึ่งไปสู่อีกสิ่งหนึ่ง ผู้วิจัยได้แบ่งลักษณะการเรียนรู้เป็น 2 ลักษณะที่ชัดเจนคือ การเรียนรู้จากสัญชาตญาณ และ การเรียนรู้จากการถ่ายทอด อย่างไรก็ตามเมื่อมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นจะต้องมีสถานที่เกิดเหตุ ซึ่งการเรียนรู้ก็เช่นกัน จำเป็นต้องมีสถานที่สำหรับการเรียนรู้ สถาปัตยกรรมก็เป็นสถานที่ชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้ผู้วิจัยเล็งเห็นว่าสถาปัตยกรรมสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ได้ และต้องการศึกษาว่าสถาปัตยกรรมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างไร โดยให้ความสนใจค้นคว้าว่าสถาปัตยกรรมจะควบคุมการเรียนรู้ได้หรือไม่หรือทำได้เพียงกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น จุดมุ่งหมายของการวิจัยโครงการนี้ก็เพื่อจะสร้างสถานที่ที่ช่วยส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการอยากเรียนรู้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในอดีต เนื่องจากพฤติกรรมของคนเปลี่ยนไปตามยุคสมัยมากขึ้น ทำให้สถานที่เพื่อการเรียนรู้ก็ต้องพัฒนาขึ้นตามปัจจัยที่เปลี่ยนไปให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น จากการศึกษาและทำการวิจัยผลลัพธ์เป็นไปตามสมมุติฐานที่ได้ตั้งไว้คือ สถาปัตยกรรมเกิดจากพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้ใช้ และพบว่าสถาปัตยกรรมนั้นช่วยให้ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ และยังช่วยทำหน้าที่เสริมศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในการเรียนรู้แต่ละแบบให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถส่งผลทางสังคมให้สถานที่กลายเป็นแหล่งพบปะและแหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ตามลักษณะของสังคมที่เปลี่ยนไปได้อีก ด้วย ผลงานวิจัยชิ้นนี้ได้ให้ความสำคัญกับคำว่า “การเรียนรู้” ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้จึงมุ่งสนใจพื้นที่ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้เป็นใจความสำคัญ เพื่อค้นหาแนวทางในการนำไปพัฒนาจัดสรรพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ทั้งหลายที่มีอยู่ในสังคม เนื่องจากสภาพสังคมมีการเปลี่ยนแปลง สถานที่สำหรับการเรียนรู้จึงมีความจำเป็นต้องปรับตัวตามไปด้วยเพื่อให้เหมาะกับสภาพการเรียนรู้ต่างๆ กันไป โดยตัวผู้วิจัยเชื่อว่าการมีสถานที่ที่ดีจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและจะเป็นส่วนช่วยขับเคลื่อนสังคมไปในทางที่ดีขึ้นอีกด้วย Human has been with the word “learning” since being born. Even though that time we haven’t been taught about its meaning, we understand it naturally. That is the beginning of learning by instinct. After human develops languages and culture, the transfer from person to person occurs. Since then knowledge transfer starts by passing information from what has been recorded or from one person to the others. Learning cannot occur because of an individual only, but the body of knowledge is also transferred from one to another. The researcher defines two characters of learning; learning by instinct and learning through knowledge transfer. Whenever something happens, it happens in a place. Same as learning, there must be a place for learning. Architecture is so called a place. The researcher assumes that architecture involves with learning process. Thus the research is a study to understand the relationship between architecture and learning behavior to verify if architecture can control or just stimulate the learning to be more effective. The objective of this study is to create place that supports and stimulates the learning will more than the past. Human’s behavior has been changed, place for learning must be adapted appropriately according to changing factors. The results of the research proves the hypothesis that architecture comes from learning behavior of the user and architecture helps learner to achieve learning objectives both in quantity and quality as well as enhance the hidden potential of the different types of learning. Moreover architecture can create new social meeting and learning points according to the changing society. Since the research aims at learning, the focused area is learning places. The research also shows guidance to develop opening space for learning in the society. Nowadays the social condition is changed, the learning should be adapted to suit the changing learning condition. The researcher believes that good architecture can stimulate the learning to be more effective and drive society in a better way. |
Description: | 53054217 ; สาขาวิชาสถาปัตยกรรม -- รักตระกูล ใจเพียร |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/714 |
Appears in Collections: | Architecture |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
53054217 รักตระกูล ใจเพียร.pdf | 11.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.