Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/733
Title: สถาปัตยกรรมพระราชวังบางปะอิน สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
Other Titles: ARCHITECTURE OF THE BANG PA-IN PALACE IN THE REIGN OF KING RAMA V
Authors: ติยะวงศ์มานะ, ธิดารัตน์
Tiyawongmana, Thidarat
Keywords: พระราชวังบางปะอิน
พระราชวังโรแมนติกแบบสยาม
BANG PA-IN PALACE
SIAMESE ROMANTIC PALACE
Issue Date: 6-Oct-2558
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: พระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นพระราชวังสำหรับเสด็จประพาสและประทับแรมที่มีมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาและได้หยุดชะงักลงในช่วงเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า จนกระทั่งถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดฯ ให้สร้างพระราชวังบางปะอินขึ้นเป็นพระราชวังสำหรับเสด็จแปรพระราชฐานแห่งแรกของพระองค์ โดยพระราชวังบางปะอินมีการวางผังบริเวณที่แตกต่างไปจากพระราชวังแบบจารีต และภายในพระราชวังประกอบด้วย สถาปัตยกรรมที่มีความหลากหลายจำนวนมาก โดยในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาถึงพระราชวังแห่งนี้ วิทยานิพนธ์นี้จึงทำการศึกษาเพื่อให้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์และปัจจัยที่มีผลต่อแนวคิดในการวางผังบริเวณและการสร้างสถาปัตยกรรมภายในพระราชวังบางปะอินในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.การศึกษาการออกแบบวางผังบริเวณพระราชวังบางปะอิน 2.การศึกษาสถาปัตยกรรมภายในพระราชวังบางปะอิน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย ได้แก่ 1.กลุ่มพระที่นั่ง คือ พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ พระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร และพระที่นั่งเวหาศจำรูญ 2.กลุ่มอาคารอื่น คือ หอเหมมณเฑียรเทวราช สภาคารราชประยูร หอวิทูรทัศนา และเก๋งบุปผาประพาส ผลการศึกษาสรุปว่า พระราชวังบางปะอินในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 คือ “พระราชวังโรแมนติกแบบสยาม” ซึ่งหมายถึง การสร้างพระราชวังภายใต้แนวคิดของลัทธิโรแมนติกแบบตะวันตก แต่มีการประยุกต์การวางผังบริเวณและออกแบบสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมของสยามเป็นสำคัญ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะการดำเนินชีวิตแบบใหม่ตามวัฒนธรรมตะวันตกของพระมหากษัตริย์สยาม Bang Pa-In Palace, Phra Nakhon Si Ayuttaya. It lies beside the Chao Phraya River. Bang Pa-In Palace had been a summer palace since the Ayutthaya period and ceased in the time the Burmese raid. Thereafter, King Chulalongkorn (King Rama V) of Rattanakosin period desired to build the first summer palace in his reign. Bang Pa-In Palace has a distinct site planning that differs from previous traditional Siamese palace. It also consists of serveral buildings in various styles. However, this palace had not ever been studied throughly. Therefore, This thesis aims to comprehend the purposes of its construction and to investigate factors which might have influenced the criteria and concepts of the palace’s site planning and architectural design during the reign of King Rama V. The study of the palace was devided into two sections, site planning and architectural design. The architecture to be studied was divided into 2 groups, the buildings used as royal houses and those used for other purposes. The former included Aisawan-thipaya-asana Pavilliion, Phra Thinang Varobhas Bimar (Residential Hall), Uthayan Phumisatian (Residential Hall), Wehart Chumrum (Residential Hall) and the latter are Shrine Hame Montien Devaraj, Sabakar Rajaprayoon, Ho Withun Thasana (Tower) and Bupphapapas house. In conclusion, Bang Pa-In Palace is the first “Siamese Romantic Palace” in Siam. The term refers to the Siamese palaces that were designed under the concept of “Western Romanticism” but had been blended with Siam’s culture and contexts. This new palace style could demonstrate the Siamese King’s new pattern of living which had been influenced by Western culture.
Description: 53052202 ; สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม -- ธิดารัตน์ ติยะวงศ์มานะ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/733
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
53052202 ธิดารัตน์ ติยะวงศ์มานะ.pdf16.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.