Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/725
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | เรืองมณี, สุรีย์ | - |
dc.contributor.author | Ruangmanee, Suree | - |
dc.date.accessioned | 2017-08-31T03:16:38Z | - |
dc.date.available | 2017-08-31T03:16:38Z | - |
dc.date.issued | 2559-07-29 | - |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/725 | - |
dc.description | 55060206; หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต -- สุรีย์ เรืองมณี | en_US |
dc.description.abstract | ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาด้านทรัพยากรน้ำหลายรูปแบบ เช่น ปริมาณน้ำน้อยทำให้เกิดภัยแล้งไปจนถึงปริมาณน้ำมากซึ่งเป็นสาเหตุของอุทกภัย โดยเฉพาะปัญหาอุทกภัยที่สามารถสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นอย่างมาก จึงมีความจำเป็นต้องศึกษาพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยรวมไปถึงวิธีการจัดการที่เหมาะสมกับพื้นที่นั้น ๆ เพื่อลดความเสี่ยงและอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชากร พื้นที่ในอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่ประสบปัญหาอุทกภัยรุนแรงและมีรูปแบบเฉพาะ จากการศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับอุทกภัยและพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ดังกล่าวประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ ความสูง ความชัน ระยะห่างจากเส้นทางน้ำ และการใช้ประโยชน์ที่ดิน หลังจากวิเคราะห์แบบซ้อนทับข้อมูล (Overlay Method) ปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาอุทกภัยในอำเภอนบพิตำแล้ว ทำให้สามารถจำแนกพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยออกเป็น 3 ส่วน คือ พื้นที่รูปเกือกม้าทางทิศตะวันตก พื้นที่แอ่งกระทะตอนกลาง และที่ราบทางทิศตะวันออก เมื่อสามารถจำแนกพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยได้แล้ว จึงสามารถนำวิธีการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หลักการทางภูมิสถาปัตยกรรม ตลอดจนกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องมาปรับใช้ เพื่อลดผลกระทบและความร้ายแรงจากปัญหาอุทกภัยในพื้นที่อำเภอนบพิตำได้อย่างเหมาะสม ผลจากการศึกษาพบว่า พื้นที่เกือกม้าทางทิศตะวันตกเป็นพื้นที่ป่า เพื่อลดความรุนแรงของอุทกภัยลงต้องเน้นการอนุรักษ์ป่าให้มีความสมบูรณ์ พื้นที่แอ่งกระทะตอนกลางต้องใช้กระบวนการออกแบบร่วมกับวิธีการอนุรักษ์เพื่อให้สามารถอาศัยอยู่ในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม และที่ราบทางทิศตะวันออกเป็นพื้นที่ที่เสี่ยงต่ออุทกภัยต่ำที่สุด มีความเหมาะสมในการอยู่อาศัยและประกอบธุรกิจได้เป็นอย่างดี Currently, many areas in Thailand have commonly faced the water resource problems in various forms such as drought or flood’s problems. Floods cause the damage especially to life and property. Therefore, the purpose of this study is to examine an appropriate methodology to reduce the detrimental effects of flood waters in flood areas. Nopphitam, Nakhon Si Thammarat, is the area where experienced severity of flood with particular form. The study of flood and flood risk area theories, found the factors of flood problems in Noppitam district which are height, slope, distance from floodway and land usage. Afterward, the factors of flooding problems are analyzed through overlay method, Nopphitam district consists of 3 different flood risk areas which are Horseshoe - shaped Mountain in the west side, basin areas in the middle part of the district and plain areas at the east side. Consequently, the environmentally friendly methodology, landscape architecture theories and related flood theories are used to compile for an effective flood risk areas management. The result of study indicates that the west of Horseshoe-shaped Mountain area is a forest that should be conserved to reduce the severity of floods. In this case, the middle of basin area should be designed to cooperate with conservation methods in order to be able to appropriately live in the area. On the other hand, there is a low risk of flooding in the eastern flat land. Therefore, the eastern plain areas are suitable for living and investment. | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศิลปากร | en_US |
dc.subject | การจัดการ | en_US |
dc.subject | อุทกภัย | en_US |
dc.subject | FLOOD RISK | en_US |
dc.subject | MANAGEMENT | en_US |
dc.title | การจัดการพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยในอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช | en_US |
dc.title.alternative | FLOOD RISK MANAGEMENT IN AMPHOE NOPPHITAM, CHANGWAT NAKHON SI THAMMARAT | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Architecture |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
55060206 สุรีย์ เรืองมณี.pdf | 4.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.