Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/738
Title: เครื่องยอดปราสาทยอดมณฑป
Other Titles: PRASAT TIERED ROOF SURMOUNTED BY MONDOP
Authors: พรมสุข, เสกสรร
PHOMSOOK, SEKSAN
Keywords: มณฑป
ปราสาท
เครื่องยอด
ทรง
ลักษณะ
จังหวะ
สัดส่วน
MONDOP
PRASAT
TIERED ROOF
FORM
CHARACTER
RHYTHM
SHAPE
Issue Date: 5-Aug-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: เครื่องยอดปราสาทยอดมณฑป หมายถึง หลังคาของอาคาร มีลักษณะเป็นทรงแหลม มีจั่วอาคารเข้ามาเชื่อม การศึกษาครั้งนี้รวบรวมข้อมูลของเครื่องยอดมณฑปและบุษบกจากการสำรวจรังวัดและจากแบบก่อสร้างได้ทั้งหมด 20 เครื่องยอด จากกรณีศึกษาสามารถจำแนกประเภทของเครื่องยอดเป็น 2 ประเภท คือ เครื่องยอดขนาดเล็กและเครื่องยอดขนาดใหญ่ เครื่องยอดทั้งสองประเภทมีระบบโครงสร้างที่เหมือนกัน คือ ระบบ เสา คาน และคานพาดมุม แต่มีองค์ประกอบทางโครงสร้างที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อม เช่น ขนาด รูปทรง ผัง รูปแบบโครงสร้างเครื่องยอดเป็นแบบเดียวกับโครงสร้างจั่วในงานสถาปัตยกรรมไทย คือ แบบหลังคาทรงแหลม ระบบโครงสร้างก็เป็นระบบเดียวกัน คือ ระบบเสา คาน (ขื่อ) ตั้งต่อกันขึ้นไปเป็นชั้น ๆ ต่างกันที่ระบบของเครื่องยอดต้องมี คานพาดมุม เพื่อรับเสาที่ขยับเข้าหาศูนย์กลางเพราะหลังคาเป็นทรงกรวย ดังนั้นการสันนิฐานรูปแบบการก่อรูปโครงสร้าง จึงอ้างอิงจากการก่อรูปโครงสร้างของจั่วในงานสถาปัตยกรรมไทยที่ยังมีการก่อสร้างอยู่ในปัจจุบัน การก่อรูปสถาปัตยกรรมและโครงสร้างเครื่องยอดมี 3 ขั้นตอน คือ ขึ้นทรง วางตำแหน่งโครงสร้าง และตกแต่ง ทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ใช้หลัก สัดส่วน เส้นทรง ลักษณะ และจังหวะ ประกอบกันขึ้นเป็นเครื่องยอด ข้อสรุปจากการศึกษาวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นหลักในการออกแบบและก่อสร้างเครื่องยอดตามแนวทางสถาปัตยกรรมไทย โดยใช้วัสดุและเทคโนโลยีสมัยใหม่ Prasat Tiered Roof Surmounted by Mondop means a building with pyramidal roofs consisting of several layers of roofs and decorative elements. Tiered roof, generally speaking, is at the top of Thai architectural hierarchy, used for religious and monarchical purposes since Sukhothai period. Surveying 20 buildings of this kind, the thesis found that they can be classified into 2 types, which are small and large size. Both types share similar construction system, whereas column and counterpoise are the main structural components of both types. However, the differences can be considered in terms of decorative patterns and additional structural components. The finding drawn in this thesis in that the formation of the tiered roof structure designates the overall appearance of the building such as proportion, shape, and members of tiered roofs.
Description: 54053206 ; สาขาสถาปัตยกรรมไทย -- เสกสรร พรมสุข
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/738
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54053206 นายเสกสรร พรมสุข.pdf22.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.