Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/737
Title: | สถาปัตยกรรมวัดมอญอำเภอบ้านโป่งและโพธาราม : การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม |
Other Titles: | ARCHITECTURE OF MON BUDDHIST MONASTERIES IN BANGPONG AND PHOTHARAM DISTRICTS: SOCIAL AND CULTURAL CHANGES |
Authors: | พิมพาพันธ์, พชรธรรม |
Keywords: | วัดมอญ สถาปัตยกรรมมอญ บ้านโป่ง โพธาราม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและ วัฒนธรรม MON BUDDHIST MONASTERIES MON ARCHITECTURE BANPONG PHOTHARAM SOCIAL AND CULTURAL CHANGES |
Issue Date: | 4-Aug-2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
Abstract: | การศึกษานี้เป็นการศึกษาวัดทางพุทธศาสนาที่ได้รับการสร้างหรือบูรณปฏิสังขรณ์โดยชาวมอญเป็นหลัก ตลอดจนเป็นวัดในการรับรู้และเข้าใจของคนในพื้นที่ว่าวัดดังกล่าวคือวัดมอญ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการใช้พื้นที่และรูปแบบทางสถาปัตยกรรม รวมถึงองค์ประกอบต่างๆภายในวัดมอญในพื้นที่อำเภอบ้านโป่งและอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 2) เพื่อศึกษาถึงเหตุปัจจัยที่มีผลต่อสถาปัตยกรรมวัดมอญในพื้นที่ที่ทำการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม การศึกษานี้ใช้เครื่องมือตามกระบวนการศึกษาทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม เพื่อให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาและข้อจำกัดด้านเนื้อหาและเวลาจึงเลือกทำการศึกษาวัดจำนวน 16 วัด จากจำนวนทั้งสิ้น 25 วัด ผลการศึกษาพบว่าวัดมอญในพื้นที่อำเภอบ้านโป่งและโพธาราม มีการใช้พื้นที่อย่างหลวมๆ ไม่มีการกำหนดขอบเขตหน้าที่การใช้งานที่ชัดเจน ในการกำหนดพื้นที่จะใช้พื้นที่ว่างหรือแนวถนนเป็นตัวกำหนด โดยนิยมกำหนดการวางผัง “แบบชิดข้าง” ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับวัดทั่วไปในภาคกลางของประเทศไทย ในขณะเดียวกันก็สะท้อนผ่านวิถีปฏิบัติและคติความเชื่อของชาวมอญ เช่น เรื่องความสูง - ต่ำของระดับพื้นอาคารที่สัมพันธ์กับผู้ใช้งาน ความศักดิ์สิทธิ์ของอุโบสถและ หอสวดมนต์ที่สะท้อนผ่านการกำหนดพื้นที่หวงห้ามสตรีเพศชาวมอญ ตลอดจนความเชื่อเรื่อง “ผี” และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปรากฏอยู่ในวัดสะท้อนความเป็นสังคมเกษตรกรรม การกำหนดผังของเมรุจะสัมพันธ์กับความเชื่อเรื่องทิศและวิถีปฏิบัติเรื่องการตายของชาวมอญตามคัมภีร์โลกสิทธิและโลกสมุตติ เป็นต้น เจดีย์เป็นสิ่งก่อสร้างภายในวัดมอญที่แสดงถึงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบมอญได้เด่นชัดที่สุด มีรูปแบบลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นที่สร้างขึ้นจากความทรงจำของชาวมอญในพื้นที่อำเภอ บ้านโป่งและโพธาราม ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่สำคัญเกิดขึ้นจากการปฏิรูปประเทศในช่วงรัชกาลที่ 5 มีผลกระทบโดยตรงกับวัดมอญในพื้นที่อำเภอบ้านโป่งและโพธาราม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยุบคณะสงฆ์รามัญนิกาย ดังนั้นสถาปัตยกรรมภายในวัดมอญในพื้นที่อำเภอบ้านโป่งและโพธารามคือตัวอย่างหนึ่งที่อธิบายผลสืบเนื่องภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม อีกทั้งยังแสดงถึง การดำรงรักษาอัตลักษณ์ของตนเองเพื่อให้คงอยู่ภายใต้กรอบอำนาจรัฐจากส่วนกลางเป็นผู้กำหนด This research aims to study Buddhist monasteries which were constructed and renovated by Mon ethnic group in central Thailand. These monasteries have been known as Mon temples from people in the area. Research objectives include (1) to study space, forms, and physical appearance of architectures at Mon Buddhist monasteries, Banpong and Photharam districts, Ratchaburi Province and (2) to seek for factors affecting space and forms of Mon Buddhist architecture in the area, in particular aspects of social and cultural changes. The studying method in architectural history process showed research objectives which were chosen in sixteen from twenty-five Mon monasteries case studies. Results with regard to Mon Buddhist monasteries in Banpong and Photharam districts, they do not have specific layouts in which open area and roads are used as elements to define space. Mon monastic layouts, aligned side type, share similarities with those of monasteries in central Thailand. However, Mon beliefs and customs reflect in floor levels of high and low according to positions of users, for example monks live and sit on higher level than those of laymen and laywomen, respectively. Furthermore, women are not allowed to enter ordination halls and halls of prayer. Their supernatural beliefs are still found at Buddhist monasteries and reflect their agricultural societies. Moreover, a layout of a building for cremation known as meru is associated with beliefs of directions and Mon practice on death rituals according to thier sacred books known as Lok-ka-sit-thi and Lok-ka-som-mut-thi. A pagoda is the only building in a compound representing Mon Buddhist architecture and built from memory of the Mon in Banpong and Photharam districts. Massive social and cultural changes have been occurred in the area since King Rama V’s reforms. It affected Mon Buddhist monasteries in Banpong and Photharam districts after Raman Nikaya or Mon sect was collapsed. Architecture at Mon Buddhist monasteries in Banpong and Photharam districts provides an example reflecting social and cultural changes in central Thailand since reforms during the reign of King Rama V. However, it still preserves Mon identity under centralized control. |
Description: | 54052205 ; สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม --พชรธรรม พิมพาพันธ์ |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/737 |
Appears in Collections: | Architecture |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
56052206 วราภรณ์ สุวัฒนโชติกุล.pdf | 54052205 ; สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม -- พชรธรรม พิมพาพันธ์ | 58.42 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.