Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/722
Title: การศึกษาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมวัดสุวรรณดาราราม ราชวรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา
Other Titles: A STUDY OF ARCHITECTURAL HISTORY OF WAT SUWANDARARAM RAJAWORAVIHARA, CHANGWAT PHRA NAKHON SI AYUTTHAYA
Authors: บุญรอด, ปัญจเวช
Boonroad, Panjawetch
Keywords: การศึกษาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมวัดสุวรรณดาราราม ราชวรวิหาร
HISTORICAL ARCHITECTURE OF WAT SUWANDARARAM RAJAWORAVIHARA
Issue Date: 29-Dec-2558
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: วัดสุวรรณดาราราม ราชวรวิหาร เดิมชื่อวัดทอง สร้างโดยสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก มีพระนามว่า “ทองดี” ผู้มีอัครชายาทรงพระนามว่า “ดาวเรือง” เป็นผู้สร้างวัดแห่งนี้ ซึ่งทั้งสองพระองค์เป็นพระชนกและเป็นพระราชชนนีของ พระบาทสมเด็จพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯต่อมาในปี พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาได้เสียแก่พม่าวัดแห่งนี้จึงอยู่ในสภาพรกร้างครั้นเมื่อ พ.ศ.2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้เสวยราชสมบัติแล้ว ในปี พ.ศ.2328 ได้ทรงโปรดให้จัดการปฏิสังขรณ์วัดทองขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม และในการปฏิสังขรณ์ ครั้งนี้ สมเด็จพระเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (วังหน้า) ได้ทรงเข้าร่วมการปฏิสังขรณ์ด้วย และในรัชกาลต่อมาก็มีการทำนุบำรุงตลอดมาจนถึงปัจจุบันซึ่งแบ่งได้เป็นสามยุค ยุคแรก คือสมัยอยุธยาตอนปลายในยุคนี้ผู้ศึกษาพบหลักฐานการขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณพระอุโบสถซึ่งมีร่องรอยการอยู่อาศัยในสมัยอยุธยาตอนปลายซึ่งเป็นไปได้ว่าเขตพุทธาวาสเดิมนั้นอยู่ในตำแหน่งปัจจุบัน ยุคที่สอง ช่วงสมัยรัชกาลที่ 1 เป็นการบูรณะ ปฏิสังขรณ์ครั้งสำคัญซึ่งปรากฏในปัจจุบันคือพระอุโบสถที่ยังคงมีรูปแบบศิลปะสถาปัตยกรรมในสมัยอยุธยาให้เห็นแต่กระนั้นที่พระอุโบสถก็ผสมผสานรูปแบบสถาปัตยกรรมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นด้วย ยุคที่สาม ช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 ยุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงของเขตพุทธาวาสครั้งใหญ่คือ มีการสร้างพระวิหาร พระเจดีย์ทรงระฆังท้ายวิหาร พระเจดีย์ราย หอระฆัง ปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่หน้าพระอุโบสถและ ก่อกำแพงล้อมเขตพุทธาวาสขึ้นใหม่ ทำให้แนวแกนของเขตพุทธาวาสนี้มี 2 แกนหลัก WatSuwandararamRajaworavihara, previous name Wat Tong, was name after the royal parents of King Rama I of Ratanakosin Dynasty who established it. The name of. In 1775, he ordered to restore this temple. hisfather and mother were Tongdee and Daorueang, respectively. Since 1767, Ayutthaya lost to Burma,this temple was neglected and untidy. In 1772, King RamaI ascended the throne Somdejkromprarajawangboworamahasurasinghanard (the Vice-king) also participated in the restoration. The temple has been maintained until now. The first period, late Ayutthaya period,the archaeological evidences of ubosot area showed that land was used in late Ayutthaya period.This means that the shrine might be at the same place. The second period, rein of King Rama I, this time was the significant restoration which has been suggested today by mixing of ubosot’s architectural style between late Ayutthaya period and early Ratanakosin period. The third period, rein of King Rama IV, there had been considerable renovation in shrine area. Vihara, bell shaped stupa at rear of vihara, small stupas, bell tower were built. Bodhi Tree was planted infront of ubosot. Shrine wall was rebuilt which caused shrine area had 2 main axis.
Description: 53052204 ; สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม -- ปัญจเวช บุญรอด
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/722
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
53052204 ปัญจเวช บุญรอด.pdf6.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.